วันนี้ (8 มี.ค.) ที่ห้องพิจารณา 613 ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีนายนำ และนางลักษณา โชติมนัส บิดา-มารดาน.ส.ปิยะธิดา หรือน้องฮุ่ย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะบริหารการเงินระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) เสียชีวิตจากการพลัดตกจากรถร่วมประจำทาง สาย 207 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายทวิม แสงเดช พนักงานขับรถประจำทางสาย 207, นายธนะสิทธิ์ วรโชติหิรัญศิริ ในฐานะนายจ้าง, นายฤกษ์ชัย เรืองกิตติยศยิ่ง เจ้าของรถ, บริษัท 207 เดินรถ จำกัด, นายเชาวน์ กระแสร์ชล ผู้ได้รับสัมปทานเดินรถ และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เป็นจำเลยที่ 1-6 เรื่องละเมิด เรียกค่าสินไหมทดแทนจำนวน 12,081,211 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากกรณีเมื่อคืนวันที่ 14 ก.ย.47 นายทวิมขับรถประมาทด้วยความเร็วทำให้ น.ส.ปิยะธิดาพลัดตกจากรถบริเวณแยกลำสาลี ศีรษะกระแทกพื้นอย่างรุนแรง และเสียชีวิตในที่สุด
คดีนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1, 2, 4, 5 และ 6 ร่วมกันจ่ายค่าสินไหมทดแทนคืนแก่โจทก์ 10,747,000 บาท และยกฟ้องจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 , 4 และ 6 ยื่นฎีกาว่าค่าเสียหายสูงเกินความจริง
ทั้งนี้ ศาลฎีกาได้ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2547 ขณะนายทวิม ขับรถเมล์สาย 207 จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก ไปมหาวิทยาลัยรามคำแหงบางนา โดยไม่ปิดประตูอัตโนมัติทำให้ น.ส.ปิยะธิดาถูกแรงเหวี่ยงพลัดตกจากรถเมล์ บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเวลาต่อมา เหตุเกิดที่แยกลำสาลี กทม. โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าขาดไร้อุปการะ เป็นเวลา 20 ปี โดยก่อนหน้านี้บริษัทประกันภัยได้จ่ายเงินแก่โจทก์ตามสัญญาประกันภัยแล้ว 750, 000 บาท
ปัญหาต้องวินิจฉัยว่า เหตุเกิดจากความประมาทของผู้ตายหรือไม่ เห็นว่าคดีนี้เกี่ยวข้องกับคดีอาญา จำต้องวินิจฉัยควบคู่กัน จำเลยที่ 1 รับสารภาพในคดีอาญาว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิต คดีแพ่งจึงจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงส่วนอาญารับฟังว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาท และเป็นผู้ควบคุมเครื่องยนต์โดยสาร ต้องรับผิดชอบเครื่องยนต์ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยและเกิดจากความประมาทของผู้ตายเอง จำเลยที่ 2 และ 4 ให้การว่า ผู้ตายประมาทเนื่องจากไม่จับราวบันได ส่วนจำเลยที่ 6 ให้การอีกว่า ผู้ตายได้กระโดดลงจากรถเอง คำให้การของจำเลยที่ 2 ,4 และ 6 ยังไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย เมื่อประตูรถเมล์เป็นสิ่งป้องกันมิให้เกิดอันตราย ขณะรถวิ่งประตูต้องปิด หากประตูเสียก็ต้องซ่อม แต่กลับไม่ดำเนินการซ่อม การที่ประตูเสียจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย แต่เป็นความประมาทของจำเลยที่1 และจำเลยอื่นๆ ทุกคน
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าค่าสินไหมสูงเกินความจริง เห็นว่า โจทก์ส่งผู้ตายเรียนมหาวิทยาลัยเอกชนจนถึงระดับชั้นปีที่ 4 มีค่าใช้จ่ายสูงกว่ามหาวิทยาลัยรัฐบาล ดังนั้น ค่าใช้จ่ายจึงเหมาะสม ส่วนค่าขาดไร้อุปการะ ศาลนับเวลา 20 ปี เป็นเวลาไม่นาน แต่ที่กำหนดรายได้อนาคต 46,000 บาทต่อเดือนสูงเกินไป เห็นควรกำหนด 40,000 ต่อเดือน รวมเป็นเงิน 9,600,000 บาท
พิพากษาว่า จำเลยที่1,2,4,5 และ 6 มีความผิดละเมิด จากการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จึงให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ค่าขาดไร้อุปการะเป็นเวลา 20 ปี รวมทั้งสิ้น 9,856,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันละเมิด และให้ออกหมายบังคับคดี คำบังคับคดี ไปยึดทรัพย์จำเลยมาชำระหนี้แก่โจทก์ต่อไป
ด้านนายนำ บิดาผู้ตาย กล่าวว่า ที่ผ่านมาก็สู้มาตลอด และยังทำใจไม่ได้กับการสูญเสียบุตรสาว เชื่อว่าคำพิพากษาของศาลวันนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ประกอบการและคนขับรถมีความรับผิดชอบชีวิตคนอื่นมากขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีรายได้น้อย ทั้งนี้ ในส่วนของกรมการขนส่งทางบก ที่กำกับดูแลอนุมัติใบขับขี่ น่าจะมีมาตรการกับคนขับรถที่ประมาทจนเป็นเหตุให้มีคนตาย โดยพิจารณายกเลิกใบขับขี่ และห้ามกลับมาขับรถอีกโดยเฉพาะขับรถนักเรียน
ด้านนายนำ บิดาผู้ตาย กล่าวว่า ที่ผ่านมาก็สู้มาตลอด และยังทำใจไม่ได้กับการสูญเสียบุตรสาว เชื่อว่าคำพิพากษาของศาลวันนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ประกอบการและคนขับรถมีความรับผิดชอบชีวิตคนอื่นมากขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีรายได้น้อย ทั้งนี้ ในส่วนของกรมการขนส่งทางบก ที่กำกับดูแลอนุมัติใบขับขี่ น่าจะมีมาตรการกับคนขับรถที่ประมาทจนเป็นเหตุให้มีคนตาย โดยพิจารณายกเลิกใบขับขี่ และห้ามกลับมาขับรถอีกโดยเฉพาะขับรถนักเรียน
แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น