กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ที่ประกอบไปด้วย จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และ พัทลุง มีพื้นที่รวมกันกว่า 32 ตร.กม. หรือกว่า 20 ล้านไร่ ถือว่าเป็นกลุ่มจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ในปี 2552 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจำนวน 141,881 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 37.69 ของภาคใต้ การผลิตภาคการเกษตรมีมูลค่าถึง 47,536 ล้านบาท มูลค่าการเกษตรส่วนใหญ่มาจากพืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ยาง พารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล และสินค้าประมง ขณะที่ในภาคอุตสาหกรรมมีการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ณ จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ได้เสนอโครงการพัฒนาศูนย์กลางคมนาคมขนส่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกเชื่อมสองทะเล (อ่าวไทย-อันดามัน) หลังสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย โดยนายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผวจ.สุราษฎร์ธานี หัวหน้ากลุ่มจังหวัด ได้เสนอแผนงานให้มีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าให้เชื่อมโยงกับประชาคมอาเซียนและโครงการพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมระหว่างเส้นทาง 2 ฝั่งทะเล โดยใช้รถไฟความเร็วสูง ตามแนวเส้นทางเซาเทิร์นซีบอร์ด เพื่อลดระยะเวลาการเดินทางคมนาคมขนส่งทางบกและเป็นศูนย์กระจายสินค้าในภูมิภาค โดยโครงการดังกล่าวได้ผ่านมติคณะรัฐนตรี และเริ่มต้นสู่การขับเคลื่อนโครงการอย่างเป็นรูปแบบ
นายธีระยุทธ ผวจ.สุราษฎร์ธานี ในฐานะหัวหน้ากลุ่มจังหวัด กล่าวว่า การค้าระหว่างประเทศและระหว่างภูมิภาคมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่องค์ประกอบหลักที่สำคัญที่สุด คือ การคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามสถิติประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นทุกปี ดูได้จากความต้องการท่าเรือแห่งชาติที่ 2 คือ แหลมฉบัง นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องวางแผนรองรับปริมาณสินค้าจากประเทศจีน ภายใต้เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ เพื่อเชื่อมโยงกับเส้นทางหมายเลข R3A (เชียงของ-จิ่นหง-ประเทศจีนตอนใต้) รวมถึงการเชื่อมโยงเส้นทางการขนส่งทางรถไฟที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน
“สุราษฎร์ธานีมีศักยภาพในเรื่องสถานที่และความเป็นไปได้ จากท่าเรือแหลมทวด ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.ดอนสัก เรามีความพร้อมในเรื่องที่ดิน ทำเล และที่ตั้ง เพียงพัฒนา
เพิ่มเติมในการสร้างร่องน้ำเพียงเล็กน้อยในระยะที่ 2 และ 3 ก็สามารถเปิดให้บริการท่าเรือน้ำลึกเพื่อการขนส่งสินค้า เพราะการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่นี่ หมายถึงการเชื่อมโยงกับประเทศเวียดนาม จีน เกาหลี และญี่ปุ่น แทนการเชื่อมโยงทางบกจากเมืองทะวาย ประเทศพม่าไปสู่ประเทศจีน ซึ่งความได้เปรียบของพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะที่ จ.สุราษฎร์ธานี ก็คือตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ เพราะเป็นจุดที่สามารถสร้างเส้นทางที่สั้นที่สุดในการเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย รูปแบบของโครงการจึงเป็นการสร้างท่าเรือและระบบขนส่ง รวมทั้งสร้างนิคมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพราะโครงการนี้จะเป็นเส้นทางขนส่งที่สำคัญของภูมิภาคในอนาคต” นายธีระยุทธ กล่าว
ขณะที่ นายพงศ์นรินทร์ วนสุวรรณกุล ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.สุราษฎร์ธานี ให้ความเห็นว่า โครงการพัฒนาศูนย์กลางคมนาคมขนส่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก จะเป็นโครงการที่นำมาสู่ความเป็นผู้นำทางการขนส่งของภูมิภาคนี้ ในแต่ละปีมูลค่าส่งออกของภาคใต้อยู่ที่ประมาณ 1 ล้านล้านบาท เฉพาะภาคใต้ตอนบนประมาณ 4-5 แสนล้านบาท โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ ไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์แปรรูปไม้ยางพารา ยางพารา อาหารทะเลแช่แข็งและการแปรรูปอาหารทะเล รวมทั้งแร่ยิปซัม ที่ผ่านมาผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน จะต้องอาศัยท่าเรือแหลมฉบังหรือไม่ก็ท่าเรือปีนัง ประเทศมาเลเซีย ในการขนส่งสินค้าออกสู่ต่างประเทศ หากเราจะมีท่าเรือน้ำลึกเพื่อการขนส่งสินค้า ก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการลงอย่างน้อยร้อยละ 10-20 รวมทั้งจะช่วยประหยัดเวลาการขนส่งให้สั้นลงอีก
นายพงษ์นรินทร์ กล่าวด้วยว่า ตอนนี้ท่าเรือแหลมฉบัง ไม่สามารถรองรับปริมาณสินค้าที่กำลังเพิ่มขึ้น ยิ่งเมื่อเข้าสู่สมาคมอาเซียนในปี 2558 คาดว่า การค้าการส่งออกจะยิ่งขยายตัวมากยิ่งขึ้น ถ้ารัฐยอมที่จะลงทุน นอกเหนือจากภูมิภาคภาคใต้ตอนบนจะเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมขนส่ง และกระจายสินค้าเชื่อมพื้นที่ภาคใต้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันแล้ว ยังจะส่งผลระยะยาวต่องบประมาณในการดูแลเส้นทางคมนาคมทางบก เพราะปริมาณรถบรรทุกลดลง นั่นหมายถึงอุบัติเหตุและความเสื่อมของถนนหนทางก็จะลดลงไปด้วย และถนนหลักของภาคใต้ซึ่งมีอยู่เพียงสายเดียว ก็จะเป็นเส้นทางสู่การท่องเที่ยวที่ปลอดภัยในอนาคต.
แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ณ จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ได้เสนอโครงการพัฒนาศูนย์กลางคมนาคมขนส่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกเชื่อมสองทะเล (อ่าวไทย-อันดามัน) หลังสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย โดยนายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผวจ.สุราษฎร์ธานี หัวหน้ากลุ่มจังหวัด ได้เสนอแผนงานให้มีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าให้เชื่อมโยงกับประชาคมอาเซียนและโครงการพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมระหว่างเส้นทาง 2 ฝั่งทะเล โดยใช้รถไฟความเร็วสูง ตามแนวเส้นทางเซาเทิร์นซีบอร์ด เพื่อลดระยะเวลาการเดินทางคมนาคมขนส่งทางบกและเป็นศูนย์กระจายสินค้าในภูมิภาค โดยโครงการดังกล่าวได้ผ่านมติคณะรัฐนตรี และเริ่มต้นสู่การขับเคลื่อนโครงการอย่างเป็นรูปแบบ
นายธีระยุทธ ผวจ.สุราษฎร์ธานี ในฐานะหัวหน้ากลุ่มจังหวัด กล่าวว่า การค้าระหว่างประเทศและระหว่างภูมิภาคมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่องค์ประกอบหลักที่สำคัญที่สุด คือ การคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามสถิติประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นทุกปี ดูได้จากความต้องการท่าเรือแห่งชาติที่ 2 คือ แหลมฉบัง นอกจากนี้ประเทศไทยยังต้องวางแผนรองรับปริมาณสินค้าจากประเทศจีน ภายใต้เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ เพื่อเชื่อมโยงกับเส้นทางหมายเลข R3A (เชียงของ-จิ่นหง-ประเทศจีนตอนใต้) รวมถึงการเชื่อมโยงเส้นทางการขนส่งทางรถไฟที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน
“สุราษฎร์ธานีมีศักยภาพในเรื่องสถานที่และความเป็นไปได้ จากท่าเรือแหลมทวด ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.ดอนสัก เรามีความพร้อมในเรื่องที่ดิน ทำเล และที่ตั้ง เพียงพัฒนา
เพิ่มเติมในการสร้างร่องน้ำเพียงเล็กน้อยในระยะที่ 2 และ 3 ก็สามารถเปิดให้บริการท่าเรือน้ำลึกเพื่อการขนส่งสินค้า เพราะการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่นี่ หมายถึงการเชื่อมโยงกับประเทศเวียดนาม จีน เกาหลี และญี่ปุ่น แทนการเชื่อมโยงทางบกจากเมืองทะวาย ประเทศพม่าไปสู่ประเทศจีน ซึ่งความได้เปรียบของพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะที่ จ.สุราษฎร์ธานี ก็คือตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ เพราะเป็นจุดที่สามารถสร้างเส้นทางที่สั้นที่สุดในการเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย รูปแบบของโครงการจึงเป็นการสร้างท่าเรือและระบบขนส่ง รวมทั้งสร้างนิคมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพราะโครงการนี้จะเป็นเส้นทางขนส่งที่สำคัญของภูมิภาคในอนาคต” นายธีระยุทธ กล่าว
ขณะที่ นายพงศ์นรินทร์ วนสุวรรณกุล ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.สุราษฎร์ธานี ให้ความเห็นว่า โครงการพัฒนาศูนย์กลางคมนาคมขนส่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก จะเป็นโครงการที่นำมาสู่ความเป็นผู้นำทางการขนส่งของภูมิภาคนี้ ในแต่ละปีมูลค่าส่งออกของภาคใต้อยู่ที่ประมาณ 1 ล้านล้านบาท เฉพาะภาคใต้ตอนบนประมาณ 4-5 แสนล้านบาท โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ ไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์แปรรูปไม้ยางพารา ยางพารา อาหารทะเลแช่แข็งและการแปรรูปอาหารทะเล รวมทั้งแร่ยิปซัม ที่ผ่านมาผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน จะต้องอาศัยท่าเรือแหลมฉบังหรือไม่ก็ท่าเรือปีนัง ประเทศมาเลเซีย ในการขนส่งสินค้าออกสู่ต่างประเทศ หากเราจะมีท่าเรือน้ำลึกเพื่อการขนส่งสินค้า ก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการลงอย่างน้อยร้อยละ 10-20 รวมทั้งจะช่วยประหยัดเวลาการขนส่งให้สั้นลงอีก
นายพงษ์นรินทร์ กล่าวด้วยว่า ตอนนี้ท่าเรือแหลมฉบัง ไม่สามารถรองรับปริมาณสินค้าที่กำลังเพิ่มขึ้น ยิ่งเมื่อเข้าสู่สมาคมอาเซียนในปี 2558 คาดว่า การค้าการส่งออกจะยิ่งขยายตัวมากยิ่งขึ้น ถ้ารัฐยอมที่จะลงทุน นอกเหนือจากภูมิภาคภาคใต้ตอนบนจะเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมขนส่ง และกระจายสินค้าเชื่อมพื้นที่ภาคใต้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันแล้ว ยังจะส่งผลระยะยาวต่องบประมาณในการดูแลเส้นทางคมนาคมทางบก เพราะปริมาณรถบรรทุกลดลง นั่นหมายถึงอุบัติเหตุและความเสื่อมของถนนหนทางก็จะลดลงไปด้วย และถนนหลักของภาคใต้ซึ่งมีอยู่เพียงสายเดียว ก็จะเป็นเส้นทางสู่การท่องเที่ยวที่ปลอดภัยในอนาคต.