วันนี้ ( 5 มิ.ย.)
นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.) ยังไม่เห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวนาปี
ปีการผลิต 2555 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอและมอบหมายให้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอนายกรัฐมนตรีชุดที่ 4 ที่
มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง เป็นประธาน
ไปพิจารณารายละเอียดให้ชัดเจนรอบคอบอีกครั้ง
โดยเฉพาะค่าเบี้ยประกันภัยที่เห็นว่าค่อนข้างแพงเกินไป
นายภักดีหาญส์ ยังกล่าวด้วยว่า เปิดเผยว่า
ที่ประชุมครม.มีมติอนุมัติค่าใช้จ่ายการระบายข้าวเปลือกในยุ้งฉางเกษตรกรตาม
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 54/55
เพื่อเป็นค่าขนย้ายข้าวเปลือกจากยุ้งฉางเกษตรกรถึงจุดรับมอบข้าวเปลือกให้
เกษตรกรตามที่จ่ายจริงไม่เกินตันละ 300 บาท มีปริมาณการรับจำนำจำนวน
176,910 ตัน คิดเป็นมูลค่า 53 ล้านบาท
โดยมีการเบิกจ่ายจากงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนิน
การโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 54/55
ร
ายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ที่ประชุม ครม.
ได้วิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะนายชุมพล ศิลปอาชา
รองนายกฯและรมว.ท่องเที่ยวและกีฬา, นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์,
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ และ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช
รมว.ศึกษาธิการ
ได้ตั้งข้อสงสัยเรื่องเบี้ยประกันภัยที่กระทรวงการคลังนำเสนอมาสูงถึงไร่ละ 225.77
บาท ซึ่งเป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์แล้ว โดยรัฐบาลต้องเข้าไปรับภาระอุดหนุนค่าเบี้ยประกันให้กับเกษตรกรเป็นจำนวน 165.77
บาทต่อไร่ คิดเป็นวงเงินงบประมาณสูงถึง 1,428.
93 ล้านบาท ซึ่งแตกต่างจากปีที่ผ่านมาเป็นเท่าตัวทีเดียวที่รัฐบาลเข้าไปอุดหนุนค่าเบี้ยเพียงแค่ไร่ละ 60
บาท หรือคิดค่าเบี้ยที่ไร่ละ 120
บาท เท่านั้น ขณะที่นายกิตติรัตน์ เองไม่ได้โต้แย้งหรือเสนอความคิดเห็นใด ๆ อย่างไรก็ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังระบุว่า สาเหตุสำคัญที่เบี้ย
ประกันภัยเพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้ว คือ
การขยายตัวความคุ้มครองให้ครอบคลุมถึงภัยศัตรูพืชและโรคระบาดตามความต้องการ
ของเกษตรกร รวมถึงการปรับเพิ่มความเสี่ยงระดับมหันตภัยของประเทศไทย
และการปรับวงเงินความคุ้มครองให้เท่ากันตลอดช่วงระยะเวลาการเพาะปลูก
ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้เสนอให้ ครม.เห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2555 และอนุมัติวงเงินงบประมาณ จำนวน 1,428.93 ล้านบาท เพื่อให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นำไปดำเนินการโครงการฯ นี้ต่อไป โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะรับภาระค่าเบี้ยประกันภัยไม่เกินไร่ละ 60 บาท โดยที่รัฐบาลอุดหนุนค่าเบี้ยในส่วนที่เหลือไร่ละ 165.77 บาท พร้อมทั้งได้ขยายความคุ้มครองจากภัยธรรมชาติเพิ่มเติมโดยรวมถึงภัยศัตรูพืชและโรคระบาด ด้วย จากเดิมที่คุ้มครองเพียง 6 ภัย คืออุทกภัย ฝนทิ้งช่วง ลมพายุ อากาศหนาว ลูกเห็บและอัคคีภัย แยกวงเงินคุ้มครองเป็น 2 อัตราคือไร่ละ 1,111 บาท ตลอดช่วงการเพาะปลูก สำหรับ 6 ภัยธรรมชาติ และคุ้มครองไร่ละ 555 บาท สำหรับภัยศัตรูพืชและโรคระบาด
นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังระบุด้วยว่าจาก
เหตุการณ์สถานการณ์ภัยน้ำท่วมรุนแรงในปี 2553 และ 2554
ทำให้เกษตรกรตระหนักในการสร้างระบบประกันความเสี่ยงให้กับตนเองมากยิ่งขึ้น
รัฐจึงจำเป็นต้องอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย
โดยเห็นควรให้เกษตรกรรมรับภาระค่าเบี้ยประกันภัย 60 บาทต่อไร่
เช่นเดียวกับการดำเนินโครงการฯ ในปี 2554
และรัฐอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยในส่วนที่เกินกว่า 60
บาทต่อไร่และให้ธ.ก.ส.พิจารณามาตรการสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกรที่เป็น
ลูกค้าเพิ่มเติมด้วย
อย่าง
ไรก็ตามธ.ก.ส.จะเป็นผู้บริหารโครงการและเป็นตัวกลางระหว่างเกษตรกรผู้เอา
ประกันภัยกับผู้รับประภันภัยเอกชน เช่นเดียวกับการดำเนินโครงการในปี 54 โดยให้ภาค
เอกชนเป็นผู้รับประกันภัยในส่วนที่เพิ่มเติมจากมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้
ประสบภัยของรัฐ
และใช้เกณฑ์การประเมินความเสียหายที่รัฐดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
เช่นเดียวกับการดำเนินโครงการฯ ในปี 2554
แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th