ที่ห้องพิจารณาคดี 906 ศาลอาญา เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 28 ก.พ. ศาลอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ อ.1036/2552 พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 1 เป็นโจทก์ฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ในเครือผู้จัดการ และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นายสุรเดช มุขยางกูร อดีตกรรมการบริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) น.ส.เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์ อดีตผู้บริหารแผนฟื้นฟู บมจ. แมเนเจอร์ฯ และน.ส.วยุพิน จันทนา อดีตกรรมการกรรมการ บมจ. แมเนเจอร์ฯ เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 307, 311, 312 (1) (2) (3) ,313
คำฟ้องโจทก์สรุปว่า เมื่อวันที่ 29 เม.ย.39 - วันที่ 31 มี.ค.40 จำเลยทั้ง 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมทำสำเนารายงานการประชุมของกรรมการบริษัทเป็นเท็จที่ว่ามีมติให้ บริษัท เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัท เดอะ เอ็มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) รวม 6 ครั้ง จำนวน 1,078 ล้านบาท โดยจำเลยที่ 1 และ 3 ไม่ได้ขออนุมัติจากมติที่ประชุมกรรมการบริษัท และเมื่อวันที่ 30 เม.ย.39 – 18 พ.ย.41 จำเลยทั้งสี่ยังร่วมกันยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงตัดทอนทำบัญชีไม่ตรงกับความ เป็นจริง และจำเลยทั้งสี่ยังไม่ได้นำภาระการค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว ถือเป็นรายการที่ทำให้รายได้ของ บมจ.แมเนเจอร์ฯ เปลี่ยนแปลงผิดปกติ ซึ่งต้องแสดงรายการไว้ในงบการเงินประจำปี 2539-2541 และจะต้องนำส่งให้ตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นของ บมจ.แมเนเจอร์ฯ ขาดประโยชน์ที่ควรจะได้รับ รวมทั้งเป็นการลวงให้นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่รับรู้ถึงการค้ำประกันหนี้ดังกล่าว เหตุเกิดที่แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา และแขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กทม. เกี่ยวพันกัน ในชั้นพิจารณาจำเลยทั้ง 4 ให้การรับสารภาพ
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้ง 4 แล้ว รับฟังได้ว่า จำเลยทั้ง 4 ร่วมกันทำสำเนารายงานการประชุมกรรมการ บมจ.แมเนเจอร์ฯ โดยลงชื่อรับรองสำเนาเพื่อแสดงว่ามีกรรมการของบริษัทร่วมประชุม และมีมติให้บริษัทค้ำประกันเงินกู้ บมจ.เดอะเอ็ม กรุ๊ปฯ ซึ่งบริษัทดังกล่าวมีจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการร่วมอยู่ด้วย โดยสำเนารายการดังกล่าวเป็นเท็จ ต่อมาจำเลยที่ 4 ได้นำสำเนาเท็จดังกล่าวไปแสดงต่อ ธนาคารกรุงไทย โดยหลงเชื่อและยินยอมให้ บมจ.แมเนเจอร์ฯ ค้ำประกันหนี้ กระทั่งธนาคาร กรุงไทย มอบเงินกู้และเงินเบิกเกินบัญชีให้แก่ บมจ. เดอะเอ็มกรุ๊ปฯ รวม 6 ครั้ง เป็นเงิน 1,078 ล้านบาท อันเป็นการกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริตที่ไม่ได้ขออนุมัติจากมติที่ประชุม ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีได้รายงานกับ กลต. ว่าในช่วงปีที่ผ่าน กรรมการของ บมจ.แมเนเจอร์ฯ ไม่ได้มีการประชุมเรื่องดังกล่าว
นอกจากนี้ จำเลยที่ 1, 3 และ 4 ยังลงข้อความในเอกสารของบริษัททำบัญชี โดยไม่ครบถ้วน ไม่ตรงต่อความเป็นจริง ด้วยการไม่นำภาระการค้ำประกันหนี้ลงในรายการภาระหรือรายได้ของ บมจ.แมเนเจอร์ฯ เพื่อจัดส่งให้ ตลาดหลักทรัพย์ และ กลต. เพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์ที่ควรได้ เป็นการกระทำโดยทุจริต เพื่อประโยชน์ของ บมจ.เดอะเอ็มกรุ๊ปฯ ทำให้เกิดความเสียหาย กับผู้ถือหุ้นและกรรมการคนอื่นของ บมจ.แมเนเจอร์ฯ และธนาคาร กรุงไทย
ส่วนที่จำเลยทั้ง 4 ขอให้รอการลงโทษ ศาลเห็นว่า การกระทำของจำเลยทั้ง 4 ทำให้บริษัทต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันในเงินกู้ที่เป็นหนี้จำนวนมาก ทำให้บริษัท ผู้ถือหุ้น และกรรมการคนอื่นของบริษัท รวมทั้ง ธนาคารกรุงไทย ต้องได้รับความเสียหาย ในภาระผูกพันหนี้สินดังกล่าว ขณะที่ บมจ.แมเนเจอร์ฯ ต้องนำผลกำไรไปชดใช้หนี้สินแทน ส่วนที่จำเลยทั้ง 4 นำสืบว่า ธนาคารกรุงไทย ได้รับความเสียหาย เนื่องจากธนาคารยอมรับชำระหนี้จาก บมจ.แมเนเจอร์ฯ เพียง 259 ล้านบาท ส่วนที่เหลือธนาคารจะเรียกจากผู้ค้ำประกันรายอื่นนั้น ศาลเห็นว่า แม้การให้สินเชื่อดังกล่าวจะมี บมจ.แมเนเจอร์ฯ ทำสัญญาค้ำประกันไว้ แต่เมื่อธนาคาร กรุงไทย ไม่ได้รับชำระหนี้อย่างครบถ้วนสิ้นเชิง ก็ถือว่าธนาคารกรุงไทย ได้รับความเสียหายแล้ว ส่วนที่บริษัท และบุคคลอื่นจะยินยอมชำระหนี้ให้ธนาคารมากน้อยเพียงใดในภายหลังนั้น ไม่ได้หมายความว่าธนาคารกรุงไทยจะไม่ได้รับความเสียหาย ข้อนำสืบของจำเลยทั้ง 4 จึงไม่สมเหตุสมผล ไม่มีน้ำหนัก น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ความผิดตามฟ้องมีบทลงโทษให้จำคุก ตั้งแต่ 5–10 ปี และปรับเป็นเงินจำนวน 2 เท่าของราคาทรัพย์สิน แต่ไม่ต่ำกว่าจำนวน 5 แสนบาท ถือว่ากฎหมายได้บัญญัติอัตราโทษไว้สูง และ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ยังมีเจตนารมณ์ให้ลงโทษผู้กระทำผิดในข้อหาต่างๆ สถานหนัก ดังนั้น พฤติการณ์แห่งคดี จึงไม่มีเหตุให้รอการลงโทษจำเลยทั้ง 4
พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และ 3 มีความผิดฐานร่วมกันกระทำผิดต่อหน้าที่โดยทุจริตเป็นเหตุให้บริษัทเสียหาย โดยร่วมกันกระทำการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ , ร่วมกันไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารของบริษัท และร่วมกันทำบัญชีไม่ครบถ้วนไม่เป็นปัจจุบัน ไม่ตรงต่อความเป็นจริงเพื่อลวงให้บริษัท และผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์ การกระทำของจำเลยที่ 1 และ 3 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรม ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ และ ประมวลกฎหมายอาญา 83, 91 รวมจำคุก 17 กระทงละ 5 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 1 และ 3 เป็นเวลา 85 ปี
ส่วนจำเลยที่ 2 ลงโทษจำคุก 5 ปี จำเลยที่ 4 กระทำความผิดรวม 13 กระทง ลงโทษกระทงละ 5 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 4 เป็นเวลา 65 ปี จำเลยทั้ง 4 ให้การรับสารภาพเป็นโยชน์แก่การพิจารณาคดี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1 และ 3 เป็นเวลา 42 ปี 6 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 จำคุก 2 ปี 6 เดือน และจำเลยที่ 4 จำคุก 32 ปี 6 เดือน แต่โทษสูงสุดในความผิดฐานดังกล่าว กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 20 ปี จึงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 , 3 และ 4 คนละ 20 ปี
โดยให้นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากคดีหมายเลขแดง อ.5068/2550 ที่หมิ่นประมาท พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี คดีหมายเลขแดง อ.1241/2550 ที่หมิ่นประมาทนาย ภูมิธรรม เวชชยชัย อดีตรองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย ที่ศาลพิพากษาจำคุก 6 เดือน และคดีหมายเลขแดง อ.3356/2552 ที่หมิ่นประมาท นาย นภดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย พ.ต.ท. ทักษิณ ที่ศาลพิพากษาจำคุก 6 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 ให้นับโทษต่อจากคดีที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ หมายเลขแดง อ.2318/2554 ศาลอาญา หมายเลขแดง อ.2990/2552 และคดีที่ศาลจังหวัดเชียงราย หมายเลขแดง อ.823/2551
จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้คุมตัวนายสนธิ ไปไว้ที่ห้องพักจำเลย โดยทนายความนายสนธิ ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพ มูลค่า 10 ล้านบาท เพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาคำร้องของศาลว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่
ต่อมาเวลา 18.00 น. มีรายงานว่าศาลพิจารณาให้ประกันตัวนายสนธิ รวมทั้งจำเลยที่ 3-4 ออกไป ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยื่นขอประจำตัวแต่อย่างใด.
คำฟ้องโจทก์สรุปว่า เมื่อวันที่ 29 เม.ย.39 - วันที่ 31 มี.ค.40 จำเลยทั้ง 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมทำสำเนารายงานการประชุมของกรรมการบริษัทเป็นเท็จที่ว่ามีมติให้ บริษัท เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัท เดอะ เอ็มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) รวม 6 ครั้ง จำนวน 1,078 ล้านบาท โดยจำเลยที่ 1 และ 3 ไม่ได้ขออนุมัติจากมติที่ประชุมกรรมการบริษัท และเมื่อวันที่ 30 เม.ย.39 – 18 พ.ย.41 จำเลยทั้งสี่ยังร่วมกันยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงตัดทอนทำบัญชีไม่ตรงกับความ เป็นจริง และจำเลยทั้งสี่ยังไม่ได้นำภาระการค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว ถือเป็นรายการที่ทำให้รายได้ของ บมจ.แมเนเจอร์ฯ เปลี่ยนแปลงผิดปกติ ซึ่งต้องแสดงรายการไว้ในงบการเงินประจำปี 2539-2541 และจะต้องนำส่งให้ตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นของ บมจ.แมเนเจอร์ฯ ขาดประโยชน์ที่ควรจะได้รับ รวมทั้งเป็นการลวงให้นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่รับรู้ถึงการค้ำประกันหนี้ดังกล่าว เหตุเกิดที่แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา และแขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กทม. เกี่ยวพันกัน ในชั้นพิจารณาจำเลยทั้ง 4 ให้การรับสารภาพ
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้ง 4 แล้ว รับฟังได้ว่า จำเลยทั้ง 4 ร่วมกันทำสำเนารายงานการประชุมกรรมการ บมจ.แมเนเจอร์ฯ โดยลงชื่อรับรองสำเนาเพื่อแสดงว่ามีกรรมการของบริษัทร่วมประชุม และมีมติให้บริษัทค้ำประกันเงินกู้ บมจ.เดอะเอ็ม กรุ๊ปฯ ซึ่งบริษัทดังกล่าวมีจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการร่วมอยู่ด้วย โดยสำเนารายการดังกล่าวเป็นเท็จ ต่อมาจำเลยที่ 4 ได้นำสำเนาเท็จดังกล่าวไปแสดงต่อ ธนาคารกรุงไทย โดยหลงเชื่อและยินยอมให้ บมจ.แมเนเจอร์ฯ ค้ำประกันหนี้ กระทั่งธนาคาร กรุงไทย มอบเงินกู้และเงินเบิกเกินบัญชีให้แก่ บมจ. เดอะเอ็มกรุ๊ปฯ รวม 6 ครั้ง เป็นเงิน 1,078 ล้านบาท อันเป็นการกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริตที่ไม่ได้ขออนุมัติจากมติที่ประชุม ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีได้รายงานกับ กลต. ว่าในช่วงปีที่ผ่าน กรรมการของ บมจ.แมเนเจอร์ฯ ไม่ได้มีการประชุมเรื่องดังกล่าว
นอกจากนี้ จำเลยที่ 1, 3 และ 4 ยังลงข้อความในเอกสารของบริษัททำบัญชี โดยไม่ครบถ้วน ไม่ตรงต่อความเป็นจริง ด้วยการไม่นำภาระการค้ำประกันหนี้ลงในรายการภาระหรือรายได้ของ บมจ.แมเนเจอร์ฯ เพื่อจัดส่งให้ ตลาดหลักทรัพย์ และ กลต. เพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์ที่ควรได้ เป็นการกระทำโดยทุจริต เพื่อประโยชน์ของ บมจ.เดอะเอ็มกรุ๊ปฯ ทำให้เกิดความเสียหาย กับผู้ถือหุ้นและกรรมการคนอื่นของ บมจ.แมเนเจอร์ฯ และธนาคาร กรุงไทย
ส่วนที่จำเลยทั้ง 4 ขอให้รอการลงโทษ ศาลเห็นว่า การกระทำของจำเลยทั้ง 4 ทำให้บริษัทต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันในเงินกู้ที่เป็นหนี้จำนวนมาก ทำให้บริษัท ผู้ถือหุ้น และกรรมการคนอื่นของบริษัท รวมทั้ง ธนาคารกรุงไทย ต้องได้รับความเสียหาย ในภาระผูกพันหนี้สินดังกล่าว ขณะที่ บมจ.แมเนเจอร์ฯ ต้องนำผลกำไรไปชดใช้หนี้สินแทน ส่วนที่จำเลยทั้ง 4 นำสืบว่า ธนาคารกรุงไทย ได้รับความเสียหาย เนื่องจากธนาคารยอมรับชำระหนี้จาก บมจ.แมเนเจอร์ฯ เพียง 259 ล้านบาท ส่วนที่เหลือธนาคารจะเรียกจากผู้ค้ำประกันรายอื่นนั้น ศาลเห็นว่า แม้การให้สินเชื่อดังกล่าวจะมี บมจ.แมเนเจอร์ฯ ทำสัญญาค้ำประกันไว้ แต่เมื่อธนาคาร กรุงไทย ไม่ได้รับชำระหนี้อย่างครบถ้วนสิ้นเชิง ก็ถือว่าธนาคารกรุงไทย ได้รับความเสียหายแล้ว ส่วนที่บริษัท และบุคคลอื่นจะยินยอมชำระหนี้ให้ธนาคารมากน้อยเพียงใดในภายหลังนั้น ไม่ได้หมายความว่าธนาคารกรุงไทยจะไม่ได้รับความเสียหาย ข้อนำสืบของจำเลยทั้ง 4 จึงไม่สมเหตุสมผล ไม่มีน้ำหนัก น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ความผิดตามฟ้องมีบทลงโทษให้จำคุก ตั้งแต่ 5–10 ปี และปรับเป็นเงินจำนวน 2 เท่าของราคาทรัพย์สิน แต่ไม่ต่ำกว่าจำนวน 5 แสนบาท ถือว่ากฎหมายได้บัญญัติอัตราโทษไว้สูง และ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ยังมีเจตนารมณ์ให้ลงโทษผู้กระทำผิดในข้อหาต่างๆ สถานหนัก ดังนั้น พฤติการณ์แห่งคดี จึงไม่มีเหตุให้รอการลงโทษจำเลยทั้ง 4
พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และ 3 มีความผิดฐานร่วมกันกระทำผิดต่อหน้าที่โดยทุจริตเป็นเหตุให้บริษัทเสียหาย โดยร่วมกันกระทำการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ , ร่วมกันไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารของบริษัท และร่วมกันทำบัญชีไม่ครบถ้วนไม่เป็นปัจจุบัน ไม่ตรงต่อความเป็นจริงเพื่อลวงให้บริษัท และผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์ การกระทำของจำเลยที่ 1 และ 3 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรม ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ และ ประมวลกฎหมายอาญา 83, 91 รวมจำคุก 17 กระทงละ 5 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 1 และ 3 เป็นเวลา 85 ปี
ส่วนจำเลยที่ 2 ลงโทษจำคุก 5 ปี จำเลยที่ 4 กระทำความผิดรวม 13 กระทง ลงโทษกระทงละ 5 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 4 เป็นเวลา 65 ปี จำเลยทั้ง 4 ให้การรับสารภาพเป็นโยชน์แก่การพิจารณาคดี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 1 และ 3 เป็นเวลา 42 ปี 6 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 จำคุก 2 ปี 6 เดือน และจำเลยที่ 4 จำคุก 32 ปี 6 เดือน แต่โทษสูงสุดในความผิดฐานดังกล่าว กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 20 ปี จึงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 , 3 และ 4 คนละ 20 ปี
โดยให้นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากคดีหมายเลขแดง อ.5068/2550 ที่หมิ่นประมาท พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี คดีหมายเลขแดง อ.1241/2550 ที่หมิ่นประมาทนาย ภูมิธรรม เวชชยชัย อดีตรองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย ที่ศาลพิพากษาจำคุก 6 เดือน และคดีหมายเลขแดง อ.3356/2552 ที่หมิ่นประมาท นาย นภดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย พ.ต.ท. ทักษิณ ที่ศาลพิพากษาจำคุก 6 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 ให้นับโทษต่อจากคดีที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ หมายเลขแดง อ.2318/2554 ศาลอาญา หมายเลขแดง อ.2990/2552 และคดีที่ศาลจังหวัดเชียงราย หมายเลขแดง อ.823/2551
จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้คุมตัวนายสนธิ ไปไว้ที่ห้องพักจำเลย โดยทนายความนายสนธิ ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพ มูลค่า 10 ล้านบาท เพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาคำร้องของศาลว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่
ต่อมาเวลา 18.00 น. มีรายงานว่าศาลพิจารณาให้ประกันตัวนายสนธิ รวมทั้งจำเลยที่ 3-4 ออกไป ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยื่นขอประจำตัวแต่อย่างใด.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น