นายบุณยเกียรติ ชี้แจง ว่า มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการกฎหมายรองรับสำหรับการจัดการเลือกตั้งส.ส.ร.ตามมาตรา291/5 วรรคสี่ ว่าให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตมาดำเนินการบังคับใช้จะมีปัญหา เพราะยังไม่มีกฎหมายกำหนดอำนาจในการจัดการเลือกตั้งหลายประเด็น เช่น การลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า การลงคะแนนนอกราชอาณาจักร การกำหนดค่าใช้จ่ายของผู้สมัคร การหาเสียง การคัดค้านการเลือกตั้ง คุณสมบัติของผู้สมัครส.ส.ร. เป็นต้น
นายสุทัศน์ เงินหมื่น ส.ส.บัญชีรายชื่อ กมธ.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเห็นด้วยเพราะจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องออกกฎหมายมารองรับ เพราะส.ส.ร.ไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจแทนประชาชนเหมือนส.ส.แต่เข้ามาทำหน้าที่เฉพาะกิจเท่านั้น ทำให้อาจมีความจำเป็นต้องออกกฎหมายใหม่ และใช้กฎหมายเลือกตั้งส.ส.มาเทียบเคียงเพื่อให้กกต.ออกระเบียบไม่ได้ ดังนั้นทางที่ดีควรให้ฝ่ายข้าราชการประจำของกกต.ไปหารือกับกกต.ทั้ง5คน เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการกำหนดการเลือกตั้งส.ส.ร.แล้วค่อยมาให้ข้อมูลกับกมธ.อีกครั้ง
ขณะที่นายนิพนธ์ ฮะกีมี รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า เมื่อมาตรา291/5วรรคสี่ กำหนดให้กกต.ออกระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งส.ส.ร.โดยนำวิธีการเลือกตั้งส.ส.แบบเบ่งเขตมาบังคับใช้โดยอนุโลมแล้ว ก็ไม่มีปัญหาที่ต้องกังวลเกี่ยวกับกฎหมายรองรับการเลือกตั้งส.ส.ร.เพราะเท่ากับว่าระเบียบดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามรธน.ไม่ต้องไปออกเป็น พ.ร.บ.ที่สำคัญการเลือกตั้งส.ส.ร.ไม่มีความจำเป็นต้องไปจำกัดขอบเขตมากเท่ากับการเลือกตั้งส.ส.เพราะส.ส.ร.เป็นเพียงบุคคลที่เข้ามาทำหน้าที่ยกร่างรธน. ไม่ได้เข้ามาเป็นตัวแทนประชาชนเพื่อใช้อำนาจอธิปไตยในส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติเหมือนกับส.ส. โดยเฉพาะการแก้ไขเพิ่มเติมรธน. ปี 50 เมื่อปีพ.ศ.54 โดยให้กกต.มีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งส.ส.ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญเพื่อใช้บังคับกับการเลือกตั้ง และให้ข้อกําหนดตามประกาศของกกต.ใช้บังคับแทนบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.
“การให้อำนาจกกต.ออกระเบียบการเลือกตั้งส.ส.ร.ตามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังเบากว่าการให้อำนาจกกต.ออกระเบียบเมื่อปี2554 เพราะในปี2554 เป็นการให้อำนาจกกต.กำหนดเนื้อหาได้เองและเนื้อหาดังกล่าวให้มีผลบังคับใช้เทียบเท่ากับพ.ร.บ.เลือกตั้งด้วยซ้ำ”นายนิพนธ์ กล่าว
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองประธานกมธ. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนเกรงว่าการออกระเบียบประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งส.ส.ร.จะดำเนินการไม่ทันกับกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ภายใน 75วัน ที่ต้องให้ส.ส.ร.ที่สำคัญการกำหนดให้นำกฎหมายเลือกตั้งฉบับปัจจุบันมาบังคับใช้อนุโลมจะมีปัญหาเพราะกฎหมายดังกล่าวเป็นการอ้างอิงการเลือกตั้งส.ส.ที่ให้สมาชิกพรรคการเมืองสามารถลงสมัครส.ส.ได้ตรงนี้เท่ากับว่าผู้จะสมัครส.ส.ร.สามารถเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้หรือไม่ ดังนั้นควรมีระยะเวลาพอสมควรภายหลังจากร่างแก้ไขรธน.ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้กกต.ไปดำเนินการยกร่างระเบียบให้มีความรอบคอบก่อนให้มีผลบังคับใช้
ท้ายยที่สุดแล้วที่ประชุมกมธ.เสียงข้างมากให้คงมาตรา2ไว้ตามเดิม แต่กมธ.ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ได้ขอสงวนความเห็นไว้ไปอภิปรายในการประชุมรัฐสภาวาระ2 ต่อไป ทั้งนี้ นายสามารถ ได้มอบหมายให้ กกต. และกฤษฎีกา ไปทำการบ้านร่วมกัน และให้กกต.ไปหารือกับกกต.ทั้ง5คน แล้วส่งเป็นรายงานเข้ามาที่กมธ.ว่าสิ่งใดที่ กกต.สามารถทำได้ และไม่ได้บ้าง และในวันที่22มี.ค.เวลา13.30น.กมธ.จะเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรธน.จากภาคส่วนอื่นๆ โดยเริ่มจากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงตัวแทนภาคประชาชนผู้เสนอร่างแก้ไขรธน.ทั้ง3ฉบับ มาให้ข้อเสนอต่อกมธ.ด้วย
แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น