วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

“ยิ่งลักษณ์”นำทีม ครม.เสนองบ 2.44 ล้านล้านบาท ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร


วันนี้ (21 พ.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556  วงเงิน 2.44 ล้านล้านบาท ในวาระที่หนึ่ง โดยมีนายสมศักดิ์  เกียรติสุรนนท์  ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้นำเสนอร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ว่า รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เป็นจำนวนไม่เกิน 2,400,000,000,000 บาท นับแต่รัฐบาลได้เข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 23ส.ค.54  เป็นเวลาที่ประเทศไทยเผชิญกับมหาอุทกภัยครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง รัฐบาลได้เร่งแก้ไขปัญหา ทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว และกำหนดแนวทางและมาตรการเพื่อจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและวิกฤต ต่างๆ  แม้ผลกระทบจากสถานการณ์มหาอุทกภัยจะได้คลี่คลายลงและกลับเข้าสู่สภาวะปกติ แล้ว รัฐบาลก็ยังตระหนักอยู่เสมอว่า ปัจจัยเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศยังคงมีอยู่ ดังนั้น ร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯปี56 จึงกำหนดเป็นนโยบายงบประมาณแบบขาดดุลในลักษณะที่ลดลงต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 55 เพื่อเข้าสู่งบประมาณสมดุลในอนาคต
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า สำหรับภาวะเศรษฐกิจทั่วไป เศรษฐกิจไทยในปี 55 มีแนวโน้มขยายตัวที่ ร้อยละ 5.5 - 6.5 อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.5 - 4.0 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 56 คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.0 - 5.0 อัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 3.8 โดยปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญยังคงมาจากอุปสงค์ภายในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี56 รัฐบาลประมาณการว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิทั้งสิ้น จำนวน 2,197,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  ร้อยละ 6.3 จากปีก่อน และเมื่อหักการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   ตามพ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 42 จำนวน 97,900 ล้านบาท แล้ว คงเหลือเป็นรายได้สุทธิที่สามารถนำมาจัดสรรเป็นรายจ่ายของรัฐบาล จำนวน 2,100,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า สำหรับการบริหารจัดการรายจ่ายรัฐบาลได้กำหนดแนวทางการจัดทำงบประมาณและ นโยบายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 56 จำนวน 4 เรื่อง คือ 1.ให้ความสำคัญกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา โดยเฉพาะนโยบายสำคัญเร่งด่วน 16 ข้อ และการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ 2.การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานควบคู่กับการพิจารณา แหล่งเงินอื่น  3.ส่งเสริมการสร้างศักยภาพทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น  4.ดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ และเข้าสู่สมดุลในอนาคต   ปัจจุบันฐานะเงินคงคลัง ณ วันที่ 10 พ.ค. 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 193,441 ล้านบาท.
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า สำหรับสาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 2,400,000 ล้านบาท (เป็นการดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล โดยใช้จ่ายจากรายได้สุทธิจำนวน 2,100,000 ล้านบาท) และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 300,000 ล้าน วงเงินงบประมาณดังกล่าวจำแนกเป็นรายจ่ายประจำ จำนวน 1,901,911.7 ล้านบาท  หรือคิดเป็นร้อยละ 79.2 ของวงเงินงบประมาณ รายจ่ายลงทุน จำนวน 448,938.8 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.7 ของวงเงินงบประมาณ และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 49,149.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.1 ของวงเงินงบประมาณ.
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณไว้ 8 ยุทธศาสตร์และ 1 รายการค่าดำเนินการภาครัฐ ได้แก่  1.ยุทธศาสตร์การสร้างรากฐานการพัฒนาที่สมดุลสู่สังคม จำนวน 491,482 ล้านบาท  เพื่อดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนสำคัญ ดังนี้1. การสร้างความปรองดองสมานฉันท์และฟื้นฟูประชาธิปไตย  จำนวน 413 ล้านบาท 2.การป้องกัน  ปราบปราม  และบำบัดรักษายาเสพติด  ได้จัดสรรงบประมาณ จำนวน 11,582.8 ล้านบาท 3. การป้องกันและปราบปรามการทุจริต  จำนวน 420.5 ล้านบาท 4.การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ จำนวน 43,402.4 ล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงการบริหารจัดการโครงข่ายลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในการป้องกันอุทกภัยและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง  5.การแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 20,731.9 ล้านบาท 6  การฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาค จำนวน 4,117.5 ล้านบาท
7.การลดภาระค่าครองชีพ ส่งเสริมและรักษาเสถียรภาพราคาพลังงาน จำนวน 1,459.7 ล้านบาท 8. การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน จำนวน 68,137.2 ล้านบาท 9. การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน จำนวน 83,517.4 ล้านบาท  10.การเสริมสร้างเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร จำนวน 40,152.2 ล้านบาท 11. การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการเกษตร จำนวน 1,650 ล้านบาท 12. การเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว จำนวน 8,662.2 ล้านบาท 13. การพัฒนาศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 1,773.3 ล้านบาท 14.การพัฒนาระบบประกัน จำนวน 196,485 ล้านบาท           15 การสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการศึกษา จำนวน  8,875.9 ล้านบาท 16.การส่งเสริมการปฏิรูปการเมือง จำนวน 101 ล้านบาท
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า 2.ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงแห่งรัฐ จำนวน 204,537.1  ล้านบาท เพื่อดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้ 1.การเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์  จำนวน 12,506.8 ล้านบาท 2. การเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศ จำนวน 177,257.4 ล้านบาท  3. การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ จำนวน 14,772.9 ล้านบาท 3.ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน จำนวน 228,395.8 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้ 1.การบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาคให้เกิดความยั่งยืน จำนวน 26,189.8 ล้านบาท 2. การส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตและสร้างมูลค่าภาคการเกษตร  จำนวน 63,345 ล้านบาท 3. การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม จำนวน 6,674.4 ล้านบาท 4.การเพิ่มประสิทธิภาพภาคการตลาด การค้าและการลงทุน จำนวน 6,654.1 ล้านบาท   5. การพัฒนาการท่องเที่ยวและบริการ จำนวน 2,903.6 ล้านบาท 6. การส่งเสริมและพัฒนากีฬาและนันทนาการ  จำนวน 9,186.9 ล้านบาท7.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 108,639.1  ล้านบาท  8.การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จำนวน 694.9  ล้านบาท 9.การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 4,108  ล้านบาท
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า 4.ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต และความเท่าเทียมกันในสังคมจำนวน 625,443.3 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้1.การสนับสนุนการจัดการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 88,881.4 ล้านบาท  2. การสร้างและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงและเป็นธรรม จำนวน 372,232.4 ล้านบาท3. การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานแรงงาน จำนวน 12,302.7 ล้านบาท   4.การพัฒนาด้านสาธารณสุข จำนวน 118,212.2 ล้านบาท 5.การอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม  จำนวน 9,259.7 ล้านบาท 6.การเสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม จำนวน 20,332.9 ล้านบาท 7 การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติภัยทางถนน จำนวน 4,222 ล้านบาท
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า 5.ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 57,682.1 ล้านบาท  เพื่อดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้ 1.การอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จำนวน 23,879.4 ล้านบาท  2.   การจัดการสิ่งแวดล้อม จำนวน 3,405.7 ล้านบาท 3.การจัดการทรัพยากรน้ำ จำนวน 11,481.3 ล้านบาท  4.การจัดการภัยพิบัติ จำนวน 18,808.3 ล้านบาท 5.การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ จำนวน 107.4 ล้านบาท 6.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม จำนวน 19,636.3 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้1.การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จำนวน 8,708.8  ล้านบาท  2.การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย จำนวน 10,927.5  ล้านบาท 
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า  7.ยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จำนวน 7,982.2 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานการรักษา พัฒนาและคุ้มครองสิทธิคนไทยและผลประโยชน์ของประเทศ 8.ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีจำนวน 330,686.4  ล้านบาท เพื่อดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้1.การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 45,194.8 ล้านบาท 2.การส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 149,534.4 ล้านบาท 3.การส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จำนวน 18,505.6 ล้านบาท 4.การสนับสนุนการจัดการของรัฐสภา ศาล และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ จำนวน 37,668.2 ล้านบาท 5.การพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม จำนวน 79,783.4 ล้านบาท 9. รายการค่าดำเนินการภาครัฐ จำนวน 434,154.8 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้1.การบริหารเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 76,700 ล้านบาท 2.การบริหารบุคลากรภาครัฐ ได้จัดสรรงบประมาณ จำนวน 179,507 ล้านบาท  3. การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ จำนวน 177,947.8 ล้านบาท
“เชื่อมั่นว่าร่างพ.ร.บ. ที่นำเสนอได้แสดงให้เห็นถึงเจตนาของรัฐบาลในการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายเป็น เครื่องมือสำคัญ เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่สำคัญของชาติให้เกิดผล เป็นรูปธรรม และพัฒนาสังคมไทยให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองและแข่งขันในเวทีโลกได้ รวมทั้งเกิดความยั่งยืนในการพัฒนาประเทศทุกภาคส่วน บนพื้นฐานของความพอเพียงในระยะยาวโดยคำนึงถึงความอยู่ดีมีสุขและประโยชน์ที่ จะตกอยู่กับประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศเป็นสำคัญ จึงหวังว่าสมาชิกผู้ทรงเกียรติจะได้ให้การสนับสนุนและพิจารณารับหลักการของ ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้”นายกรัฐมนตรี กล่าว


แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th



0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Blog Archive

Design Downloaded from ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ รามคำแหง บางกะปิ | Free Textures | Web Design Resources