สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ ชวนคนไทยชม 2 ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า
ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวศุกร์ คืนนี้ (13 มี.ค.) และดาวเคียงเดือน หรือพระจันทร์ยิ้ม
วันที่ 25 - 26 มี.ค.นี้ ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าได้ทุกภูมิภาคของประเทศ
...
เมื่อวันที่ 13 มี.ค. นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์
เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ในช่วงเดือน มี.ค.นี้
ถือได้ว่าเป็นอีกเดือนหนึ่งที่จะมีปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่สวยงามมาให้ได้ชมกันในยามราตรี
โดยจะมี 2 ปรากฏการณ์ที่เด่นๆ ได้แก่ ปรากฏการณ์ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวศุกร์
และดาวเคียงเดือน โดยปรากฏการณ์ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวศุกร์
จะเกิดขึ้นช่วงหัวค่ำของวันที่ 13
มี.ค.นี้ เราจะมองเห็นดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีเข้าใกล้กันในมุมปรากฏมากที่สุดในรอบปี
เป็นระยะห่างเชิงมุมประมาณ 3 องศา สามารถสังเกตเห็นได้ทางทิศตะวันตก
หลังดวงอาทิตย์ตกเป็นต้นไป
โดยจะเริ่มสังเกตเห็นดาวศุกร์ส่องสว่างสูงจากขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเป็นมุม ประมาณ 40
องศา (เนื่องจากดาวศุกร์อยู่ใกล้โลก และมีความสว่างปรากฏมากกว่า)
หลังจากนั้นจะสังเกตเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่ทางซ้ายของดาวศุกร์
และจะสามารถสังเกตเห็นทั้งดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีอยู่เคียงข้างกันบนท้องฟ้า
จนถึงเวลาประมาณ 21.30 น. ก็จะตกลับขอบฟ้าไป
นายศุภฤกษ์ กล่าวต่อว่า
นอกจากนี้ในวันที่ 25-26 มี.ค.นี้
ก็ยังจะมีความสวยงามบนท้องฟ้าอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่จะเกิดขึ้น ได้แก่
ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน คือ ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี อยู่เคียงดวงจันทร์เสี้ยวบางๆ
คล้ายกับพระจันทร์ยิ้มที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551 โดยในวันที่ 25 มีนาคม
2555 จะเห็นดวงจันทร์เสี้ยว 3 ค่ำ อยู่ด้านล่าง สูงจากขอบฟ้าทางทิศตะวันตกประมาณ 25
องศา ถัดขึ้นไปประมาณ 6 องศา จะเป็นดาวพฤหัสบดี และถัดไปอีก 15 องศา จะเป็นดาวศุกร์
ส่วนวันที่ 26 มี.ค. จะเห็นดวงจันทร์เสี้ยว 4 ค่ำ สูงจากขอบฟ้าทางทิศตะวันตกประมาณ
38 องศา อยู่ระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดาวศุกร์
สำหรับปรากฏการณ์ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวศุกร์ และดาวเคียงเดือน
สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าได้ทุกภูมิภาคของประเทศ.
แหล่งที่มาข้อมูล www.thairath.co.th
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ ชวนคนไทยชม 2 ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวศุกร์ คืนนี้ (13 มี.ค.) และดาวเคียงเดือน หรือพระจันทร์ยิ้ม วันที่ 25 - 26 มี.ค.นี้ ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าได้ทุกภูมิภาคของประเทศ ...
เมื่อวันที่ 13 มี.ค. นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ในช่วงเดือน มี.ค.นี้ ถือได้ว่าเป็นอีกเดือนหนึ่งที่จะมีปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่สวยงามมาให้ได้ชมกันในยามราตรี โดยจะมี 2 ปรากฏการณ์ที่เด่นๆ ได้แก่ ปรากฏการณ์ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวศุกร์ และดาวเคียงเดือน โดยปรากฏการณ์ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวศุกร์ จะเกิดขึ้นช่วงหัวค่ำของวันที่ 13 มี.ค.นี้ เราจะมองเห็นดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีเข้าใกล้กันในมุมปรากฏมากที่สุดในรอบปี เป็นระยะห่างเชิงมุมประมาณ 3 องศา สามารถสังเกตเห็นได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ตกเป็นต้นไป โดยจะเริ่มสังเกตเห็นดาวศุกร์ส่องสว่างสูงจากขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเป็นมุม ประมาณ 40 องศา (เนื่องจากดาวศุกร์อยู่ใกล้โลก และมีความสว่างปรากฏมากกว่า) หลังจากนั้นจะสังเกตเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่ทางซ้ายของดาวศุกร์ และจะสามารถสังเกตเห็นทั้งดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีอยู่เคียงข้างกันบนท้องฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 21.30 น. ก็จะตกลับขอบฟ้าไป
นายศุภฤกษ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในวันที่ 25-26 มี.ค.นี้ ก็ยังจะมีความสวยงามบนท้องฟ้าอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน คือ ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี อยู่เคียงดวงจันทร์เสี้ยวบางๆ คล้ายกับพระจันทร์ยิ้มที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551 โดยในวันที่ 25 มีนาคม 2555 จะเห็นดวงจันทร์เสี้ยว 3 ค่ำ อยู่ด้านล่าง สูงจากขอบฟ้าทางทิศตะวันตกประมาณ 25 องศา ถัดขึ้นไปประมาณ 6 องศา จะเป็นดาวพฤหัสบดี และถัดไปอีก 15 องศา จะเป็นดาวศุกร์ ส่วนวันที่ 26 มี.ค. จะเห็นดวงจันทร์เสี้ยว 4 ค่ำ สูงจากขอบฟ้าทางทิศตะวันตกประมาณ 38 องศา อยู่ระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดาวศุกร์ สำหรับปรากฏการณ์ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวศุกร์ และดาวเคียงเดือน สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าได้ทุกภูมิภาคของประเทศ.
แหล่งที่มาข้อมูล www.thairath.co.th
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น