วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ใช้จีโนมค้นหายีนต้านโรคในแตงกวา


สวทช. จับมือ ม.เกษตรและเอกชน ใช้เทคโนโลยีจีโนมค้นหายีนต้านโรคราน้ำค้างในแตงกวา ช่วยเกษตรกรลดความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีในยาฆ่าเชื้อรา

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันไทยส่งออกเมล็ดพันธุ์แตงกวากว่า 298 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อการบริโภคในประเทศรวมทั้งการนำไปแปรรูปใน อุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ทั้งด้านอาหาร และเครื่องสำอาง แต่ด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลต่อการระบาดของโรค โดยเฉพาะโรคราน้ำค้าง ที่ทำให้เกิดความสูญเสียของผลผลิต ซึ่งการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของเกษตรกรคือการพ่นยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งมีราคาแพง และเป็นอันตรายต่อทั้งเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาว สวทช. ภายใต้โปรแกรมวิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ จึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัทเจียไต๋ จำกัด นำเทคโนโลยีชีวภาพ มาใช้ในการพัฒนาสายพันธุ์แตงกวาต้านทานโรคราน้ำค้าง เบื้องต้นได้ทำงานวิจัยร่วมกันในโครงการ  “การสร้างแผนที่จีโนมและการค้นหาตำแหน่งยีนต้านทานโรคราน้ำค้างในแตงกวา” โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้แผนที่พันธุกรรมและทราบตำแหน่งของยีนต้านทานโรครา น้ำค้างในแตงกวา เพื่อใช้ในการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลในการปรับปรุงพันธุ์แตงกวาให้ต้านทาน โรคราน้ำค้างต่อไป โดยเครื่องหมายโมเลกุลต่อยีนต้านทานโรคราน้ำค้างจะช่วยให้การปรับปรุงพันธุ์ แตงกวาต้านทานโรคราน้ำค้างได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี การสร้างฐานความรู้ในครั้งนี้นอกจากจะได้เครื่องหมายโมเลกุลที่ใช้ในการคัด เลือกพันธุ์ต้านทานต่อโรคราน้ำค้างแล้ว ยังสามารถต่อยอดฐานความรู้ดังกล่าวในการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลต่อลักษณะ ที่สำคัญทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ได้แก่ ลักษณะผล รสชาติ หรือคุณสมบัติที่ตรงกับความต้องการของตลาดต่อไป.

แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th

0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Blog Archive

Design Downloaded from ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ รามคำแหง บางกะปิ | Free Textures | Web Design Resources