วันนี้(6ส.ค.)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ให้สัมภาษณ์ภายหลังการลงพื้นที่จ.ปัตตานี ว่า
จากการแลกเปลี่ยนความเห็นพบว่ามีปัญหาในสองระดับ
ทั้งในเชิงบริหารจัดการในพื้นที่ โดยตำรวจแจ้งว่าขาดกำลังพล อุปกรณ์
มีปัญหาการดำเนินคดี เนื่องจากชาวบ้านไม่กล้าเป็นพยาน
ส่วนชุมชนจะบ่นเรื่องยาเสพติด สำหรับระดับนโยบาย พบว่า
ความไม่ชัดเจนของรัฐบาลว่าจะผลักดันทิศทางไหน
ทำให้เกิดความสับสนในระดับปฏิบัติ โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างการทำงาน
เนื่องจากล่าสุด พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ว่าที่ ผบ.ตร.
มีการเสนอความคิดที่จะย่อส่วน ศอ.บต.กลับไปอยู่ภายใต้ กอ.รมน.
ซึ่งในพื้นที่ไม่ได้มองว่าเรื่องนี้เป็นการเสนอโครงสร้างใหม่
แต่เป็นการถอยหลังกลับไป 4 ปี คือกลับสู่สถานการณ์ปี 50-51
“ผมอยากให้คิดดูให้รอบคอบเพราะถ้าปัญหาคือไม่มีซีอีโอดูแลอย่างที่พล.ต.อ .อดุลย์ กังวล ก็ควรเสนอให้นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ของตัวเองตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นทั้ง ผอ.ศอ.บต.และประธาน กอ.รมน. ถือว่าเป็นซีอีโอที่คุมงานด้านความมั่นคงอยู่แล้ว และที่กฎหมายออกแบบมาเช่นนี้ก็เพื่อให้นายกฯซึ่งคุมนโยบายสูงสุดเป็นผู้ ตัดสินใจ เนื่องจากงานด้านความมั่นคงต้องประสานหลายหน่วยงาน แต่ถ้านายกฯไม่ต้องการที่จะรับผิดชอบเอง ก็ควรมอบหมายให้รองนายกฯคนใดคนหนึ่งรับผิดชอบให้ชัดเจน ไม่ใช่มีรองนายกฯถึงสามคนดูแลเรื่องนี้ เพราะจะทำให้เกิดความสับสนได้ ดังนั้นนายกฯคือคนที่ต้องรักษาสมดุลในส่วนการบัญชาการตรงนี้ แต่ถ้าไปแก้ปัญหาโดยให้ ศอ.บต.กลับไปอยู่ภายใต้การดูแลของ กอ.รมน.นั้น ในพื้นที่เองก็มีความกังวล เพราะมองว่าจะกลายเป็นการส่งสัญญาณกลับไปใช้นโยบายการทหารนำการเมืองมาแก้ ปัญหา แทนที่จะเป็นการเมืองนำการทหาร เหมือนในรัฐบาลที่แล้ว” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์ถี่มากขึ้นก็มีผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของทั้งประชาชนใน พื้นที่และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ แต่เท่าที่ได้พูดคุยก็ยังมีจิตใจเข้มแข็งในการใช้ชีวิตและปฏิบัติหน้าที่ต่อ ไป ทั้งนี้ตนอยากให้รัฐบาลเอาใจใส่กับปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยไม่ควรกำหนดนโยบายในลักษณะทดลองที่จะทำให้เกิดเงื่อนไขใหม่ซ้ำเติม สถานการณ์ เพราะการแก้ปัญหาภาคใต้ทำมาอย่างต่อเนื่องจนตกผลึกว่าควรใช้กฎหมาย ศอ.บต.มาเป็นตัวกำกับ ด้วยเหตุผลว่าต้องการให้ฝ่ายปกครองเข้ามาถ่วงดุลในเชิงบริหารจากฝ่ายอื่น ๆ และส่งสัญญาณให้ประชาชนเห็นถึงความตั้งใจในการพัฒนาพื้นที่และมวลชนควบคู่ กับงานด้านความมั่นคง การที่จะกลับไปให้ กอ.รมน.มีบทบาทนำในการแก้ปัญหาภาคใต้ จะทำให้ถูกมองว่ารัฐบาลกำลังจะลดความสำคัญด้านการพัฒนาที่ทำโดยฝ่ายปกครอง ซึ่งสวนทางกับสิ่งที่รัฐบาลที่แล้วพยายามทำมาโดยตลอด และจะกระทบต่อการดึงมวลชนให้เกิดความมั่นใจต่อภาครัฐด้วย..
“ผมอยากให้คิดดูให้รอบคอบเพราะถ้าปัญหาคือไม่มีซีอีโอดูแลอย่างที่พล.ต.อ .อดุลย์ กังวล ก็ควรเสนอให้นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ของตัวเองตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นทั้ง ผอ.ศอ.บต.และประธาน กอ.รมน. ถือว่าเป็นซีอีโอที่คุมงานด้านความมั่นคงอยู่แล้ว และที่กฎหมายออกแบบมาเช่นนี้ก็เพื่อให้นายกฯซึ่งคุมนโยบายสูงสุดเป็นผู้ ตัดสินใจ เนื่องจากงานด้านความมั่นคงต้องประสานหลายหน่วยงาน แต่ถ้านายกฯไม่ต้องการที่จะรับผิดชอบเอง ก็ควรมอบหมายให้รองนายกฯคนใดคนหนึ่งรับผิดชอบให้ชัดเจน ไม่ใช่มีรองนายกฯถึงสามคนดูแลเรื่องนี้ เพราะจะทำให้เกิดความสับสนได้ ดังนั้นนายกฯคือคนที่ต้องรักษาสมดุลในส่วนการบัญชาการตรงนี้ แต่ถ้าไปแก้ปัญหาโดยให้ ศอ.บต.กลับไปอยู่ภายใต้การดูแลของ กอ.รมน.นั้น ในพื้นที่เองก็มีความกังวล เพราะมองว่าจะกลายเป็นการส่งสัญญาณกลับไปใช้นโยบายการทหารนำการเมืองมาแก้ ปัญหา แทนที่จะเป็นการเมืองนำการทหาร เหมือนในรัฐบาลที่แล้ว” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์ถี่มากขึ้นก็มีผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของทั้งประชาชนใน พื้นที่และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ แต่เท่าที่ได้พูดคุยก็ยังมีจิตใจเข้มแข็งในการใช้ชีวิตและปฏิบัติหน้าที่ต่อ ไป ทั้งนี้ตนอยากให้รัฐบาลเอาใจใส่กับปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยไม่ควรกำหนดนโยบายในลักษณะทดลองที่จะทำให้เกิดเงื่อนไขใหม่ซ้ำเติม สถานการณ์ เพราะการแก้ปัญหาภาคใต้ทำมาอย่างต่อเนื่องจนตกผลึกว่าควรใช้กฎหมาย ศอ.บต.มาเป็นตัวกำกับ ด้วยเหตุผลว่าต้องการให้ฝ่ายปกครองเข้ามาถ่วงดุลในเชิงบริหารจากฝ่ายอื่น ๆ และส่งสัญญาณให้ประชาชนเห็นถึงความตั้งใจในการพัฒนาพื้นที่และมวลชนควบคู่ กับงานด้านความมั่นคง การที่จะกลับไปให้ กอ.รมน.มีบทบาทนำในการแก้ปัญหาภาคใต้ จะทำให้ถูกมองว่ารัฐบาลกำลังจะลดความสำคัญด้านการพัฒนาที่ทำโดยฝ่ายปกครอง ซึ่งสวนทางกับสิ่งที่รัฐบาลที่แล้วพยายามทำมาโดยตลอด และจะกระทบต่อการดึงมวลชนให้เกิดความมั่นใจต่อภาครัฐด้วย..
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น