เมื่อเวลา 12.00 น. (10 พ.ค.) นายรอยล จิตรดอน
ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) หรือ สสนก.
เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำล่าสุดว่ายังยืนยันว่า ปีนี้ฝนจะตกมากโดยมีปริมาณน้ำ
ฝนเท่ากับปี 2551 หรือประมาณ 1,500 มม.
มากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศไทยที่อยู่ที่ 1,300 มม.
แต่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ที่มีปริมาณฝนมากถึง 1,800 มม.
ปัจจุบันฝนเริ่มตกมากขึ้น ทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนสูง
โดยเฉพาะที่เขื่อนภูมิพล มีการไหลเข้ากว่า 30 ล้านลูกบาศก์เมตร
จากเดิมที่มีประมาณ 2-3 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่านั้น
ทั้งนี้คาดว่า สัปดาห์หน้าอาจมีฝนตกมากในภาคตะวันออกและภาคกลาง รวมถึงอันดามัน ซึ่งเป็นอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ สถานการณ์แบบนี้อาจทำให้มีฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ค. และไม่ทิ้งช่วงในเดือน กค-สค. เหมือนกับการได้รับอิทธิพลจากปรากฎการณ์เอลนิโญ กับลานินญ่า เหมือนในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดียังคงไม่สามารถบอกได้ว่า ปีนี้น้ำจะท่วมหรือไม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้สิ่งที่ไม่เคยเกิด สามารถที่จะเกิดขึ้นได้
สำหรับภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายรอยล กล่าวว่า ปริมาณฝนยังตกมากในภาคนี้ เพียงแต่ไม่เพียงพอต่อปริมาณการใช้น้ำ เพราะเกษตรกรหันมาทำเพาะปลูกในหน้าแล้งมากขึ้น และพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคอีสานอยู่นอกเขตชลประทานถึง 94 % ดังนั้นควรที่จะมีแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ด้วย รวมถึงต้องเลือกเพาะปลูกเฉพาะพืชที่ใช้น้ำน้อยทดแทน
ด้านการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ นายรอยล กล่าวว่า มองว่าจำเป็นต้องสร้าง เพื่อใช้กักเก็บน้ำ เนื่องจาก ปัจจุบัน ใจกลางพื้นที่ดังกล่าวมีน้ำท่วมต่อเนื่องมาแล้ว 2 ปี ขณะที่รอบ ๆ มีปัญหาภัยแล้ง และมีการขุดเจาะบ่อบาดาลทำให้พื้นที่ทรุดพังเสียหายอยู่แล้ว การสร้างเขื่อนจะทำให้สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 200 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยให้มีน้ำใช้สำหรับพื้นที่เพาะปลูก และลดปริมาณน้ำไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แต่ขณะเดียวกันการวางแผนสร้างเขื่อน ก็ต้องหาจุดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนา โดยนอกจากมีแผนการสร้างเขื่อนแล้ว ต้องมีแผนการอนุรักษ์ สร้างพื้นที่ป่าซึ่งอาจเป็นป่าเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย ที่สำคัญจะต้องให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่เป็นผู้ตัดสินใจ
แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th
ทั้งนี้คาดว่า สัปดาห์หน้าอาจมีฝนตกมากในภาคตะวันออกและภาคกลาง รวมถึงอันดามัน ซึ่งเป็นอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ สถานการณ์แบบนี้อาจทำให้มีฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ค. และไม่ทิ้งช่วงในเดือน กค-สค. เหมือนกับการได้รับอิทธิพลจากปรากฎการณ์เอลนิโญ กับลานินญ่า เหมือนในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดียังคงไม่สามารถบอกได้ว่า ปีนี้น้ำจะท่วมหรือไม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้สิ่งที่ไม่เคยเกิด สามารถที่จะเกิดขึ้นได้
สำหรับภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายรอยล กล่าวว่า ปริมาณฝนยังตกมากในภาคนี้ เพียงแต่ไม่เพียงพอต่อปริมาณการใช้น้ำ เพราะเกษตรกรหันมาทำเพาะปลูกในหน้าแล้งมากขึ้น และพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคอีสานอยู่นอกเขตชลประทานถึง 94 % ดังนั้นควรที่จะมีแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ด้วย รวมถึงต้องเลือกเพาะปลูกเฉพาะพืชที่ใช้น้ำน้อยทดแทน
ด้านการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ นายรอยล กล่าวว่า มองว่าจำเป็นต้องสร้าง เพื่อใช้กักเก็บน้ำ เนื่องจาก ปัจจุบัน ใจกลางพื้นที่ดังกล่าวมีน้ำท่วมต่อเนื่องมาแล้ว 2 ปี ขณะที่รอบ ๆ มีปัญหาภัยแล้ง และมีการขุดเจาะบ่อบาดาลทำให้พื้นที่ทรุดพังเสียหายอยู่แล้ว การสร้างเขื่อนจะทำให้สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 200 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยให้มีน้ำใช้สำหรับพื้นที่เพาะปลูก และลดปริมาณน้ำไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แต่ขณะเดียวกันการวางแผนสร้างเขื่อน ก็ต้องหาจุดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนา โดยนอกจากมีแผนการสร้างเขื่อนแล้ว ต้องมีแผนการอนุรักษ์ สร้างพื้นที่ป่าซึ่งอาจเป็นป่าเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย ที่สำคัญจะต้องให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่เป็นผู้ตัดสินใจ
แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น