เมื่อวันที่ 3 ก.ค. ที่สโมสรกองทัพบก ถ.วิภาวดีรังสิต พล.ท.อำพล
ชูประทุม ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก (ผช.เสธ.ทบ.)
เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือในโครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องช่วยฝึกยิง
ด้วยแสงเลเซอร์ ระหว่างสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก (สวพ.ทบ.)
และบริษัท เมก้า ฟอร์ซ อินเตอร์
เพื่อส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยระดับเทคโนโลยีระดับสูง
พร้อมมอบนโยบายดำเนินการแก้นายทหารโครงการเพื่อการปฏิบัติงานตามแผนงาน
โดยพล.ต. หม่อมหลวง ระวีวัฒน์ เกษมสันต์ ผอ.สวพ.ทบ. กล่าวว่าจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหากรณีพิพาทตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และการก่อการร้ายในรูปแบบต่างๆ ของผู้ก่อความไม่สงบและผู้ไม่หวังดี กองทัพบกเป็นหน่วยงานหลักในการจัดเตรียมกำลังพลจำเป็นต้องมีการฝึกซ้อมกำลัง พลให้มีความพร้อมต่อสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นภายใต้การดูแลของกรมยุทธศึกษา ทหารบก และเพื่อให้การฝึกมีประสิทธิภาพสูงสุด หน่วยงานฝึกจำเป็นต้องอาศัยเครื่องฝึกจำลองการยิงอาวุธทหารราบด้วยแสง เลเซอร์ จัดซื้อมาจากต่างประเทศตั้งแค่ปี 35 แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการที่นำไปทดแทนของเดิมที่ชำรุด ทำให้สวพ.ทบ.ได้มีโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกับบริษัทเมก้าฯ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเครื่องช่วยฝึกยิงแสงเลเซอร์ฝีมือคนไทยภายใต้ ชื่อ แอลซีซีเอส ที่สามารถผลิตได้ในประเทศ โดยมีศักยภาพเทียบเท่ากับเครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีความเหมาะสมตรงกับความต้องการของผู้ใช้สอดคล้องกับการฝึกตามระเบียบหลัก สูตรการฝึกของกองทัพบก อย่างไรก็ตามสวพ.ทบ.เป็นผู้อำนวยสถานที่ เครื่องมือ และยุทโธปกรณ์ที่จัดหาได้ภายในประเทศเป็นหลัก เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการพึ่งพาตนเองทางทหาร รวมถึงแก้ไขปัญหาเรื่องการซ่อมบำรุงและลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
ด้านนายศักดา ศรีวิริยะไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการบ.เมก้าฯ กล่าวว่า ต้นแบบเครื่องฯเป็นชุดยิงเลเซอร์ติดประกอบปืนจริง เพื่อใช้ฝึกแทนกระสุนจริงโดยใช้ได้ทั้งเอ็ม 16 ปืนเล็กยาว หรืออื่นๆตามความเหมาะสมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกำลังพลในหารใช้อาวุธ จริงเมื่อต้องออกปฏิบัติภารกิจในสถานการณ์ที่เสี่ยงภัย และสามารถประหยัดงบประมาณในการฝึกได้ ทั้งยังมีความปลอดภัยต่อกำลังพลในขณะฝึก โครงการดังกล่าวมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 180 วันนับจากวันที่ได้รับอนุมัติให้เริ่มดำเนินการ ซึ่งใช้งบประมาณการวิจัย 3.5 ล้านบาท จากบริษัทเมก้าฯทั้งหมด เพื่อพัฒนาเครื่องต้นแบบจำนวน 24 ชุด เดิมซื้อจากต่างประเทศชุดละ 3 แสนบาท ในส่วนที่ไทยผลิตเองชุดละประมาณ 2 แสนกว่าบาท ทำให้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายต่อชุดไปร้อยละ 30 อย่างไรก็ตามการที่ไทยเป็นผู้ผลิตเครื่องช่วยฝึกยิงเลเซอร์นั้นสามารถออกแบบ ให้สอดคล้องกับระบบการฝึกเพื่อประโยชน์สูงสุด รวมถึงการซ่อมแซมที่สะดวกมากกว่า.
โดยพล.ต. หม่อมหลวง ระวีวัฒน์ เกษมสันต์ ผอ.สวพ.ทบ. กล่าวว่าจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหากรณีพิพาทตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และการก่อการร้ายในรูปแบบต่างๆ ของผู้ก่อความไม่สงบและผู้ไม่หวังดี กองทัพบกเป็นหน่วยงานหลักในการจัดเตรียมกำลังพลจำเป็นต้องมีการฝึกซ้อมกำลัง พลให้มีความพร้อมต่อสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นภายใต้การดูแลของกรมยุทธศึกษา ทหารบก และเพื่อให้การฝึกมีประสิทธิภาพสูงสุด หน่วยงานฝึกจำเป็นต้องอาศัยเครื่องฝึกจำลองการยิงอาวุธทหารราบด้วยแสง เลเซอร์ จัดซื้อมาจากต่างประเทศตั้งแค่ปี 35 แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการที่นำไปทดแทนของเดิมที่ชำรุด ทำให้สวพ.ทบ.ได้มีโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกับบริษัทเมก้าฯ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเครื่องช่วยฝึกยิงแสงเลเซอร์ฝีมือคนไทยภายใต้ ชื่อ แอลซีซีเอส ที่สามารถผลิตได้ในประเทศ โดยมีศักยภาพเทียบเท่ากับเครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีความเหมาะสมตรงกับความต้องการของผู้ใช้สอดคล้องกับการฝึกตามระเบียบหลัก สูตรการฝึกของกองทัพบก อย่างไรก็ตามสวพ.ทบ.เป็นผู้อำนวยสถานที่ เครื่องมือ และยุทโธปกรณ์ที่จัดหาได้ภายในประเทศเป็นหลัก เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการพึ่งพาตนเองทางทหาร รวมถึงแก้ไขปัญหาเรื่องการซ่อมบำรุงและลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
ด้านนายศักดา ศรีวิริยะไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการบ.เมก้าฯ กล่าวว่า ต้นแบบเครื่องฯเป็นชุดยิงเลเซอร์ติดประกอบปืนจริง เพื่อใช้ฝึกแทนกระสุนจริงโดยใช้ได้ทั้งเอ็ม 16 ปืนเล็กยาว หรืออื่นๆตามความเหมาะสมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกำลังพลในหารใช้อาวุธ จริงเมื่อต้องออกปฏิบัติภารกิจในสถานการณ์ที่เสี่ยงภัย และสามารถประหยัดงบประมาณในการฝึกได้ ทั้งยังมีความปลอดภัยต่อกำลังพลในขณะฝึก โครงการดังกล่าวมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 180 วันนับจากวันที่ได้รับอนุมัติให้เริ่มดำเนินการ ซึ่งใช้งบประมาณการวิจัย 3.5 ล้านบาท จากบริษัทเมก้าฯทั้งหมด เพื่อพัฒนาเครื่องต้นแบบจำนวน 24 ชุด เดิมซื้อจากต่างประเทศชุดละ 3 แสนบาท ในส่วนที่ไทยผลิตเองชุดละประมาณ 2 แสนกว่าบาท ทำให้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายต่อชุดไปร้อยละ 30 อย่างไรก็ตามการที่ไทยเป็นผู้ผลิตเครื่องช่วยฝึกยิงเลเซอร์นั้นสามารถออกแบบ ให้สอดคล้องกับระบบการฝึกเพื่อประโยชน์สูงสุด รวมถึงการซ่อมแซมที่สะดวกมากกว่า.