วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชี้ศาลปกครองต้องมีอยู่เพื่อเป็นเสาหลัก


วันนี้ ( 14 มิ.ย.)  ที่สำนักงานศาลปกครอง มีการจัดงานโครงการสื่อมวลชนพบศาลปกครอง โดยมีนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานในการเปิดโครงการและร่วมบรรยายพิเศษในหัวข้อ”ศาลปกครองไทยกับการ แก้ไขข้อพิพาทในสังคม “ ว่า ระยะเวลา 10  ปีนับจากนี้จำเป็นต้องพัฒนาองค์กรศาลปกครอง เพื่อให้องค์กรนี้เป็นเสาหลักของบ้านเมือง ซึ่งดูเหมือนพูดง่ายแต่เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ฉะนั้นตรงนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้บริหารต้องคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้จำเป็นต้องมีองค์กร ที่ทำให้คนในชาติให้ความเชื่อมั่น เนื่องจากจะต้องเป็นองค์กรที่ตัดสินชี้ขาดปัญหาเพื่อให้ทุกฝ่ายยอมรับและทำ ให้ประเทศชาติเกิดความสงบ เรียบร้อย  ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นหลายอย่างอาจพัฒนาเป็นสู่สิ่งที่เลวร้าย โดยไม่อยากให้เกิดขึ้น ก็ได้
นายหัสวุฒิ  กล่าวอีกว่า  การมีศาลปกครองเป็นผลดีกับฝ่ายบริหารแต่เรามักจะพูดเสมอว่าการมีศาลขึ้นมาก็ เพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชน กรณีดังกล่าวนี้ตนมองว่าการมีศาลปกครองช่วยฝ่ายบริหารลดแรงกระแทกที่จะมีถึง ฝ่ายบริหารโดยตรงมากกว่า  ยกตัวอย่างกรณีหากประชาชนมีปัญหากับฝ่ายบริหารและหากให้ฝ่ายบริหารเป็นผู้ ดำเนินการชี้ถูกผิดเอง ไม่มีใครเชื่อว่ากระบวนการพิจารณาจะเป็นกลางได้แน่นอน แต่ถ้าหากมีองค์กรเข้ามาช่วยพิจารณาชี้ว่าใครถูกหรือผิดและมีเหตุผลเป็นไป ตามข้อเท็จจริงตามกระบวนการของกฎหมาย ก็จะเป็นการช่วยลดแรงกระแทกที่จะมีถึงฝ่ายบริหารได้ ดังนั้นองค์กรศาลปกครอง ต้องมีอยู่ต่อไปไม่ใช่ยุบหรือนำไปรวมกับฝ่ายใด หลายสิบปีที่ผ่านมาตนกล้าพูดว่าองค์กรเราทำหน้าที่อย่างเต็มที่และสมบูรณ์ แบบเพื่อที่จะลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ดังจะเห็นได้ชัดเจนว่าหลังจากที่ศาลปกครองมีคำสั่งในเรื่องใดๆ ที่ผ่านมา ทุกอย่างก็จะอยู่ในความสงบ ทุกฝ่ายให้การยอมรับ
นายหัสวุฒิ กล่าวอีกว่า คนในสังคมต้องใจกว้างต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่แตกต่างจากเรา ทุกสิ่งเป็นก็ไปตามระบบ ไม่มีการเล่นนอกกติกายอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างเพราะเป็นธรรมชาติของ มนุษย์ของการอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย การมีความเห็นแตกต่างกันไม่ใช่เรื่องเสียหาย  แต่เราต้องสอนให้คนในประเทศยอมรับความเห็นที่ต่างกัน จึงจะสามารถอยู่ร่วมกันได้ ถ้าทุกคนใจกว้าง ก็จะให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยสงบทุกคนอยู่ด้วยกันอย่างสันติสุข
“ศาลเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐหนึ่งในสามอำนาจที่สูงสุด แต่ไม่มีอำนาจเมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น อาทิ  รัฐบาล รัฐสภา  เพราะศาลจะใช้อำนาจตุลาการไปทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยตัวเองไม่ได้ จำเป็นต้องมีผู้มาฟ้องคดีถ้าไม่มีผู้ฟ้องคดีถึงจะเป็นเรื่องใหญ่ศาลก็ดำเนิน การเองไมได้ และที่พูดกันว่าตุลาการภิวัฒน์ ก็ไม่รู้ว่าผู้พูดเข้าใจความหมายที่แท้จริงหรือไม่  จริงๆ ตุลาการภิวัฒน์ เป็นเรื่องของการใช้อำนาจในคดีตามหลักกฎหมายที่ต้องอธิบายได้  ไม่ใช่การใช้อำนาจตามอำเภอใจ  และข้อกฎหมายศาลไม่ได้ตราขึ้นมาเอง ศาลจึงไม่ได้มีอำนาจเหมือนฝ่ายอื่นๆ ดังนั้นที่กล่าวหาว่าศาลมีอำนาจมากเกินไปและไม่เคยถูกตรวจสอบ ไม่เป็นความจริงเลย เพราะศาลปกครองก็ต้องทำรายงานไปรัฐสภา จึงไม่เห็นด้วยหากมีการรวมรวม เพราะเชื่อว่าประชาชนจะไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่เป็นการถอยหลังไปสู่ยุคก่อนปี พ.ศ.2540
นายหัสวุฒิ ยังปฏิเสธที่จะตอบคำถามกรณีฝ่ายตุลาการถูกมองว่าแทรกแซงอำนาจฝ่าย นิติบัญญัติ และกรณีอำนาจตุลาการกำลังถูกคุกคามเพราะอำนาจฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ถูกแทรกแซงได้หมดแล้ว โดยกล่าวเพียงว่า ไม่พูดดีกว่า แต่ไม่ใช่ตอบไม่ได้ เพียงแต่พูดไปจะกลายเป็นปัญหาซึ่งคิดว่าสื่อเองก็รู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร รวมถึงสามารถช่วยบ้านเมืองได้ ส่วนศาลนั้นทำได้เฉพาะในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดเท่านั้นซึ่งไม่ใช่อำนาจที่มาก มายอะไร อย่างไรก็ตามประธานศาลปกครองสุงสุด ยังเรียกร้องว่า ประเทศไทยน่าจะถึงเวลาที่มีระบบการคุ้มครองผู้พิพากษา ตุลาการรวมถึงครอบครัวอย่างจริงจังเช่นในต่างประเทศ ไม่ใช่พอมีเรื่องก็จะมีการส่งเจ้าหน้าที่มาคุ้มกันเป็นครั้งไป ๆ เหมือนที่ทำอยู่ในปัจจุบัน  เพราะการตัดสินคดีของศาลในทุกคดีล้วนแต่มีความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับความเป็น ความตายทั้งสิ้น

0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Blog Archive

Design Downloaded from ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ รามคำแหง บางกะปิ | Free Textures | Web Design Resources