วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

"จาตุรนต์"แถลงร่ายยาวอัดศาลรธน.วางหมากกลซับซ้อน


วันนี้ (14 ก.ค. ) ที่โรงแรมโกลเด้นทิวลิป  นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย แถลงว่า  ตนขอแสดงความเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า พอได้ยินในลักษณะแบบนี้มาบ้าง และตนเคยแสดงความเห็นทำนองนี้มาแล้ว บางคนอาจจะแปลกใจว่าทำไมความเห็นไม่ตรงกับหลายฝ่าย แต่ความเห็นที่ตนจะเสนอนี้เป็นความเห็นที่ต่อเนื่องและสอดคล้องกับที่ตนแสดง ความเห็นมาตลอด
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญเริ่มสั่งมาที่รัฐสภาให้ชะลอการลงมติ ตนแสดงความเห็นว่าเป็นการเริ่มต้นรัฐประหารโดยตุการภิวัตน์ การวินิจฉัยวานนี้( 13 ก.ค.) เป็นกระบวนการตุลาการภิวัตน์ เพียงแต่สิ่งที่เกิดไม่ได้จัดการกับรัฐบาลโดยตรง แต่ไปจัดการกับระบบหรือกติกา  เท่ากับว่าถ้าขบวนการเดินต่อไปอาจจะเกิดอะไรกับรัฐบาลก็ได้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากผลิตผลของการรัฐประหาร โดยตั้งคนของตนเองและไปทำประชามติแบบมีเงื่อนไขบังคับประชาชนไม่เป็น ประชาธิปไตย ทำให้เกิดวิกฤติของประเเทศหลายครั้ง
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า จากปัญหาที่ผ่านมาจึงมีความพยายามจะแก้รธน.นี้ให้เป็นประชาธิปไตย โดยผ่่านประชาชนที่จะเป็นคนแก้และสุดท้ายก็ให้ลงประชามติ เราจะได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แต่ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นการอ้างประชาชนมากีดขวางการแก้ไขรธน.คำ วินิจฉัยวานนี้มีเนื้อหาขัดต่อรธน. ฉวยโอกาสแก้ไขเพิ่มเติมตามอำเภอใจ ใช้ความเห็นไม่มีเหตุผลไม่มีบทบัญญัติในรธน. รองรับ กลายเป็นรธน. มั่วนิ่มโดยศาลรัฐธรรมนูญอาศัยความซับซ้อนสร้างความสับสนให้ประเทศวุ่นวาย ตั้งแต่ร้องคัดค้านจนถึงวานนี้เป็นกระบวนการขัดขวางรธน.ประชาธิปไตยเพื่อ รักษารธน.ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและแก้ไขไม่ให้เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น สร้างเครื่องมือ เกราะคุ้มกันให้รธน. ปิดโอกาสช่องทางแก้ไขปัญหาพื้นที่ฐานของประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ทำให้เกิดวิกฤติของประเทศต่อไปและอาจพัฒนาไปในทางเลวร้ายยิ่งขึ้น เพราะรธน. ฉบับนี้ไม่เป็นประชาธิปไตย การแก้ไขต้องแก้ทั้งฉบับ
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า จากคำวินิจฉัยข้อแรกศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องม.68 ในส่วนที่ทราบหรือเห็นเหตุการณ์ว่ามีใครล้มล้างประชาธิปไตยให้ร้องต่ออัยการ สูงสุด มาเป็นว่าสามารถยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ เป็นการตีความในรธน.ใหม่ เป็นการแก้ไขรธน.เพิ่มสิทธิผู้ร้องสามารถให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญทำไปมากกว่านั้นคืออาศัยม.68 เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและวินิจฉัยร่างรธน. ขยายอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบวินิจฉัยร่างรธน.รวมถึงการตัดสินว่าใคร จะแก้รธน.ในเรื่องใดได้หรือไม่ เป็นการเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญ การขยายอำนาจเป็นการแก้ไขเพิ่มในรธน.เพราะรธน.ปัจจุบันไม่มีบทบัญญัติให้ศาล รัฐธรรมนูญมีอำนาจ จึงแก้ให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาก้าวก่ายแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติ เป็นการทำลายแบ่งแยกอำนาจสถาปนาให้ตนเองอยู่เหนืออำนาจนิติบัญญัติ การวินิจฉัยสร้างปัญหาต่อการแก้ไขรธน. ตามที่เราสามารถตีความได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญได้ขัดขวางการแก้ไขรธน.อ้าง ประชาชนว่าต้องให้ประชาชนลงประชามติ มีลักษณะเป็นการให้ความเห็นที่กลายเป็นคำวินิจฉัยและมีผลผูกพันองค์กรอื่นๆ ต่อไปทั้งที่เป็นการให้ความเห็นที่ไม่มีบทบัญญัติรองรับ เป็นการแก้รธน.ตามอำเภอใจ
คำวินิจฉัยนี้ไม่น่ายอมรับกันเลย เหมือนปล้นแล้วโดนเผาบ้าน มาคราวนี้โดนปล้นแล้วไม่เผาบ้านเราก็รู้สึกดีใจว่าบ้านไม่โดนเผา แต่สักพักจะรู้ว่าบ้านเราถึงไม่ถูกเผาแต่ข้าวของก็หายไปหมดไม่เหลืออะไร
ผู้สื่อข่าวถามว่าทางพรรคเพื่อไทยจะเดินตามแนวทางคำวินิจฉัยของศาลรัฐ ธรรมนูญหรือไม่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ตนมองว่าประเทศไทยต้องการรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยจริงๆ ดังนั้นตนสนับสนุนให้พรรคเพื่อไทยเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับ ส่วนที่ศาลรัฐธรรมนูญเสนอให้ประชามติทั้งฉบับ นั้นเป็นการวางหมากให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเป็นไปได้ยาก และตนมองว่าหากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 15-20 ปี  แต่ประเทศไทยต้องการประชาธิปไตยจริงๆ แล้ว
ดังนั้นตนเห็นว่าหากจะดำเนินการตามศาลรัฐธรรมนูญ ที่ระบุให้ทำประชามติก่อนนั้น  มี 3 วิธี คือ ทำประชามติก่อนโหวตวาระ 3 , ทำประชามติหลังโหวตวาระ 3 และทำประชามติ หลังจากที่ส.ส.ร.แก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ส่วนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ที่ค้างอยู่ในระเบียบวาระประชุม นั้นเห็นว่าไม่ควรรีบตัดสินใจถอดร่างออก   
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า มองช่องทางแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยไม่ต้องใช้เวลานานจะมีทางไหนได้บ้าง นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ตนมองคร่าวๆ มี 2-3 ทาง  คิดวิธีการทำประชามติ,  การแก้รัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตราเพื่อจำกัดอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน ให้อยู่ในร่องในรอย ส่วนจะทำอะไรก่อนหลังต้องหารือถึงวิธีการในรายละเอียด เพราะเรื่องนี้วางหมากกลเอาไว้แบบซับซ้อน  
ส่วนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะเกิดปัญหาใด และศาลรัฐธรรมนูญจะต้องรับผิดชอบอะไรหรือไม่ อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า ในส่วนของคณะตุลาการ ขณะนี้ประชาชนยื่นถอดถอน แต่วิธีนี้เป็นไปได้ยาก เนื่องจากอำนาจการถอดถอน โดย ส.ว.มีความอุปถัมภ์ซึ่งกันระหว่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่หากจะให้ยุบศาลมีความเป็นไปได้ทางเดียวคือการแก้ไขรธน.ในเรื่องที่มาของ ศาลรัฐธรรมนูญ
เมื่อถามว่าจะเสนอให้ยุบศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ตนเคยกล่าวไปในการปราศรัยหาเสียงแล้ว แต่ต้องศึกษาในรายละเอียดถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น ว่าร้ายแรงแค่ไหน ในขั้นเร่งด่วนนี้ ควรจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อจำกัดอำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อถามต่อว่าก่อนหน้านี้พรรคเพื่อไทยไม่ยอมรับในองค์อำนาจของตุลาการศาล รัฐธรรมนูญ
เมื่อคำวินิจฉัยซึ่งส่วนหนึ่งเป็นความเห็น จะยอมรับหรือไม่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า  ตามรัฐธรรมนูญระบุว่าคำวินิจฉัยของศาล มีผลผูกพันต่อทุกองค์กร ดังนั้น แม้ว่าจะไม่ยอมรับ ไม่เห็นด้วย ก็ต้องปฏิบัติตาม.

0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Blog Archive

Design Downloaded from ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ รามคำแหง บางกะปิ | Free Textures | Web Design Resources