วันนี้ (22 ส.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม นางสุวณา สุวรรณจูฑะ
รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยนายพิทยา จินาวัฒน์
อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
แถลงข่าวกรณีได้นำเสนอรายงานประเทศไทยตามพันธกรณีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่า
ด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ โดยนางสุวณา
ในฐานะหัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านบริหารความยุติธรรม กล่าวว่า
ผลการรายงานต่อคณะกรรมการขจัดทางเลือกปฏิบัติทางชาติพันธุ์ขององค์การสห
ประชาชาติ(ยูเอ็น) ในการประชุมสมัยที่ 81 ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
มีความพอใจผลการปฏิบัติตามอนุสัญญาในฐานะประเทศภาคี
โดยเฉพาะประเด็นการจัดการปัญหาสถานะบุคคล
การแก้ไขพ.ร.บ.การคืนสัญชาติไทยให้คนไทยพลัดถิ่น
การให้ที่พักพิงกับผู้ลี้ภัยการสู้รบจากประเทศเพื่อนบ้าน
การมีนโยบายให้สิทธิขั้นพื้นฐานกับทุกกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น การศึกษา
และการรักษาพยาบาล ทั้งนี้
ยังได้มีการแสดงความพอใจกรณีที่มีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง
ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย
อย่างไรก็ตาม มีบางประเด็นที่ได้แสดงความเป็นห่วงและตั้งข้อสงวนไว้เพื่อพิจารณาแก้ไข คือ กรณีที่ประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องการจำแนกสถิติ กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งขาดความชัดเจนด้านสถิติข้อมูล
ด้านพิทยา ยอมรับว่าขณะนี้ประเทศไทยยังมีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ลดลงกว่าที่ผ่านมา โดยปัญหาการละเมิดสิทธิฯที่ยังคงมีอยู่คือ การละเมิดสิทธิฯโดยเจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานด้านความมั่นคง และหน่วยบังคับใช้กฎหมาย เช่น การจับผิดตัว การอุ้มหาย การละเมิดสิทธิฯโดยประชาชนด้วยกัน คนมีโอกาสดีกว่าเอาเปรียบคนด้อยโอกาส การละเมิดสิทธิโดยองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งที่ผ่านมากรมคุ้มครองสิทธิฯพยายามแก้ไขปัญหาระงับข้อพิพาทด้วยการเปิด โอกาสให้ไกล่เกลี่ย ที่มีศูนย์ไกล่เกลี่ยกระจายอยู่ทั่วประเทศ 198 แห่ง และมีคดีที่ไกล่เกลี่ยไปแล้วกว่า 1,000 คดี
สำหรับปัญหาการขอสัญชาติให้คนไทยพลัดถิ่นซึ่งเป็นหนึ่งในข้อกังวลของยู เอ็น ในส่วนประเทศไทย กระทรวงมหาดไทยและสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ได้หาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ล่าสุด กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เปิดให้มีการขึ้นทะเบียนคนไทยพลัดถิ่นแถบเกาะกง ประเทศกัมพูชา และแถบตะวันออกของประเทศพม่าหรือด้านติดต่อกับจังหวัดระนอง มีผู้ขอลงทะเบียนแล้วกว่า 18,000 คน ซึ่งจะมีการพิสูจน์สิทธิด้วยการตรวจดีเอ็นเอ และการใช้สิทธิทางการปกครองในการสืบหาชาติพันธุ์ กระทรวงยุติธรรมโดยกรม คุ้มครองสิทธิฯได้แบ่งงบประมาณจากกองทุนยุติธรรมจำนวน 20 ล้านบาท เพื่อมอบหมายให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ใช้ในการดำเนินงานในการสอบดีเอ็นเอ
อย่างไรก็ตาม มีบางประเด็นที่ได้แสดงความเป็นห่วงและตั้งข้อสงวนไว้เพื่อพิจารณาแก้ไข คือ กรณีที่ประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องการจำแนกสถิติ กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งขาดความชัดเจนด้านสถิติข้อมูล
ด้านพิทยา ยอมรับว่าขณะนี้ประเทศไทยยังมีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ลดลงกว่าที่ผ่านมา โดยปัญหาการละเมิดสิทธิฯที่ยังคงมีอยู่คือ การละเมิดสิทธิฯโดยเจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานด้านความมั่นคง และหน่วยบังคับใช้กฎหมาย เช่น การจับผิดตัว การอุ้มหาย การละเมิดสิทธิฯโดยประชาชนด้วยกัน คนมีโอกาสดีกว่าเอาเปรียบคนด้อยโอกาส การละเมิดสิทธิโดยองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งที่ผ่านมากรมคุ้มครองสิทธิฯพยายามแก้ไขปัญหาระงับข้อพิพาทด้วยการเปิด โอกาสให้ไกล่เกลี่ย ที่มีศูนย์ไกล่เกลี่ยกระจายอยู่ทั่วประเทศ 198 แห่ง และมีคดีที่ไกล่เกลี่ยไปแล้วกว่า 1,000 คดี
สำหรับปัญหาการขอสัญชาติให้คนไทยพลัดถิ่นซึ่งเป็นหนึ่งในข้อกังวลของยู เอ็น ในส่วนประเทศไทย กระทรวงมหาดไทยและสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ได้หาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ล่าสุด กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เปิดให้มีการขึ้นทะเบียนคนไทยพลัดถิ่นแถบเกาะกง ประเทศกัมพูชา และแถบตะวันออกของประเทศพม่าหรือด้านติดต่อกับจังหวัดระนอง มีผู้ขอลงทะเบียนแล้วกว่า 18,000 คน ซึ่งจะมีการพิสูจน์สิทธิด้วยการตรวจดีเอ็นเอ และการใช้สิทธิทางการปกครองในการสืบหาชาติพันธุ์ กระทรวงยุติธรรมโดยกรม คุ้มครองสิทธิฯได้แบ่งงบประมาณจากกองทุนยุติธรรมจำนวน 20 ล้านบาท เพื่อมอบหมายให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ใช้ในการดำเนินงานในการสอบดีเอ็นเอ
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น