วันนี้ (14 ก.ค.) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง
กล่าวในรายการ”รัฐบาลยิ่งลักษณ์
พบประชาชน”ว่าสถานการณ์วิกฤติในยุโรปล่าสุดยังทรงตัว
ประเทศต่างๆที่ประสบปัญหายังคงต้องพยายามแก้ไขปัญหาอยู่
เห็นได้จากการประชุมผู้นำในยุโรปในการระดมสรรพกำลังและการเพิ่มทุน
ส่งผลบวกให้ความรู้สึกได้พอควร แต่ขณะเดียวกันประเทศต่างๆ
ดำเนินนโยบายอย่างรอบคอบให้ระบบเศรษฐกิจในประเทศพร้อมเผชิญปัญหาในยุโรป
ประเทศไทยเองก็ประกาศนโยบายไว้ในเรื่องของการรักษาเสถียรภาพ
เชื่อว่ามาตรการที่ทำมาแล้วเริ่มส่งผลดีต่อในประเทศ
ยังติดตามอยู่และติดตามด้วยความเป็นห่วงเป็นใย
แต่ยังไม่มีอะไรบ่งชี้ว่าจะลุกลามมีปัญหา
เพราะบอกแล้วว่าในยุโรปเองก็มีระบบเศรษฐกิจใหญ่
เราก็ต้องเตรียมตัวแต่ก็ต้องเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างกันและกัน
ประเทศคู่ค้า การค้าชายแดน และการค้าในระบบหลัก
ในส่วนของมาตรการที่ดำเนินการ มีธนาคารของรัฐที่อยู่ในความดูแลของรัฐบาล เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) ธนาคารเอสเอ็มอี ธนาคารออมสิน ที่ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ และองค์กรที่มีหน้าที่ในการค้ำประกันสินเชื่อก็ดูแลการค้ำประกันสินเชื่อ ต่างๆ องค์กรเหล่านี้มีความพร้อมในการดูแล
นายกิตติรัตน์ กล่าวอีกว่า สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆที่อาจส่งผลกระทบต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจเราก็มีการ ดูแล เช่น สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ อัญมณี ก็จะมีด้วยการแบ่งเป็นเซ็คเมนท์ การประชุมแยกหารือกัน ดูแลเพื่อให้ความสามารถในการแข่งขันดีขึ้น ส่วนการเปิดตลาดใหม่นั้นคิดว่าตลาดเดิมยังเติบโตดีอยู่แล้ว ส่วนทวีปแอฟริกาที่คาดว่ากำลังซื้อจะดีขึ้นในอนาคตก็ควรเอาใจใส่ ต้นเดือน ส.ค.นี้จะประชุมเอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าทีมไทยแลนด์
ทั้งนี้กรณีกรรมการผู้จัดการกองทุนไอเอ็มเอฟบอกว่าการเติบโตของไทยเป็น ตัววี โดยมองว่า ไทยโตได้มากกว่าร้อยละ 5 และปีหน้าอาจสูงกว่านั้น ถือว่าดี คือถ้าเป็นคนอื่นเขาก็มองโลกทั้งโลก เขามองประเทศไทยเกิดความเข้าใจว่าเรายังเป็นประเทศที่เติบโตได้ในท่ามกลาง ปัญหาวิกฤตยุโรป ทำให้เราเพิ่มความมั่นใจขึ้นด้วย
สำหรับกรณีนายกรัฐมนตรี ไปเยือนกัมพูชานั้น เป็นการเดินทางไปตามคำเชิญของกลุ่ม US-ASEAN Business Council เป็นนักธุรกิจอเมริกันและอาเซียนที่รวมกลุ่มไปทำงานเพื่อที่จะหาทางทำให้ ปริมาณของธุรกิจและเศรษฐกิจของอาเซียนและของสหรัฐอเมริกาเจริญเติบโตที่ดี ขึ้น ถือว่าเรื่องที่ดีกับประเทศหลายด้าน เพราะได้พบปะกับบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกที่เป็นชาวอเมริกัน รวมทั้งในอาเซียนด้วย ผู้นำของประเทศต่าง ๆ ก็จะให้ความสนใจ โดยนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ เดินทางไปด้วยตัวเอง มีประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของประเทศเมียนมาร์ รวมทั้งนางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาไปด้วย
เป็นโอกาสที่จะทำความเข้าใจและขอรับฟังข้อคิดเห็นต่าง ๆ จากนักธุรกิจเหล่านี้ นายกรัฐมนตรีได้ทำภารกิจทั้งทางด้านเศรษฐกิจและมี โอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในลักษณะทวิภาคีกับประธานาธิบดีเมียนมาร์ และนางฮิลารี่ด้วย คิดว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่ามาก สามารถทำธุรกิจร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกา แล้วก็อาเซียนรวมถึงประเทศไทยด้วย.
ในส่วนของมาตรการที่ดำเนินการ มีธนาคารของรัฐที่อยู่ในความดูแลของรัฐบาล เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) ธนาคารเอสเอ็มอี ธนาคารออมสิน ที่ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ และองค์กรที่มีหน้าที่ในการค้ำประกันสินเชื่อก็ดูแลการค้ำประกันสินเชื่อ ต่างๆ องค์กรเหล่านี้มีความพร้อมในการดูแล
นายกิตติรัตน์ กล่าวอีกว่า สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆที่อาจส่งผลกระทบต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจเราก็มีการ ดูแล เช่น สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ อัญมณี ก็จะมีด้วยการแบ่งเป็นเซ็คเมนท์ การประชุมแยกหารือกัน ดูแลเพื่อให้ความสามารถในการแข่งขันดีขึ้น ส่วนการเปิดตลาดใหม่นั้นคิดว่าตลาดเดิมยังเติบโตดีอยู่แล้ว ส่วนทวีปแอฟริกาที่คาดว่ากำลังซื้อจะดีขึ้นในอนาคตก็ควรเอาใจใส่ ต้นเดือน ส.ค.นี้จะประชุมเอกอัครราชทูตที่เป็นหัวหน้าทีมไทยแลนด์
ทั้งนี้กรณีกรรมการผู้จัดการกองทุนไอเอ็มเอฟบอกว่าการเติบโตของไทยเป็น ตัววี โดยมองว่า ไทยโตได้มากกว่าร้อยละ 5 และปีหน้าอาจสูงกว่านั้น ถือว่าดี คือถ้าเป็นคนอื่นเขาก็มองโลกทั้งโลก เขามองประเทศไทยเกิดความเข้าใจว่าเรายังเป็นประเทศที่เติบโตได้ในท่ามกลาง ปัญหาวิกฤตยุโรป ทำให้เราเพิ่มความมั่นใจขึ้นด้วย
สำหรับกรณีนายกรัฐมนตรี ไปเยือนกัมพูชานั้น เป็นการเดินทางไปตามคำเชิญของกลุ่ม US-ASEAN Business Council เป็นนักธุรกิจอเมริกันและอาเซียนที่รวมกลุ่มไปทำงานเพื่อที่จะหาทางทำให้ ปริมาณของธุรกิจและเศรษฐกิจของอาเซียนและของสหรัฐอเมริกาเจริญเติบโตที่ดี ขึ้น ถือว่าเรื่องที่ดีกับประเทศหลายด้าน เพราะได้พบปะกับบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกที่เป็นชาวอเมริกัน รวมทั้งในอาเซียนด้วย ผู้นำของประเทศต่าง ๆ ก็จะให้ความสนใจ โดยนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ เดินทางไปด้วยตัวเอง มีประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของประเทศเมียนมาร์ รวมทั้งนางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาไปด้วย
เป็นโอกาสที่จะทำความเข้าใจและขอรับฟังข้อคิดเห็นต่าง ๆ จากนักธุรกิจเหล่านี้ นายกรัฐมนตรีได้ทำภารกิจทั้งทางด้านเศรษฐกิจและมี โอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในลักษณะทวิภาคีกับประธานาธิบดีเมียนมาร์ และนางฮิลารี่ด้วย คิดว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่ามาก สามารถทำธุรกิจร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกา แล้วก็อาเซียนรวมถึงประเทศไทยด้วย.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น