“ปัญหาปากท้อง ข้าวของราคาแพง” กลายเป็นปัญหาใหญ่ในสังคม ที่ผลจากสำนักวิจัยหรือโพลเกือบทุกแห่ง ต่างระบุตรงกันว่าต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาก่อนเป็นอันดับแรก โต๊ะข่าวเศรษฐกิจ เดลินิวส์ จึงนำบทสัมภาษณ์เปิดใจ “บุญทรง เตริยาภิรมย์” รมว.พาณิชย์ ในรายการเศรษฐกิจติดจอ ทางเดลินิวส์ ทีวี มานำเสนอให้คนไทยทั้งประเทศได้รับรู้
เมื่อถูกถามถึงปัญหาข้าวของที่แพงขึ้นมาก รมว.บุญทรง ได้ออกมายืดอกยอมรับทันทีว่า ต้องยอมรับว่าราคาสินค้าในปัจจุบันราคาแพงขึ้นจริง แม้รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาด้วยนโยบายการเพิ่มรายได้ให้ประชาชนเพื่อต่อสู้กับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทั้งการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท หรือการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรช่วยสร้างความมั่นคงทางรายได้แก่พี่น้องเกษตรกร แต่มีราคาสินค้าบางรายการที่แพงขึ้นมาก่อน และบางรายการปรับขึ้นจนทำให้ประชาชนเดือดร้อน
แต่หน้าที่กระทรวงพาณิชย์ ต้องเข้าไปดูแลช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ โดยการทำงานที่ผ่านมาได้ทำผ่านหลายแนวทาง ทั้งการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องบังคับควบคุม ไม่ให้เกิดการปั่นป่วน สินค้าขาดแคลน หรือฉวยขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรม และได้มีเจ้าหน้าที่ออกไปดูแลเป็นประจำ พร้อมทั้งได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น เช่น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามสถานการณ์เพื่อแก้ปัญหาเป็นระยะ
ขณะเดียวกันได้กำหนดดูแลรายการสินค้าจำเป็น เป็นบัญชีสินค้าและบริการควบคุมสินค้า 42 รายการ และสินค้าที่ต้องติดตามดูแลอีก 200 รายการ หากสินค้าในกลุ่มนี้ต้องการขึ้นราคาต้องแจ้งให้กระทรวงพาณิชย์รู้ก่อน ไม่สามารถขึ้นโดยพลการได้ รวมถึงเรื่องที่ชาวบ้านกลัวว่าผู้ผลิตจะแอบขึ้นราคาด้วยการเปลี่ยนสูตรสินค้าและขอตั้งราคามาใหม่ เรื่องนี้มีกรมการค้าภายในดูแลอยู่ จึงมั่นใจได้ว่าแม้จะเป็นสินค้าชนิดใหม่ แต่ราคาขายจะต้องสอดคล้องกับต้นทุนที่แจ้งมาด้วย
อย่างเช่น สินค้าที่ประชาชนเดือดร้อนและร้องเรียนกันมาก ทั้งข้าวแกง อาหารสำเร็จรูป ถึงตอนนี้การร้องเรียนก็เริ่มเบาบางลง หลังจากช่วง 1-2 เดือนก่อน รัฐบาลได้ทำงานมาตรการเชิงรุกเต็มที่ ทั้งกำหนดเมนูรายการอาหารแนะนำ 10 กว่ารายการในราคาถูกจานละ 20-35 บาท ทั้งเมนูยอดนิยมคนไทย ข้าวกะเพรา ข้าวไข่เจียว ขนมจีนน้ำยา อีกทั้งได้ขอความร่วมมือร้านอาหาร ตลาดสด และห้างสรรพสินค้าให้จัดอาหารทางเลือกราคาถูกขายไปในตัวด้วย ขณะที่ร้านอาหารอื่นที่ใด ที่ขายไม่แพง กระทรวงพาณิชย์ก็เข้าไปติดป้ายเครือข่ายร้านธงฟ้า ช่วยประชาสัมพันธ์ให้เพื่อให้ผู้บริโภคไปซื้อหาเพิ่มขึ้น
“ผมเข้าใจถึงความเดือดร้อนของประชาชน แต่การแก้ปัญหาค่าครองชีพ สินค้าราคาแพงจะให้เห็นผลทันทีคงไม่ง่าย ที่ผ่านมามีคนชมเยอะ ตำหนิก็มี เพราะหลายเรื่องต้องใช้เวลา และต้องร่วมมือกับอีกหลาย ๆ หน่วยงาน ซึ่งยอมรับแม้จะเหนื่อยบ้าง แต่ก็ไม่คิดจะท้อถอย เพราะนี่ถือเป็นหน้าที่ เมื่อประชาชนเลือกเข้ามาก็ต้องทำให้ดูแลแก้ปัญหาให้ดีที่สุด”
อีกโครงการสำคัญ ที่กระทรวงพาณิชย์กำลังเร่งทำอยู่คือ “โชห่วยช่วยชาติ หรือร้านค้าถูกใจ” ซึ่งเป็นการดัดแปลงจากโครงการธงฟ้าเพื่อตอบโจทย์ให้ดีขึ้น เพราะที่ผ่านมาการทำงานธงฟ้าแม้จะขายของถูก แต่ก็ทำได้เพียงชั่วคราว และยังทำได้แค่บางพื้นที่ แต่สำหรับร้านถูกใจจะเป็นร้านตั้งถาวร สามารถขายสินค้าถูกให้ประชาชนทั่วถึงมากกว่า และยังช่วยให้โชห่วยเข้มแข็งขึ้นด้วย
หลักของร้านถูกใจ คือ รัฐบาลจะสนับสนุนนำสินค้าราคาถูกให้ร้านโชห่วย นำไปขายให้ประชาชนในราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป โดยใช้เครือข่ายการบริหารแบบโครงการธงฟ้า แต่รัฐจะช่วยเหลือเพิ่มเติม ในการตกแต่งหน้าร้าน สนับสนุนเงินกู้ การขนส่งและบริหารจัดการร้านที่เข้าร่วมให้ทันสมัยขึ้น ซึ่งขั้นตอนไม่ยุ่งยากเพราะได้ร่วมมือกับบริษัทไปรษณีย์ไทย ให้เป็นผู้จัดส่งสินค้าและรับคำสั่งซื้อแล้ว หากสินค้าหมดก็สามารถสั่งจากไปรษณีย์ได้ทุกวันพุธ พอถึงเสาร์-อาทิตย์สินค้าจะส่งถึง ขณะเดียวกันมีบริการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ จากธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ปล่อยกู้ให้ใช้สำหรับหมุนเวียนธุรกิจรายละ 30,000-100,000 บาท
งบประมาณที่ใช้จ่ายโครงการนี้ โดยมากเสียไปช่วงเริ่มต้น สำหรับใช้เป็นค่าจัดวางระบบคอมพิวเตอร์ การตกแต่งร้าน แต่ปีต่อ ๆ ไปเมื่อร้านค้าเริ่มคุ้นเคย หรือยืนได้ด้วยตัวเอง รัฐบาลจะจ่ายงบน้อยลง อย่างในปีงบประมาณ 56 ที่กระทรวงฯ มีแผนเดินหน้าร้านถูกใจต่อ แต่ก็ขอใช้งบประมาณไปหลักสิบล้านบาทเท่านั้น ส่วนที่กลัวว่าโครงการจะยุติโดยเร็ว จะไม่เกิดขึ้นแน่ เพราะทั้งหมดเป็นร้านค้าที่มีความชำนาญค้าขายกันอยู่แล้ว และตอนนี้มีร้านสนใจสมัครมากกว่า 4,000 รายแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในต่างจังหวัด
“ประชาชนมั่นใจได้ว่า สินค้าในร้านถูกใจมีราคาถูกกว่าทั่วไป 10-20% แน่นอน เพราะกระทรวงฯ เชี่ยวชาญทำเรื่องนี้มาเป็นสิบปี โดยสินค้าที่วางขายมีทั้งข้าวถุง น้ำมันพืช น้ำตาล สบู่ แชมพู ผงซักฟอก และของใช้ทั่วไป ส่วนร้านค้าที่เข้าร่วมก็ไม่ต้องห่วง เพราะจะมีกำไรให้แน่นอน โดยหลังจากนี้จะเริ่มเห็นร้านถูกใจทยอยเปิดได้ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย.นี้เป็นต้นไป”
ส่วนเรื่องราวของน้ำมันปาล์มที่หลายคนกลัวขาดแคลน ถึงตอนนี้ไม่ต้องกังวล เพราะกระทรวงพาณิชย์เร่งนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบรอบแรกแล้ว 10,000 ตัน จากทั้งหมดที่ขออนุมัติ ครม. ไว้ 40,000 ตัน โดยให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และปตท.เข้าไปช่วยดูให้ทันต้นเดือนพ.ค.นี้ ในราคาที่ขายปลีกให้ประชาชนได้ไม่เกินขวดละ 42 บาท ส่วนที่ตั้งข้อสังเกตว่าพอนำเข้าจะทำให้ราคาผลปาล์มตกต่ำ เรื่องนี้พอได้ประชุมหารือกับผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายแล้ว เกษตรกรไม่ได้คัดค้านนำเข้าทั้งหมด แต่ขอให้รัฐบาลดูแลปริมาณให้เหมาะสม เพราะตอนนี้สต๊อกค่อนข้างตึงตัว เหลือเพียง 150,000 ตัน ต่ำกว่าที่ต้องสำรอง 200,000 ตัน ซึ่งรัฐบาลยืนยันเพื่อดูแลให้
การดูแลเกษตรกรถือเป็นอีกหน้าที่สำคัญของกระทรวงพาณิชย์ โดยนอกจากปาล์ม รัฐบาลกำลังดูแลการแก้ปัญหาสินค้าอื่นอย่างเต็มที่ อย่างมันสำปะหลัง ล่าสุดได้เซ็นสัญญากับผู้นำเข้าจีนให้นำเข้ามันจากไทย 2.3 ล้านตัน มูลค่า 560 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยดึงผลผลิตส่วนเกินออกจากตลาด ควบคู่ไปกับการเปิดรับซื้อจากชาวไร่ จนทำให้ขณะนี้ราคามันเพิ่มขึ้นเกิน กก. 2.30 บาทแล้ว ส่วนปัญหาราคาสับปะรดตกต่ำจนต้องมีเกษตรกรออกมากดดันเทสับปะรดทิ้ง ตอนนี้ ครม. อนุมัติหลักการแล้ว 1,400 ล้านบาท ซึ่งเหลือขั้นตอนการพิจารณารายละเอียดของ คณะกรรมการนโยบายและช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ตลอดจนสินค้าเกษตรอื่น ๆ อย่างลำไย หอมแดง ได้มีการพิจารณาดูแลเป็นรายสินค้าเพื่อไม่ให้เดือดร้อน
ในท้ายนี้ แม้ปัญหาปากท้องได้กลายเป็นเรื่องใหญ่ และประชาชนจำนวนมากกำลังเดือดร้อน แต่ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า ด้วยการดูแลค่าครองชีพแบบเชิงรุก รวมถึงการดำเนินโครงการโชห่วยช่วยชาติของรัฐบาล จะสามารถดูแลปัญหาค่าครองชีพให้อยู่ในระดับที่ประชาชนยอมรับได้อย่างแน่นอน.
เมื่อถูกถามถึงปัญหาข้าวของที่แพงขึ้นมาก รมว.บุญทรง ได้ออกมายืดอกยอมรับทันทีว่า ต้องยอมรับว่าราคาสินค้าในปัจจุบันราคาแพงขึ้นจริง แม้รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาด้วยนโยบายการเพิ่มรายได้ให้ประชาชนเพื่อต่อสู้กับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทั้งการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท หรือการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรช่วยสร้างความมั่นคงทางรายได้แก่พี่น้องเกษตรกร แต่มีราคาสินค้าบางรายการที่แพงขึ้นมาก่อน และบางรายการปรับขึ้นจนทำให้ประชาชนเดือดร้อน
แต่หน้าที่กระทรวงพาณิชย์ ต้องเข้าไปดูแลช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ โดยการทำงานที่ผ่านมาได้ทำผ่านหลายแนวทาง ทั้งการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องบังคับควบคุม ไม่ให้เกิดการปั่นป่วน สินค้าขาดแคลน หรือฉวยขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรม และได้มีเจ้าหน้าที่ออกไปดูแลเป็นประจำ พร้อมทั้งได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น เช่น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามสถานการณ์เพื่อแก้ปัญหาเป็นระยะ
ขณะเดียวกันได้กำหนดดูแลรายการสินค้าจำเป็น เป็นบัญชีสินค้าและบริการควบคุมสินค้า 42 รายการ และสินค้าที่ต้องติดตามดูแลอีก 200 รายการ หากสินค้าในกลุ่มนี้ต้องการขึ้นราคาต้องแจ้งให้กระทรวงพาณิชย์รู้ก่อน ไม่สามารถขึ้นโดยพลการได้ รวมถึงเรื่องที่ชาวบ้านกลัวว่าผู้ผลิตจะแอบขึ้นราคาด้วยการเปลี่ยนสูตรสินค้าและขอตั้งราคามาใหม่ เรื่องนี้มีกรมการค้าภายในดูแลอยู่ จึงมั่นใจได้ว่าแม้จะเป็นสินค้าชนิดใหม่ แต่ราคาขายจะต้องสอดคล้องกับต้นทุนที่แจ้งมาด้วย
อย่างเช่น สินค้าที่ประชาชนเดือดร้อนและร้องเรียนกันมาก ทั้งข้าวแกง อาหารสำเร็จรูป ถึงตอนนี้การร้องเรียนก็เริ่มเบาบางลง หลังจากช่วง 1-2 เดือนก่อน รัฐบาลได้ทำงานมาตรการเชิงรุกเต็มที่ ทั้งกำหนดเมนูรายการอาหารแนะนำ 10 กว่ารายการในราคาถูกจานละ 20-35 บาท ทั้งเมนูยอดนิยมคนไทย ข้าวกะเพรา ข้าวไข่เจียว ขนมจีนน้ำยา อีกทั้งได้ขอความร่วมมือร้านอาหาร ตลาดสด และห้างสรรพสินค้าให้จัดอาหารทางเลือกราคาถูกขายไปในตัวด้วย ขณะที่ร้านอาหารอื่นที่ใด ที่ขายไม่แพง กระทรวงพาณิชย์ก็เข้าไปติดป้ายเครือข่ายร้านธงฟ้า ช่วยประชาสัมพันธ์ให้เพื่อให้ผู้บริโภคไปซื้อหาเพิ่มขึ้น
“ผมเข้าใจถึงความเดือดร้อนของประชาชน แต่การแก้ปัญหาค่าครองชีพ สินค้าราคาแพงจะให้เห็นผลทันทีคงไม่ง่าย ที่ผ่านมามีคนชมเยอะ ตำหนิก็มี เพราะหลายเรื่องต้องใช้เวลา และต้องร่วมมือกับอีกหลาย ๆ หน่วยงาน ซึ่งยอมรับแม้จะเหนื่อยบ้าง แต่ก็ไม่คิดจะท้อถอย เพราะนี่ถือเป็นหน้าที่ เมื่อประชาชนเลือกเข้ามาก็ต้องทำให้ดูแลแก้ปัญหาให้ดีที่สุด”
อีกโครงการสำคัญ ที่กระทรวงพาณิชย์กำลังเร่งทำอยู่คือ “โชห่วยช่วยชาติ หรือร้านค้าถูกใจ” ซึ่งเป็นการดัดแปลงจากโครงการธงฟ้าเพื่อตอบโจทย์ให้ดีขึ้น เพราะที่ผ่านมาการทำงานธงฟ้าแม้จะขายของถูก แต่ก็ทำได้เพียงชั่วคราว และยังทำได้แค่บางพื้นที่ แต่สำหรับร้านถูกใจจะเป็นร้านตั้งถาวร สามารถขายสินค้าถูกให้ประชาชนทั่วถึงมากกว่า และยังช่วยให้โชห่วยเข้มแข็งขึ้นด้วย
หลักของร้านถูกใจ คือ รัฐบาลจะสนับสนุนนำสินค้าราคาถูกให้ร้านโชห่วย นำไปขายให้ประชาชนในราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป โดยใช้เครือข่ายการบริหารแบบโครงการธงฟ้า แต่รัฐจะช่วยเหลือเพิ่มเติม ในการตกแต่งหน้าร้าน สนับสนุนเงินกู้ การขนส่งและบริหารจัดการร้านที่เข้าร่วมให้ทันสมัยขึ้น ซึ่งขั้นตอนไม่ยุ่งยากเพราะได้ร่วมมือกับบริษัทไปรษณีย์ไทย ให้เป็นผู้จัดส่งสินค้าและรับคำสั่งซื้อแล้ว หากสินค้าหมดก็สามารถสั่งจากไปรษณีย์ได้ทุกวันพุธ พอถึงเสาร์-อาทิตย์สินค้าจะส่งถึง ขณะเดียวกันมีบริการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ จากธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ปล่อยกู้ให้ใช้สำหรับหมุนเวียนธุรกิจรายละ 30,000-100,000 บาท
งบประมาณที่ใช้จ่ายโครงการนี้ โดยมากเสียไปช่วงเริ่มต้น สำหรับใช้เป็นค่าจัดวางระบบคอมพิวเตอร์ การตกแต่งร้าน แต่ปีต่อ ๆ ไปเมื่อร้านค้าเริ่มคุ้นเคย หรือยืนได้ด้วยตัวเอง รัฐบาลจะจ่ายงบน้อยลง อย่างในปีงบประมาณ 56 ที่กระทรวงฯ มีแผนเดินหน้าร้านถูกใจต่อ แต่ก็ขอใช้งบประมาณไปหลักสิบล้านบาทเท่านั้น ส่วนที่กลัวว่าโครงการจะยุติโดยเร็ว จะไม่เกิดขึ้นแน่ เพราะทั้งหมดเป็นร้านค้าที่มีความชำนาญค้าขายกันอยู่แล้ว และตอนนี้มีร้านสนใจสมัครมากกว่า 4,000 รายแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในต่างจังหวัด
“ประชาชนมั่นใจได้ว่า สินค้าในร้านถูกใจมีราคาถูกกว่าทั่วไป 10-20% แน่นอน เพราะกระทรวงฯ เชี่ยวชาญทำเรื่องนี้มาเป็นสิบปี โดยสินค้าที่วางขายมีทั้งข้าวถุง น้ำมันพืช น้ำตาล สบู่ แชมพู ผงซักฟอก และของใช้ทั่วไป ส่วนร้านค้าที่เข้าร่วมก็ไม่ต้องห่วง เพราะจะมีกำไรให้แน่นอน โดยหลังจากนี้จะเริ่มเห็นร้านถูกใจทยอยเปิดได้ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย.นี้เป็นต้นไป”
ส่วนเรื่องราวของน้ำมันปาล์มที่หลายคนกลัวขาดแคลน ถึงตอนนี้ไม่ต้องกังวล เพราะกระทรวงพาณิชย์เร่งนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบรอบแรกแล้ว 10,000 ตัน จากทั้งหมดที่ขออนุมัติ ครม. ไว้ 40,000 ตัน โดยให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และปตท.เข้าไปช่วยดูให้ทันต้นเดือนพ.ค.นี้ ในราคาที่ขายปลีกให้ประชาชนได้ไม่เกินขวดละ 42 บาท ส่วนที่ตั้งข้อสังเกตว่าพอนำเข้าจะทำให้ราคาผลปาล์มตกต่ำ เรื่องนี้พอได้ประชุมหารือกับผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายแล้ว เกษตรกรไม่ได้คัดค้านนำเข้าทั้งหมด แต่ขอให้รัฐบาลดูแลปริมาณให้เหมาะสม เพราะตอนนี้สต๊อกค่อนข้างตึงตัว เหลือเพียง 150,000 ตัน ต่ำกว่าที่ต้องสำรอง 200,000 ตัน ซึ่งรัฐบาลยืนยันเพื่อดูแลให้
การดูแลเกษตรกรถือเป็นอีกหน้าที่สำคัญของกระทรวงพาณิชย์ โดยนอกจากปาล์ม รัฐบาลกำลังดูแลการแก้ปัญหาสินค้าอื่นอย่างเต็มที่ อย่างมันสำปะหลัง ล่าสุดได้เซ็นสัญญากับผู้นำเข้าจีนให้นำเข้ามันจากไทย 2.3 ล้านตัน มูลค่า 560 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยดึงผลผลิตส่วนเกินออกจากตลาด ควบคู่ไปกับการเปิดรับซื้อจากชาวไร่ จนทำให้ขณะนี้ราคามันเพิ่มขึ้นเกิน กก. 2.30 บาทแล้ว ส่วนปัญหาราคาสับปะรดตกต่ำจนต้องมีเกษตรกรออกมากดดันเทสับปะรดทิ้ง ตอนนี้ ครม. อนุมัติหลักการแล้ว 1,400 ล้านบาท ซึ่งเหลือขั้นตอนการพิจารณารายละเอียดของ คณะกรรมการนโยบายและช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ตลอดจนสินค้าเกษตรอื่น ๆ อย่างลำไย หอมแดง ได้มีการพิจารณาดูแลเป็นรายสินค้าเพื่อไม่ให้เดือดร้อน
ในท้ายนี้ แม้ปัญหาปากท้องได้กลายเป็นเรื่องใหญ่ และประชาชนจำนวนมากกำลังเดือดร้อน แต่ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า ด้วยการดูแลค่าครองชีพแบบเชิงรุก รวมถึงการดำเนินโครงการโชห่วยช่วยชาติของรัฐบาล จะสามารถดูแลปัญหาค่าครองชีพให้อยู่ในระดับที่ประชาชนยอมรับได้อย่างแน่นอน.
ทีมเศรษฐกิจ
แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น