วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2555 เวลา 21:37 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคประชาธิปัตย์ว่า เมื่อเวลา 08.00 น. วันนี้ (7
ธ.ค.) ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
ชำนาญการพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ
(ดีเอสไอ) ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดพนักงานสอบสวนของคดีดังกล่าวได้เดินทางมายัง
พรรคประชาธิปัตย์
เพื่อนำหนังสือเชิญพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 12
ธ.ค.55 ให้กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
อดีตนายกรัฐมนตรี โดยนัดหมายเวลา 13.30 น. และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ
ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์
อดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ) เวลา 14.30
น.ในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเล็งเห็นผล กรณีการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง
โดยนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ได้เข้ารับหนังสือเชิญเมื่อเวลา 08.15 น.
และพูดคุยกับร.ต.อ.ปิยะ ที่ห้องประชุมชั้น 2 ตึกมูลนิธิควง อภัยวงศ์ นาน 10
นาที
สำหรับหนังสือเชิญของดีเอสไอนัดหมายให้นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ไปรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 12 ธ.ค.นี้ แต่กลับพิมพ์พ.ศ.ผิดเป็น 2553 และไม่ได้แจ้งว่าบุคคลทั้งสองกระทำผิดอย่างไร โดยอ้างคำสั่งศาลว่าได้พิพากษาว่านายพัน คำกอง เสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ซึ่งในทางคดีมีหลักฐานตามสมควรน่าเชื่อว่าบุคคลทั้งสองได้กระทำความผิดในคดี ดังกล่าว และการเชิญเข้าพบพนักงานสอบสวนอยู่ในดุลยพินิจที่จะดำเนินการตามมาตรา 134 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยถือว่าไม่มีเหตุที่จะขอศาลออกหมายขัง โดยผู้ลงชื่อคือ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ต่อมา นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ได้ร่วมแถลงข่าว โดย นายสุเทพ กล่าวว่า คาดการณ์อยู่แล้วว่า จะถูกตั้งข้อหาในช่วงปิดสมัยประชุมสภา เพราะก่อนหน้านี้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี พูดเรื่องนี้เป็นระยะ ดังนั้นเมื่อทราบว่าดีเอสไอตั้งข้อกล่าวหา ตนจึงโทรศัพท์ถึงนายธาริต นัดหมายให้นำหมายเชิญมาให้ที่พรรคประชาธิปัตย์ ในวันนี้ (7 ธ.ค.) แต่นายธาริต ไม่มาด้วยตัวเอง กลับส่งพนักงานชั้นผู้น้อยมาแทน ทั้งนี้ขอขอบคุณนายธาริต ที่ไม่ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจที่มาปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ตนเชื่อว่าการทำเรื่องมีความตั้งใจจะทำให้เป็นเรื่องการเมือง โดยพุ่งมาที่ตนและนายอภิสิทธิ์ แต่เราทั้งสองจะไปมอบตัวและรับทราบข้อกล่าวหาและจะต่อสู้คดีตามกระบวนการ ยุติธรรม เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามขั้นตอนต่อไป
นายสุเทพ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาตนและนายอภิสิทธิ์เคยให้ปากคำกับดีเอสไอและเจ้าหน้าที่ตำรวจมาแล้ว หลายรอบ และตนได้ส่งสำเนาคำสั่งที่ศอฉ.สั่งการกับเจ้าหน้าที่ระหว่างการแก้ปัญหาการ ก่อการร้าย ช่วงปี 52-53 ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษมาแล้ว และยืนยันไปแล้วว่าทุกคำสั่งตนเป็นผู้ลงนามแต่เพียงผู้เดียว นายอภิสิทธิ์ ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการลงนามคำสั่ง เพราะท่านเป็นนายกฯ และตั้งให้ตนเป็นผอ.ศอฉ. มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้นนายอภิสิทธิ์ ไม่ควรกลายเป็นผู้ต้องหาร่วมกับตน แต่มีหลายคนพูดว่าดำเนินคดีกับตนเพียงคนเดียวไม่เพียงพอที่จะต่อรองในเรื่อง กฎหมายล้างผิด จึงต้องลากนายอภิสิทธิ์ เข้ามาเป็นจำเลยด้วย แต่ขอยืนยันว่าถ้าจะนำเรื่องนี้มาเป็นข้อต่อรองบีบบังคับเราสองคนให้เห็นดี เห็นงามกับกฎหมายล้างผิด เราไม่เห็นด้วย ยอมติดคุกดีกว่าที่จะเห็นคนเหล่านี้อาศัยเสียงข้างมากมากดขี่น้ำใจคนไทย และทำลายระบบนิติรัฐ
“ขอยืนยันอีกครั้งว่าแม้ข้อกล่าวหานี้จะมีโทษสูงสุดคือประหารชีวิต ถ้าพวกผมแพ้คดียินดีที่จะรับโทษไม่ยอมให้บ้านเมืองเสียหายเป็นอันขาด อย่ามาเสียเวลาต่อรองกับพวกผม เพราะผมไม่ยอมเป็นอันขาดและจะต่อสู้เคียงข้างกับประชาชนทั้งประเทศ ”นายสุเทพ กล่าว
ด้าน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในหนังสือเชิญให้ถ้อยคำยังไม่มีการะบุรายละเอียดว่าพวกตนผิดอะไรและผิดอย่าง ไร เพียงแต่บอกว่าทำความผิดในคดีดังกล่าว ทั้งที่เป็นสิทธิที่ตนจะได้รับทราบ ทั้งนี้ก่อนวันที่ 12 ธ.ค. ตนมีกำหนดการเดินทางไปต่างประเทศล่วงหน้า และจะเดินทางกลับมาถึงกทม. ในวันที่ 12 ธ.ค. และในวันที่ 13 ธ.ค. กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้เชิญตนไปให้ถ้อยคำในคดีเงินบริจาคน้ำท่วมของพรรคประชาธิปัตย์ ตนจึงแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่เดินทางมาว่า ในวันที่ 13 ธ.ค. เวลา 13.30 น. ตนและนายสุเทพ จะเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหา หลังจากนั้นจะได้ให้ถ้อยคำในคดีต่าง ๆ ต่อ โดยขอให้ดีเอสไอรวบรวมคดีต่าง ๆ มาในวันเดียวกันเลย นอกจากนี้ตนยังบอกกับเจ้าหน้าที่ด้วยว่า ตนอยากทราบรายชื่อคณะกรรมการสอบสวนในเรื่องนี้ที่แต่งตั้งโดยร.ต.อ.เฉลิม และนายธาริต เพื่อจะได้ทราบถึงแนวทางในการดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า การที่อธิบดีดีเอสไอ แถลงข่าวลงลึกไปในเนื้อหาสาระ โดยพูดถึงเหตุการณ์เมื่อปี 2553 ถือว่าเป็นการแถลงที่ไม่ครบถ้วน ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด ตนอยากเรียนว่า การปฏิบัติหน้าที่ของตนและนายสุเทพ เป็นไปตามโครงสร้างอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ในกฎหมายการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน เรามอบนโยบายให้ผู้ปฏิบัติว่าไม่มีการสลายการชุมนุม และในคำสั่งบ่งชัดว่าให้ปฏิบัติงานโดยหลีกเลี่ยงการเสี่ยงให้เกิดความสูญ เสียชีวิตประชาชน ความจริงนายธาริต น่าจะทราบดี เพราะเป็นคนรับมอบนโยบายนี้ และเป็นกรรมการศอฉ.อยู่ด้วย ส่วนคดีของนายพัน คำกอง ประชาชนคงมองออกว่าคดีนี้มีเจตนาฆาตกรรมหรือไม่ แต่เราทั้งสองพร้อมให้ความร่วมมือกับดีเอสไอ และจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่หนีไปไหน จะใช้สิทธิตามกฎหมาย เพราะเมื่อเราทำหน้าที่เราก็รู้ตลอดว่ามีความเสี่ยง เพียงแต่เรามั่นใจในเจตนาอันบริสุทธิ์ที่จะทำให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติ โดยไม่มีการสลายการชุมนุม
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่นายธาริต บอกว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมนั้น ตนอยากให้นายธาริต ไล่เรียงตามข้อเท็จจริง ความจริงน่าจะไปถามกรรมการศอฉ.คนอื่นว่ากรรมการคนไหนให้ความเห็นมากที่สุด อย่างไรก็ตามหากมีการกลั่นแกล้งตน ตนก็จะใช้สิทธิ์ทางกฎหมายอย่างเต็มที่ แต่จะไม่ปลุกระดมหรือเอาเงินไปให้ใครมาทำร้ายบ้านเมือง ซึ่งตนต้องดูข้อกล่าวหาก่อนว่าจะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า เรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่น่าแปลกใจ เพราะตั้งแต่ต้นปีนี้มีการส่งสัญญาณมาถึงตนทั้งทางตรงและทางอ้อมว่า จะต้องดำเนินการกับตนและนายสุเทพ ในลักษณะที่สอบถามว่าตนและนายสุเทพ จะคิดอย่างไรกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรม มีหลายช่องทางและหลายบุคคลที่ได้ติดต่อประสานมาโดยตลอด ฉะนั้นตราบเท่าที่ตนและนายสุเทพ ยังยืนยันว่าต้องการให้บ้านเมือง ระบบกฎหมาย ความถูกต้องมาก่อน ความพยายามที่จะดำเนินการกับตนและนายสุเทพ เพื่อนำไปใช้ในทางการเมืองเพื่อการต่อรองก็คงจะดำเนินต่อไป จึงอยากขอตั้งข้อสังเกตว่าถ้อยแถลงของนายธาริต แทบจะล้อถ้อยคำของร.ต.อ.เฉลิม คำต่อคำ ทั้งแง่ข้อกฎหมายและการสรุปข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ เรียกได้ว่ามีธงล่วงหน้าอย่างที่นายสุเทพ ได้กล่าว ตั้งแต่ร.ต.อ.เฉลิม มาถึงมวลชนคนเสื้อแดง
“ผมเข้าใจดีว่านี่เป็นกระบวนการ ผมไม่มีอะไรนอกจากจะฝากบอกไปยังคนที่คิดวางแผนเรื่องนี้และคิดว่าในที่สุดจะ ได้รับประโยชน์ในเรื่องนี้ว่า ที่ท่านทำทั้งหมดไม่มีผล เพราะอย่างไรผมและคุณสุเทพ ก็ไม่สนใจที่จะไปต่อรองผลประโยชน์ในคดีใด ๆ ทั้งสิ้น ยืนยันว่าคนผิดต้องรับผิด กระบวนการปรองดองที่แท้จริงต้องเกิดจากการแสวงหาข้อเท็จจริง ไม่มีเหตุผลใดที่จะเอาสิ่งเหล่านี้มาแลกเปลี่ยนกับการล้างผิดให้กับคนโกง ชาติโกงเมือง แม้ในที่สุดถ้ากระบวนการยุติธรรมจะตัดสินว่าผมและคุณสุเทพ ผิดต้องรับโทษประหารชีวิตหรือจำคุก พวกผมก็พร้อมเคารพ และยอมทำตาม เพราะผมมั่นใจว่าสิ่งที่ทำไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และทำอย่างตรงไปตรงมา ใครจะมาเอาชีวิตผมไปต่อรองอะไรผมไม่สนใจ แต่ผมจะไม่ยอมให้มีการล้างผิดคนโกงโดยเด็ดขาด ขอยืนยันว่าที่ทำทั้งหมดมีที่มาที่ไปและผมจะต่อสู้ตามกรอบกฎหมายจนถึงที่สุด เพราะสิ่งสำคัญต้องยึดความถูกต้องของประเทศชาติบ้านเมือง ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการที่รัฐบาลจะเดินหน้าผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายปรองดอง ว่า พรรคประชาธิปัตย์จะทำอย่างเข้มข้นขึ้น เพราะประชาชนที่เห็นความไม่ถูกต้องในความพยายามของรัฐบาลชัดเจนขึ้นว่าล้วน เป็นเรื่องประโยชน์ทางการเมือง และจะใช้ทุกทางทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง เพื่อมาข่มขู่ไม่ให้คนออกมาคัดค้าน ทำให้คนอึดอัดสะสมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรัฐบาลพยายามสนใจปัญหาของนายใหญ่ จุดนี้จะทำให้การต่อสู้เข้มข้นขึ้น เชื่อว่าจะมีประชาชนที่รับไม่ได้กับความไม่ยุติธรรม ความพยายามฉ้อฉลอำนาจ เลวร้ายที่สุดคือใช้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเข้ามาเล่น การเมือง นี่เป็นสัญญาณอันตรายที่จะทำให้ประชาชนออกมาเรียกร้องความถูกต้องมากยิ่ง ขึ้น ตนเคยเตือนรัฐบาลแล้วว่าควรเอาเวลาแก้ปัญหาประเทศ อย่าสร้างเงื่อนขัดแย้งใหม่ แต่ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้สนใจคำเตือนของตน ซึ่งเราจะทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานรัฐบาลต่อไป ส่วนที่จะกล่าวหาว่าพวกตนออกไปเล่นนอกสภานั้น พวกตนจะใช้สิทธิ์เหมือนกับประชาชนทั่วไปคือไม่ทำอะไรที่ผิดกฎหมาย
สำหรับหนังสือเชิญของดีเอสไอนัดหมายให้นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ไปรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 12 ธ.ค.นี้ แต่กลับพิมพ์พ.ศ.ผิดเป็น 2553 และไม่ได้แจ้งว่าบุคคลทั้งสองกระทำผิดอย่างไร โดยอ้างคำสั่งศาลว่าได้พิพากษาว่านายพัน คำกอง เสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ซึ่งในทางคดีมีหลักฐานตามสมควรน่าเชื่อว่าบุคคลทั้งสองได้กระทำความผิดในคดี ดังกล่าว และการเชิญเข้าพบพนักงานสอบสวนอยู่ในดุลยพินิจที่จะดำเนินการตามมาตรา 134 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยถือว่าไม่มีเหตุที่จะขอศาลออกหมายขัง โดยผู้ลงชื่อคือ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ต่อมา นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ได้ร่วมแถลงข่าว โดย นายสุเทพ กล่าวว่า คาดการณ์อยู่แล้วว่า จะถูกตั้งข้อหาในช่วงปิดสมัยประชุมสภา เพราะก่อนหน้านี้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี พูดเรื่องนี้เป็นระยะ ดังนั้นเมื่อทราบว่าดีเอสไอตั้งข้อกล่าวหา ตนจึงโทรศัพท์ถึงนายธาริต นัดหมายให้นำหมายเชิญมาให้ที่พรรคประชาธิปัตย์ ในวันนี้ (7 ธ.ค.) แต่นายธาริต ไม่มาด้วยตัวเอง กลับส่งพนักงานชั้นผู้น้อยมาแทน ทั้งนี้ขอขอบคุณนายธาริต ที่ไม่ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจที่มาปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ตนเชื่อว่าการทำเรื่องมีความตั้งใจจะทำให้เป็นเรื่องการเมือง โดยพุ่งมาที่ตนและนายอภิสิทธิ์ แต่เราทั้งสองจะไปมอบตัวและรับทราบข้อกล่าวหาและจะต่อสู้คดีตามกระบวนการ ยุติธรรม เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามขั้นตอนต่อไป
นายสุเทพ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาตนและนายอภิสิทธิ์เคยให้ปากคำกับดีเอสไอและเจ้าหน้าที่ตำรวจมาแล้ว หลายรอบ และตนได้ส่งสำเนาคำสั่งที่ศอฉ.สั่งการกับเจ้าหน้าที่ระหว่างการแก้ปัญหาการ ก่อการร้าย ช่วงปี 52-53 ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษมาแล้ว และยืนยันไปแล้วว่าทุกคำสั่งตนเป็นผู้ลงนามแต่เพียงผู้เดียว นายอภิสิทธิ์ ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการลงนามคำสั่ง เพราะท่านเป็นนายกฯ และตั้งให้ตนเป็นผอ.ศอฉ. มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้นนายอภิสิทธิ์ ไม่ควรกลายเป็นผู้ต้องหาร่วมกับตน แต่มีหลายคนพูดว่าดำเนินคดีกับตนเพียงคนเดียวไม่เพียงพอที่จะต่อรองในเรื่อง กฎหมายล้างผิด จึงต้องลากนายอภิสิทธิ์ เข้ามาเป็นจำเลยด้วย แต่ขอยืนยันว่าถ้าจะนำเรื่องนี้มาเป็นข้อต่อรองบีบบังคับเราสองคนให้เห็นดี เห็นงามกับกฎหมายล้างผิด เราไม่เห็นด้วย ยอมติดคุกดีกว่าที่จะเห็นคนเหล่านี้อาศัยเสียงข้างมากมากดขี่น้ำใจคนไทย และทำลายระบบนิติรัฐ
“ขอยืนยันอีกครั้งว่าแม้ข้อกล่าวหานี้จะมีโทษสูงสุดคือประหารชีวิต ถ้าพวกผมแพ้คดียินดีที่จะรับโทษไม่ยอมให้บ้านเมืองเสียหายเป็นอันขาด อย่ามาเสียเวลาต่อรองกับพวกผม เพราะผมไม่ยอมเป็นอันขาดและจะต่อสู้เคียงข้างกับประชาชนทั้งประเทศ ”นายสุเทพ กล่าว
ด้าน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในหนังสือเชิญให้ถ้อยคำยังไม่มีการะบุรายละเอียดว่าพวกตนผิดอะไรและผิดอย่าง ไร เพียงแต่บอกว่าทำความผิดในคดีดังกล่าว ทั้งที่เป็นสิทธิที่ตนจะได้รับทราบ ทั้งนี้ก่อนวันที่ 12 ธ.ค. ตนมีกำหนดการเดินทางไปต่างประเทศล่วงหน้า และจะเดินทางกลับมาถึงกทม. ในวันที่ 12 ธ.ค. และในวันที่ 13 ธ.ค. กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้เชิญตนไปให้ถ้อยคำในคดีเงินบริจาคน้ำท่วมของพรรคประชาธิปัตย์ ตนจึงแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่เดินทางมาว่า ในวันที่ 13 ธ.ค. เวลา 13.30 น. ตนและนายสุเทพ จะเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหา หลังจากนั้นจะได้ให้ถ้อยคำในคดีต่าง ๆ ต่อ โดยขอให้ดีเอสไอรวบรวมคดีต่าง ๆ มาในวันเดียวกันเลย นอกจากนี้ตนยังบอกกับเจ้าหน้าที่ด้วยว่า ตนอยากทราบรายชื่อคณะกรรมการสอบสวนในเรื่องนี้ที่แต่งตั้งโดยร.ต.อ.เฉลิม และนายธาริต เพื่อจะได้ทราบถึงแนวทางในการดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า การที่อธิบดีดีเอสไอ แถลงข่าวลงลึกไปในเนื้อหาสาระ โดยพูดถึงเหตุการณ์เมื่อปี 2553 ถือว่าเป็นการแถลงที่ไม่ครบถ้วน ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด ตนอยากเรียนว่า การปฏิบัติหน้าที่ของตนและนายสุเทพ เป็นไปตามโครงสร้างอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ในกฎหมายการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน เรามอบนโยบายให้ผู้ปฏิบัติว่าไม่มีการสลายการชุมนุม และในคำสั่งบ่งชัดว่าให้ปฏิบัติงานโดยหลีกเลี่ยงการเสี่ยงให้เกิดความสูญ เสียชีวิตประชาชน ความจริงนายธาริต น่าจะทราบดี เพราะเป็นคนรับมอบนโยบายนี้ และเป็นกรรมการศอฉ.อยู่ด้วย ส่วนคดีของนายพัน คำกอง ประชาชนคงมองออกว่าคดีนี้มีเจตนาฆาตกรรมหรือไม่ แต่เราทั้งสองพร้อมให้ความร่วมมือกับดีเอสไอ และจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่หนีไปไหน จะใช้สิทธิตามกฎหมาย เพราะเมื่อเราทำหน้าที่เราก็รู้ตลอดว่ามีความเสี่ยง เพียงแต่เรามั่นใจในเจตนาอันบริสุทธิ์ที่จะทำให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติ โดยไม่มีการสลายการชุมนุม
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่นายธาริต บอกว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมนั้น ตนอยากให้นายธาริต ไล่เรียงตามข้อเท็จจริง ความจริงน่าจะไปถามกรรมการศอฉ.คนอื่นว่ากรรมการคนไหนให้ความเห็นมากที่สุด อย่างไรก็ตามหากมีการกลั่นแกล้งตน ตนก็จะใช้สิทธิ์ทางกฎหมายอย่างเต็มที่ แต่จะไม่ปลุกระดมหรือเอาเงินไปให้ใครมาทำร้ายบ้านเมือง ซึ่งตนต้องดูข้อกล่าวหาก่อนว่าจะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า เรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่น่าแปลกใจ เพราะตั้งแต่ต้นปีนี้มีการส่งสัญญาณมาถึงตนทั้งทางตรงและทางอ้อมว่า จะต้องดำเนินการกับตนและนายสุเทพ ในลักษณะที่สอบถามว่าตนและนายสุเทพ จะคิดอย่างไรกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรม มีหลายช่องทางและหลายบุคคลที่ได้ติดต่อประสานมาโดยตลอด ฉะนั้นตราบเท่าที่ตนและนายสุเทพ ยังยืนยันว่าต้องการให้บ้านเมือง ระบบกฎหมาย ความถูกต้องมาก่อน ความพยายามที่จะดำเนินการกับตนและนายสุเทพ เพื่อนำไปใช้ในทางการเมืองเพื่อการต่อรองก็คงจะดำเนินต่อไป จึงอยากขอตั้งข้อสังเกตว่าถ้อยแถลงของนายธาริต แทบจะล้อถ้อยคำของร.ต.อ.เฉลิม คำต่อคำ ทั้งแง่ข้อกฎหมายและการสรุปข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ เรียกได้ว่ามีธงล่วงหน้าอย่างที่นายสุเทพ ได้กล่าว ตั้งแต่ร.ต.อ.เฉลิม มาถึงมวลชนคนเสื้อแดง
“ผมเข้าใจดีว่านี่เป็นกระบวนการ ผมไม่มีอะไรนอกจากจะฝากบอกไปยังคนที่คิดวางแผนเรื่องนี้และคิดว่าในที่สุดจะ ได้รับประโยชน์ในเรื่องนี้ว่า ที่ท่านทำทั้งหมดไม่มีผล เพราะอย่างไรผมและคุณสุเทพ ก็ไม่สนใจที่จะไปต่อรองผลประโยชน์ในคดีใด ๆ ทั้งสิ้น ยืนยันว่าคนผิดต้องรับผิด กระบวนการปรองดองที่แท้จริงต้องเกิดจากการแสวงหาข้อเท็จจริง ไม่มีเหตุผลใดที่จะเอาสิ่งเหล่านี้มาแลกเปลี่ยนกับการล้างผิดให้กับคนโกง ชาติโกงเมือง แม้ในที่สุดถ้ากระบวนการยุติธรรมจะตัดสินว่าผมและคุณสุเทพ ผิดต้องรับโทษประหารชีวิตหรือจำคุก พวกผมก็พร้อมเคารพ และยอมทำตาม เพราะผมมั่นใจว่าสิ่งที่ทำไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และทำอย่างตรงไปตรงมา ใครจะมาเอาชีวิตผมไปต่อรองอะไรผมไม่สนใจ แต่ผมจะไม่ยอมให้มีการล้างผิดคนโกงโดยเด็ดขาด ขอยืนยันว่าที่ทำทั้งหมดมีที่มาที่ไปและผมจะต่อสู้ตามกรอบกฎหมายจนถึงที่สุด เพราะสิ่งสำคัญต้องยึดความถูกต้องของประเทศชาติบ้านเมือง ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการที่รัฐบาลจะเดินหน้าผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายปรองดอง ว่า พรรคประชาธิปัตย์จะทำอย่างเข้มข้นขึ้น เพราะประชาชนที่เห็นความไม่ถูกต้องในความพยายามของรัฐบาลชัดเจนขึ้นว่าล้วน เป็นเรื่องประโยชน์ทางการเมือง และจะใช้ทุกทางทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง เพื่อมาข่มขู่ไม่ให้คนออกมาคัดค้าน ทำให้คนอึดอัดสะสมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรัฐบาลพยายามสนใจปัญหาของนายใหญ่ จุดนี้จะทำให้การต่อสู้เข้มข้นขึ้น เชื่อว่าจะมีประชาชนที่รับไม่ได้กับความไม่ยุติธรรม ความพยายามฉ้อฉลอำนาจ เลวร้ายที่สุดคือใช้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเข้ามาเล่น การเมือง นี่เป็นสัญญาณอันตรายที่จะทำให้ประชาชนออกมาเรียกร้องความถูกต้องมากยิ่ง ขึ้น ตนเคยเตือนรัฐบาลแล้วว่าควรเอาเวลาแก้ปัญหาประเทศ อย่าสร้างเงื่อนขัดแย้งใหม่ แต่ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้สนใจคำเตือนของตน ซึ่งเราจะทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานรัฐบาลต่อไป ส่วนที่จะกล่าวหาว่าพวกตนออกไปเล่นนอกสภานั้น พวกตนจะใช้สิทธิ์เหมือนกับประชาชนทั่วไปคือไม่ทำอะไรที่ผิดกฎหมาย
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น