วันนี้(6 ก.ค.) ที่ห้องพิจารณาคดี 801 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก
ศาลนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ในคดี หมายเลขดำ อ.1008/2553 ที่ นายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ยื่นฟ้องนายจตุพร พรหมพันธุ์
แกนนำนปช.และอดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย เป็นจำเลย
ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,
328 และ 332
กรณีเมื่อวันที่ 29 ม.ค.-15 ก.พ. 53 นายจตุพร จำเลยได้กล่าวปราศรัยด้วยเครื่องกระจายเสียงต่อหน้าประชาชนกลุ่มคนเสื้อแดง และประชาชนที่รับฟังและชมโทรทัศน์ช่องพีเพิล แชนเนล ที่มีการถ่ายทอดสดทั่วประเทศ โดยกล่าวหาโจทก์ว่าหนีทหาร ไม่ได้ผ่านการเกณฑ์ทหาร อีกทั้งยังร่วมกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าใช้เอกสารเท็จในการเข้ารับ ราชการ นอกจากนี้จำเลยยังกล่าวหาโจทก์ประชุมร่วมกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.วางแผนล้อมปราบปรามกลุ่มคนเสื้อแดง โดยจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ ใส่ร้ายโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและเกลียดชัง
โดยนายอภิสิทธิ์ ได้ขึ้นเบิกความต่อศาลสรุปว่า จำเลยได้กล่าวปราศรัยบนเวทีของคนเสื้อแดง อ้างว่าประชาชนยังสงสัยคลิปเสียงการสั่งฆ่าประชาชน เมื่อเหตุการณ์เดือนเม.ย. 52 โดยกล่าวหาว่าตนได้ประชุมร่วมกับ นายสุเทพ และพล.อ.ประยุทธ เพื่อวางแผนสร้างสถานการณ์ ให้เห็นว่าคนเสื้อแดงไม่จงรักภักดี เพื่อให้เจ้าหน้าที่ล้อมปราบคนเสื้อแดง และยังปราศรัยอีกว่าโจทก์มีจิตใจโหดเหี้ยม จิตใจทำด้วยอะไร จึงสั่งฆ่าประชาชน ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง โจทก์ไม่เคยมีการประชุมเพื่อล้อมปราบปรามกลุ่มคนเสื้อแดง และไม่เคยสร้างสถานการณ์ใดๆ ที่นำไปสู่ความวุ่นวาย มีเพียงพวกจำเลยและกลุ่มคนเสื้อแดงที่สร้างสถานการณ์ความวุ่นวาย การปราศรัยดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ นอกจากนี้ คลิปเสียงที่อ้างว่าโจทก์สั่งฆ่าคนเสื้อแดงนั้น ได้รับการพิสูจน์จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสถาบันนิติวิทยาศาสตร์แล้วว่า เป็นการตัดต่อคลิปเสียงที่มีการตัดต่อจากคำปราศรัยของตนเองในโอกาสต่างๆ เพื่อใช้ปลุกระดมการชุมนุมของคนเสื้อแดง ซึ่งคดีการตัดต่อคลิปเสียงนั้น โจทก์ได้ฟ้องจำเลยอีกคดีและศาลอาญาได้มีคำสั่งรับฟ้องไว้แล้ว
นอกจากนี้ จำเลยยังปราศรัยในการชุมนุมของคนเสื้อแดงว่า โจทก์หลบหนีการเกณฑ์ทหาร ซึ่งไม่เป็นความจริง เนื่องจากปี 2530 โจทก์ได้ทำเรื่องผ่อนผันการเกณฑ์ทหารเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ และหลังจบการศึกษาก็ได้เดินทางมารับราชการที่โรงเรียนนายร้อยพระจุล จอมเกล้าฯ ติดยศร้อยตรี โดยได้เข้ารับการฝึกทหารเหมือนนักเรียนนายร้อยทุกประการ และไม่ได้ใช้เอกสารเท็จในการสมัครรับราชการทหาร เนื่องจากที่ผ่านมาทางโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ และกระทรวงกลาโหมไม่เคยมีการเรียกสอบสวนหรือดำเนินคดีในกรณีดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนเบิกความ นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมีบุคคลอื่นออกมากดดันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จนนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขอถอนตัวจากองค์คณะพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่า เรื่องนี้ถือเป็นความคิดเห็นขององค์คณะตุลาการที่มีความเห็นตามกฏหมาย แต่เชื่อว่ารัฐบาลยังคงเดินหน้ากระบวนการล้มล้างความผิด แต่อยู่ที่ว่าจะเลือกใช้รูปแบบใด ทั้งนี้ รัฐบาลควรเห็นประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก นอกจากนี้ อยากให้รัฐบาลทบทวนนโยบายหลายเรื่อง และควรปรึกษากับภาคเอกชน เพื่อติดตามผลกระทบและแก้วิกฤตเศรษฐกิจ เนื่องจากรัฐบาลมองข้ามผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลเอง ทั้งประชานิยม ,การขึ้นค่าแรง, แนวคิดการกู้เงินเพิ่ม ซึ่งถือว่าไม่มีประโยชน์ในการรับมือวิกฤตยุโรป ทำให้ประเทศมีความเสี่ยงมากขึ้น
ด้านนายจตุพร กล่าวถึงกรณีคลิปเสียงของประธานสภาฯ ว่า คลิปเสียงดังกล่าวมีความชัดเจนในตัวเองอยู่แล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่สามารถสั่งการประธานสภาได้ ประธานสภาฯ เป็นผู้ตัดสินใจเองได้ ส่วนนายจรัญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ถอนตัวออกจากองค์คณะนั้น ไม่ได้เป็นเกมที่ผู้ถูกร้องทำการบีบบังคับให้ถอนตัวแต่อย่างใด
กรณีเมื่อวันที่ 29 ม.ค.-15 ก.พ. 53 นายจตุพร จำเลยได้กล่าวปราศรัยด้วยเครื่องกระจายเสียงต่อหน้าประชาชนกลุ่มคนเสื้อแดง และประชาชนที่รับฟังและชมโทรทัศน์ช่องพีเพิล แชนเนล ที่มีการถ่ายทอดสดทั่วประเทศ โดยกล่าวหาโจทก์ว่าหนีทหาร ไม่ได้ผ่านการเกณฑ์ทหาร อีกทั้งยังร่วมกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าใช้เอกสารเท็จในการเข้ารับ ราชการ นอกจากนี้จำเลยยังกล่าวหาโจทก์ประชุมร่วมกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.วางแผนล้อมปราบปรามกลุ่มคนเสื้อแดง โดยจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ ใส่ร้ายโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและเกลียดชัง
โดยนายอภิสิทธิ์ ได้ขึ้นเบิกความต่อศาลสรุปว่า จำเลยได้กล่าวปราศรัยบนเวทีของคนเสื้อแดง อ้างว่าประชาชนยังสงสัยคลิปเสียงการสั่งฆ่าประชาชน เมื่อเหตุการณ์เดือนเม.ย. 52 โดยกล่าวหาว่าตนได้ประชุมร่วมกับ นายสุเทพ และพล.อ.ประยุทธ เพื่อวางแผนสร้างสถานการณ์ ให้เห็นว่าคนเสื้อแดงไม่จงรักภักดี เพื่อให้เจ้าหน้าที่ล้อมปราบคนเสื้อแดง และยังปราศรัยอีกว่าโจทก์มีจิตใจโหดเหี้ยม จิตใจทำด้วยอะไร จึงสั่งฆ่าประชาชน ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง โจทก์ไม่เคยมีการประชุมเพื่อล้อมปราบปรามกลุ่มคนเสื้อแดง และไม่เคยสร้างสถานการณ์ใดๆ ที่นำไปสู่ความวุ่นวาย มีเพียงพวกจำเลยและกลุ่มคนเสื้อแดงที่สร้างสถานการณ์ความวุ่นวาย การปราศรัยดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ นอกจากนี้ คลิปเสียงที่อ้างว่าโจทก์สั่งฆ่าคนเสื้อแดงนั้น ได้รับการพิสูจน์จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสถาบันนิติวิทยาศาสตร์แล้วว่า เป็นการตัดต่อคลิปเสียงที่มีการตัดต่อจากคำปราศรัยของตนเองในโอกาสต่างๆ เพื่อใช้ปลุกระดมการชุมนุมของคนเสื้อแดง ซึ่งคดีการตัดต่อคลิปเสียงนั้น โจทก์ได้ฟ้องจำเลยอีกคดีและศาลอาญาได้มีคำสั่งรับฟ้องไว้แล้ว
นอกจากนี้ จำเลยยังปราศรัยในการชุมนุมของคนเสื้อแดงว่า โจทก์หลบหนีการเกณฑ์ทหาร ซึ่งไม่เป็นความจริง เนื่องจากปี 2530 โจทก์ได้ทำเรื่องผ่อนผันการเกณฑ์ทหารเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ และหลังจบการศึกษาก็ได้เดินทางมารับราชการที่โรงเรียนนายร้อยพระจุล จอมเกล้าฯ ติดยศร้อยตรี โดยได้เข้ารับการฝึกทหารเหมือนนักเรียนนายร้อยทุกประการ และไม่ได้ใช้เอกสารเท็จในการสมัครรับราชการทหาร เนื่องจากที่ผ่านมาทางโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ และกระทรวงกลาโหมไม่เคยมีการเรียกสอบสวนหรือดำเนินคดีในกรณีดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ก่อนเบิกความ นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมีบุคคลอื่นออกมากดดันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จนนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขอถอนตัวจากองค์คณะพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่า เรื่องนี้ถือเป็นความคิดเห็นขององค์คณะตุลาการที่มีความเห็นตามกฏหมาย แต่เชื่อว่ารัฐบาลยังคงเดินหน้ากระบวนการล้มล้างความผิด แต่อยู่ที่ว่าจะเลือกใช้รูปแบบใด ทั้งนี้ รัฐบาลควรเห็นประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก นอกจากนี้ อยากให้รัฐบาลทบทวนนโยบายหลายเรื่อง และควรปรึกษากับภาคเอกชน เพื่อติดตามผลกระทบและแก้วิกฤตเศรษฐกิจ เนื่องจากรัฐบาลมองข้ามผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลเอง ทั้งประชานิยม ,การขึ้นค่าแรง, แนวคิดการกู้เงินเพิ่ม ซึ่งถือว่าไม่มีประโยชน์ในการรับมือวิกฤตยุโรป ทำให้ประเทศมีความเสี่ยงมากขึ้น
ด้านนายจตุพร กล่าวถึงกรณีคลิปเสียงของประธานสภาฯ ว่า คลิปเสียงดังกล่าวมีความชัดเจนในตัวเองอยู่แล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่สามารถสั่งการประธานสภาได้ ประธานสภาฯ เป็นผู้ตัดสินใจเองได้ ส่วนนายจรัญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ถอนตัวออกจากองค์คณะนั้น ไม่ได้เป็นเกมที่ผู้ถูกร้องทำการบีบบังคับให้ถอนตัวแต่อย่างใด
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น