วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

'มาร์ค' ปาดหน้า 'ปู' บินญี่ปุ่นพบนักธุรกิจประกันภัย

Pic_241973

"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นำคณะเดินสายพบปะคนสำคัญและนักธุรกิจในประเทศญี่ปุ่น
...
ความ เคลื่อนไหวของผู้นำฝ่ายค้านฯ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามกำหนดการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 29 ก.พ.-2 มี.ค. 2555 ล่าสุด เมื่อเช้าวันนี้ นายอภิสิทธิ์ได้เริ่มปฏิบัติภารกิจแล้ว หลังเดินทางถึงญี่ปุ่น โดยเช้านี้หน้าเฟซบุ๊กของนายอภิสิทธิ์ ที่ใช้ชื่อว่า Abhisit Vejjajiva ได้โพสต์รูปภาพขณะที่คณะได้เข้าพบปะหารือกับนาย Yasuoshi Kasarawa ประธานบริษัทประกันภัย Misui Sumitomo ที่ญี่ปุ่นด้วย

ตาม กำหนดการที่วางใว้นั้น นายอภิสิทธิ์มีแผนจะเข้าพบหารือกับ นายยูกิโอะ ฮาโตยามา อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและนายคัทสุยะ โอกะดะ รองนายกรัฐมนตรี รวมถึงผู้บริหารของบริษัทฮอนด้าด้วย ขณะที่ก่อนหน้านี้ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมายืนยันแล้วว่า การเดินทางพบปะบุคคลต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นของนายอภิสิทธิ์ในครั้งนี้นั้น ไม่ใช่การทำเพื่อเป็นการตัดหน้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีกำหนดการเดินทางเยือนญี่ปุ่น ในวันที่ 4 มี.ค. เนื่องจากการนัดหมายของนายอภิสิทธิ์นั้น เป็นนัดเดิมที่มีมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาแล้ว
ต่อมา นายอภิสิทธิ์ ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านโทรศัพท์ทางไกลจากประเทศญี่ปุ่นในรายการ "ฟ้าวันใหม่" ทาง Blue Sky Channel ว่า  วันนี้ ตนไปปฏิบัติภารกิจในฐานะผู้นำพรรคฝ่ายค้าน การเข้าพบฝ่ายการเมืองของญี่ปุ่น เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนและกระชับความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศ
หัว หน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ภารกิจหลักของวันนี้ ตนจะเข้าพบกับฝ่ายการเมือง ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน โดยในส่วนของพรรครัฐบาลจะได้พบกับอดีตนายกรัฐมนตรีฮาโตยามา และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันก็เป็นประธานที่ปรึกษาของพรรค DPJ คือนายโอกาดะ และตอนนี้ก็เป็นรองนายกรัฐมนตรีด้วย และที่พรรค LDP จะพบกับหัวหน้าพรรค ซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทั้งสามท่านจะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันถึงการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเศรษฐกิจก็ดี เพื่อให้ความมั่นใจว่าเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอะไรต่างๆ ก็ไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ แต่ว่าวันนี้ก็มีในส่วนของภาคธุรกิจ 1 ราย คือประธานบริษัทประกันภัย ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมค่อนข้างมาก
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของพรรคการเมือง ก็เป็นปกติเวลาที่เราคุยกันก็คงจะแลกเปลี่ยนกันในเรื่องของการเมืองเป็น เรื่องธรรมดา แล้วกับทั้ง พรรค DPJ และ LDP นั้น ก็จะมีนักการเมืองที่แลกเปลี่ยนกันมาโดยตลอด ตนก็รับ ส.ส.ของทั้ง 2 พรรคนี้อยู่เป็นระยะๆ อยู่แล้ว
ส่วนกรณีที่มีการวิจารณ์ว่าเป็นการไป ปฏิบัติภารกิจตัดหน้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ใช่การตัดหน้า แต่นายกฯ เดินทางไปทีหลัง ซึ่งกำหนดการครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้เตรียมการไว้ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ภายหลังเกิดอุทกภัยในประเทศ จนกระทบกับการลงทุนของประเทศญี่ปุ่น
“ตัด หน้า ไม่ตัดหน้า คงไม่ใช่หรอกครับ เพราะว่างานนี้เราเตรียมมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว หลังจากเกิดน้ำท่วมและกระทบกับนิคมอุตสาหกรรม กระทบกับบริษัทหลายบริษัทของญี่ปุ่น เราก็ได้พูดคุยกันในพรรคว่าน่าจะมีโอกาสและออกมาเพื่อให้ทุกประเทศเขา อุ่นใจว่าเรายังให้ความสำคัญกับเขา แล้วก็ประสานงานผ่านทางสถานทูตของญี่ปุ่นประจำประเทศไทยมาตั้งแต่เดือน พ.ย.-ธ.ค.  ผมคงไม่ได้ไปตัดหน้าหรอกครับ แต่ว่านายกฯ ไปทีหลัง” ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าว
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ยังได้ย้ำจุดยืนในส่วนประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า พรรคประชาธิปัตย์ย้ำคัดค้านใน 3 ประเด็นหลัก ประกอบ ด้วย ไม่แตะต้องหมวดพระมหากษัตริย์ ไม่ทำลายความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการและการตรวจสอบ และไม่เป็นการไปเอื้อประโยชน์ให้คนใดคนหนึ่ง
“เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ เราตั้งเป็น 1 ใน 3 ประเด็นหลัก ในเชิงหลักการว่าทำไมถึงไม่ควรแก้รัฐธรรมนูญ ก็คือถ้าไปกระทบกับหลักการเหล่านี้ เราก็เห็นว่าไม่สมควรแก้ไข เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์แน่นอนเรื่องหนึ่ง และอีก 2 เรื่องก็คือ เรื่องขององค์กรอิสระ และตุลาการ กับเรื่องของการนิรโทษกรรม ผมเรียนอย่างนี้นะครับว่า ในการอภิปรายของผมก็พูดกันชัดว่า ขณะนี้ ปัญหาของระบบการเมืองเราไม่ใช่ว่าองค์กรเหล่านี้ขาดการตรวจสอบถ่วงดุล มันตรงกันข้ามนะครับ วันนี้สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นคือการถ่วงดุลอำนาจของนักการเมือง ผู้บริหาร และองค์กรตุลาการ องค์กรที่เขาต้องตัดสินผิดถูก ในประเทศต่างๆ เขาก็ไม่ได้มาบอกว่ามาจากการเลือกตั้ง หรือมาจากประชาชน เพราะมันเป็นคนละหน้าที่กัน ประชาชนนั้นกำหนดทิศทางของประเทศ แต่ประชาชนคงไม่มาพิพากษาว่าคนนั้นทำถูก คนนี้ทำผิด เป็นเรื่องของกฎหมาย เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม" ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าว
หัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์ กล่าวต่อไปว่า ทีนี้ความพยายามที่จะล้มอันนี้ ตนคิดว่าเป็นเรื่องอันตรายมาก ถ้ารัฐธรรมนูญกำลังเดินหน้าไปสู่แนวทางนี้ก็คงผิดหลักการ แล้วก็พรรคเพื่อไทยเองมักจะสรรเสริญเยินยอรัฐธรรมนูญปี 40 ค่อนข้างมาก ซึ่งนั่นคือที่มา หรือจุดเริ่มต้นขององค์กรอิสระด้วยซ้ำ การจะปรับปรุงรายละเอียดบางอย่างคงไม่แปลก แต่ว่าหากจะถึงขั้นจะยกเลิกก็คงไม่ใช่ ที่สำคัญที่น่าสนใจคือ การให้สัมภาษณ์ก็คงสะท้อนความไม่พอใจต่อองค์กรอิสระปัจจุบัน เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่ไม่พอใจในการตัดสินอะไรหลายๆ เรื่อง ตนคิว่าเป็นผลมาจากการเข้าแทรกแซงไม่ได้ ทำไมเรื่องนี้จะไปโยงกับการนิรโทษกรรม ตนอยากชี้ว่า มีความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ที่พูดถึงมาตรา 309 คือคาดหวังว่าทำอย่างไรให้งานของ คตส.มาใช้ไม่ได้ จะไปบอกว่าไม่มีความผิดเลยก็คงไม่กล้าทำถึงขั้นนั้น เมื่อไม่กล้าทำถึงขั้นนั้นก็หมายความว่าอะไรก็ตามที่ คตส.ทำแล้ว ถ้าจะบอกใช้ไม่ได้ ก็ต้องไปให้ ป.ป.ช.ทำ ถ้า ป.ป.ช.แทรกแซงไม่ได้อย่างที่ต้องการแล้ว ก็ต้องล้ม ป.ป.ช. ตนว่ามันสอดรับกันหมดกับข้อสังเกตที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้น เพราะฉะนั้น เรื่องนี้สำคัญมาก และตนก็ยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอมรับแนวคิดอันนี้ และอยากให้สังคมได้มองเห็นว่า ถ้าเดินหน้าทำตรงนี้แล้ววัตถุประสงค์ปลายทางคืออะไร
ต่อกรณีคำถามว่า หากการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้มีเป้าหมายให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับประเทศได้ จะเกิดอะไรขึ้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จะกลับหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ควรอยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนคนไทยคนอื่นๆ
“กลับหรือไม่กลับนั้นผมไม่ ทราบ แต่ถ้ากลับมาแล้วจะทำอะไรนั้นผมก็ไม่ทราบ ผมถือว่าสังคมก็ควรจะบอกคุณทักษิณว่า คุณทักษิณก็ควรจะเป็นเหมือนคนไทยคนอื่นๆ คืออยู่ภายใต้กฎหมาย ทีนี้ในส่วนของ คตส. นั้น ก็พยายามยกเลิกอะไรกันไปแล้วจะส่งไป ป.ป.ช.นั้น ก็ยังถือว่ายังอยู่ภายใต้กฎหมาย แต่ผมมองว่าสิ่งเหล่านี้ก็ไม่อาจจะลบล้างคำพิพากษาของศาลในคดีที่ได้ตัดสิน ไปแล้วได้ เพราะฉะนั้น กรณีนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าทำเพียงแค่ตรงนี้ก็ยังไม่ทำให้คุณทักษิณจะพ้นไปจากการที่จะต้องมาติดคุก จากคำพิพากษาที่ได้ตัดสินไปแล้ว”

ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวอีกว่า เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ตนไม่แน่ใจว่าจะครอบคลุมไปถึงเรื่องที่ศาลตัดสินไปแล้วหรือไม่ ตนเข้าใจว่าที่พูดกันอยู่นี้คือคดีอื่นๆ ที่ยังค้างอยู่ รออยู่เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ หนีไป 4–5 คดีที่ว่า ก็เหมือนกับจะตั้งต้นกันใหม่ ถ้าบอกว่าตั้งต้นใหม่ไปตั้งต้นที่ตำรวจ ก็ต้องบอกว่าอันนั้นแหละ เป็นสิ่งที่จะทำลายกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด เพราะว่าที่ผ่านมาเราก็ยอมรับมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 40 เป็นต้นมาว่า พอมีเรื่องนักการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องแล้วการจะปล่อยให้องค์กร หรือตำรวจนั้นทำตามปกติไม่ได้ ต้องมีองค์กรที่มีภูมิคุ้มกันมากกว่านั้นจากการแทรกแซง ก็คือองค์กรอิสระ
นาย อภิสิทธิ์ ยังกล่าวอีกว่า ในการทำงานขององค์กรอิสระนั้น แม้จะไม่ถูกใจทุกเรื่อง แต่หากเป็นประโยชน์ต่อประชาชนแล้ว ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องดี
“ผมเป็นคนที่บอกมาตลอดว่า ผมยอมรับการตรวจสอบ แล้วก็กระบวนการตรวจสอบที่ตอนนั้นพรรคเพื่อไทยที่ทำแล้วผมก็ไม่เคยไปต่อว่า อะไร ที่ไปยื่นตีความอะไรต่างๆ และผมก็ถือว่าเป็นสิทธิ์และก็เป็นกระบวนการที่ต้องมีในระบอบประชาธิปไตย ถามว่าองค์กรอิสระทำแต่ละเรื่องนั้นถูกใจเราไหม ไม่ได้ถูกใจทุกเรื่องนะครับ และการทำงานบางเรื่องก็ไม่ใช่ง่าย อย่างมาตรา 67 พอศาลปกครองตัดสินเรื่องมาบตาพุด ก็ต้องยอมรับกันทำงานกันหนักพอสมควร แต่ผมก็ถือว่าสุดท้ายแล้วมันก็เป็นเรื่องของผลประโยชน์ของประชาชน ผมก็ยอมรับว่าความเหนื่อยกับความยากลำบากที่ต้องมาแก้เรื่องมาบตาพุดนั้น อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้พี่น้องชาวมาบตาพุดนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผมว่าถึงเวลาที่เราเป็นนักการเมืองก็ต้องยอมรับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ไม่ใช่มองว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องเอา ตามใจชอบ แล้วก็อ้างอย่างเดียวว่าเพราะว่าได้รับเสียงข้างมากสนับสนุนมา ผมก็บอกว่ามันไม่ใช่ การไปละเมิดสิทธิชุมชนบ้าง การไปทำผิดกฎหมายนั้น มันไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการที่จะเป็นอำนาจของเสียงข้างมาก ผมยังพูดเล่นๆ ว่า ขอความกรุณาเกรงใจ 25 ล้านคนที่ไม่เลือกด้วยนะครับ” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า องค์กรอิสระควรออกมาอธิบายบทบาทที่สำคัญต่อการรักษาความยุติธรรมของบ้าน เมือง เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความคลางแคลงใจ
“ผมว่าองค์กรอิสระก็ควร จะอธิบายบทบาทของท่านว่า มีความสำคัญต่อการรักษาความยุติธรรม ความถูกต้องในบ้านเมืองอย่างไร แล้วก็อะไรที่เป็นข้อโจมตี ข้อคลางแคลงใจ ก็ควรจะอธิบาย อย่างที่ผมย้ำทุกครั้งว่า เวลาตัดสินอะไรถูกใจก็ไม่ว่ากัน ไม่ถูกใจก็มาตะโกน 2 มาตรฐานกัน แล้วหากว่าองค์กรเหล่านี้ไม่อธิบายตนเอง ประชาชนก็จะเข้าใจผิด ผมก็ยังนึกอยู่ในใจว่าถ้าศาลรัฐธรรมนูญไปตัดสินว่า พ.ร.ก.ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ป่านนี้ก็คงได้ยินเสียง 2 มาตรฐาน ได้ยินเสียงเรียกร้องว่า ต้องยุบ ต้องทำอะไรให้มากขึ้น” ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าว
ส่วนประเด็นที่พูดกันว่า ศาลจะเข้ามาร่วมในการสรรหาบุคลากรในองค์กรอิสระนั้น นายอภิสิทธิ์ มองว่า จากผลสำรวจก็พบว่า ประชาชนให้ความเชื่อถือศาลมากที่สุดในแง่ความเป็นกลาง และสังคมก็ไม่มีทางเลือกอื่น แต่ในการตัดสินใจแต่ละเรื่องนั้น สำคัญที่คนทำงานต้องออกมาอธิบายให้ประชาชน เข้าใจ เพื่อไม่ให้เกิดความสงสัยในความยุติธรรม
“ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ พูดกันว่าศาลจะเข้ามาร่วมในเรื่องต่างๆ มากเกินไปหรือไม่ ที่พูดกันมากก็คือเข้ามามีส่วนร่วมในการสรรหาบุคลากรในองค์กรอิสระ ผมก็อยากจะบอกว่าที่จริงแล้ว ก็คงไม่ใช่อำนาจหน้าที่โดยตรงของศาล แต่ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเวลาที่เราคิดถึงการจะได้มาซึ่งบุคลากรที่เป็น กลาง เป็นอิสระ ก็มักจะคิดไม่ค่อยออกว่าจะมาจากทางไหน วันนี้ที่ศาลต้องเข้ามานั้น ต้องยอมรับว่าเวลาเข้าไปสำรวจความคิดเห็นของประชาชน คนยังให้ความเชื่อถือต่อศาลมากที่สุดกว่าองค์กรอื่น ในแง่ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม เพราะฉะนั้น บางทีผมก็เห็นด้วยถ้าจะมองในเชิงระบบว่าท่านไม่จำเป็นต้องเข้ามา และอาจจะไม่อยากเข้ามา แต่ผมคิดว่าในสภาวะซึ่งสังคมเองก็ไม่มีทางเลือกอื่น ผมอยากให้ท่านมองว่าเป็นหน้าที่ของท่าน แล้วมันก็ไม่ไปกระทบกับภารกิจหลัก แต่อย่างที่บอกก็คือว่า การตัดสินใจในแต่ละเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสรรหา จะเป็นการตัดสินองค์กรอิสระ สำคัญคือคนทำงานจะต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ ไม่ใช่ปล่อยให้บางฝ่ายปลุกระดม ให้เกิดความเข้าใจที่ผิด ให้เกิดความสงสัยในความยุติธรรม แล้วเรื่องก็ลุกลามบานปลายไป” ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าว
นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวย้ำถึงบทบาทการทำหน้าที่พรรคฝ่ายค้านว่า พรรคมีเหตุผลในการค้าน แต่ไม่ใช่ค้านทุกเรื่อง และในการค้านนั้นเป็นการกระทำโดยหลักการ โดยไม่มีผลประโยชน์ของพวกตนอยู่ด้วยเลย
“เรื่องทุกเรื่องที่เราค้าน ผมก็บอกว่าเรามีเหตุผลที่จะค้าน ถ้าไม่มีเหตุผลเราก็ไม่ค้าน และเหตุผลที่เราค้านก็ชัดเจน ตอนนี้เราก็เรียกร้องหลักประกัน 3 เรื่องคือ ไม่แตะต้องหมวดพระมหากษัตริย์ ไม่ไปทำลายความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ และการตรวจสอบ และไม่เป็นการไปเอื้อประโยชน์ให้คนใดคนหนึ่ง ผมก็ถามว่าประเด็นไหนครับ ที่มันไม่ใช่ประโยชน์ของส่วนรวม แต่เป็นการคัดค้านโดยหลักการ และไม่ได้มีประโยชน์ของพวกผมอยู่เลย แต่เราก็เปิดโอกาสในวาระที่ 2 นี้ ถ้าสามารถจะให้หลักประกันกับเราได้ เราก็ไม่ขัดข้องที่จะไปจัดทำกติกาปฏิรูปอะไรกัน” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว.

0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Blog Archive

Design Downloaded from ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ รามคำแหง บางกะปิ | Free Textures | Web Design Resources