วันนี้ ( 16 ต.ค. ) ที่พระราชวังบายัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดผู้นำ ACD โดยมี H.H. Sheikh
Sabah Al-Ahmed Al-Jaber Al-Sabah เจ้าผู้ครองรัฐคูเวตรอให้การต้อนรับ
และเป็นประธานในพิธีเปิดร่วมกับผู้นำประเทศสมาชิก ACD กว่า 32 ประเทศ
โอกาสนี้นายกรัฐมนตรี ในฐานะเป็นประเทศผู้ประสานงาน ได้กล่าวว่า
ปัจจุบันโลกต้องเผชิญช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย
วิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปและปัญหาความยุ่งยากต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก
ล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ได้คาดการณ์เศรษฐกิจโลกจะโตที่
3.3 เปอร์เซ็นต์ มูลค่าการค้าโลกจะลดต่ำลงจาก 5.8
เมื่อปีที่แล้วเหลือเพียง 3.2 ในปีนี้ ซึ่งไม่ช้าหรือเร็ว
ประเทศในเอเชียย่อมได้รับผลกระทบด้วย
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า การประชุม ACD ในวันนี้ จึงมีความสำคัญ และทันต่อเวลา เพราะเป็นการส่งข้อความว่าเอเชียได้ยืนยัน ที่จะขยายความร่วมมือและการค้าการลงทุนภายในเอเชียและเชื่อมไปยังส่วนอื่น ของโลก ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ACD เป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ประเทศสมาชิกในเอเชียก้าวไปสู่เป้าหมายแห่งความ สำเร็จได้ โดย 1. สร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งหมายถึงการมีการขนส่งที่ดีขึ้น มีการเชื่อมโยงทางโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งจากโครงการเส้นทางรถไฟเชื่อมเอเชีย และโครงการเส้นทางรถไฟสายทรานไซบีเรีย ที่จะช่วยให้การค้าและการลงทุนหมุนเวียนได้ดีขึ้น และจะช่วยให้ทวีปเอเชียมีความเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น แต่จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎและระเบียบด้านการขนส่งข้ามพรมแดนที่คล้าย คลึงกัน และความเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังสามารถสร้าง "เส้นทางสายไหม" ใหม่สำหรับเอเชีย ที่สามารถนำความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นให้กับทุกคนได้ และเพื่อให้ไปถึงจุดนั้น ประเทศสมาชิกต้องร่วมกันหาเงินทุนที่จำเป็นต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดัง กล่าว
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวด้วยว่า 2. ด้านความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งยังเป็นจุดแข็งของทวีปเอเชีย โดยประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตอาหารหลักของโลก ได้สร้างกลยุทธ์ใหม่ในโครงการ “ครัวไทยสู่ครัวโลก” ซึ่งไทยกำลังมองหาประเทศพันธมิตรทั้งในและนอก ACD เพื่อช่วยในด้านการผลิต การส่งออกอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยรวมถึงอาหารฮาลาล ให้ไปสู่ “ครัวโลก” บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน ขณะเดียวกันไทยได้เตรียมพร้อมสำหรับการหารือเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร ภายใน ACD จากประสบการณ์ของไทยในอาเซียนและอาเซียนบวกสาม เกี่ยวกับคลังข้าวสำรองฉุกเฉินด้วย 3.ความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความมั่นคงทางอาหาร เพราะถ้าพลังงานมีเสถียรภาพ ก็หมายถึงการมีอาหารอย่างพอเพียงสำหรับทุกคน ทั้งนี้ การสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กลุ่มประเทศสมาชิก ACD ในด้านความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน ด้านการเพิ่มพูนแหล่งเงินทุนภายในภูมิภาค รวมถึงการส่งเสริมการทำงานร่วมกันในภูมิภาค เพื่อความเชื่อมโยงที่มากยิ่งขึ้น จะทำให้ ACD มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตของภูมิภาคเอเชีย และช่วยสนับสนุนพัฒนาการในด้านต่างๆของโลกด้วย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อย่างไรก็ตามขณะที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ACD ควรมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อช่วยวางแผนและติดตามการดำเนินการต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพการประชุมหารือของอดีตประธาน ACD ประธาน ACD ปัจจุบัน รวมถึงอนาคตประธาน ACD อีกทั้ง ไทยยังเสนอให้มีการจัดตั้งเลขาธิการ ACD เพื่อให้การดำเนินการต่างๆเป็นไปอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งการประชุมในประเด็นต่างๆเหล่านี้ควรจัดขึ้นในการประชุมระดับรัฐมนตรีใน ปี 2013 นี้ และไทยยังเสนอให้มีการจัด ACD Summits ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไทยมีความพร้อมในการทำงานร่วมกับประเทศสมาชิกทุกประเทศ และในการเป็นเจ้าภาพ ACD Summits ในปี 2015 ซึ่งเป็นปีแห่งการรวมตัวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้ ACD ประสบความสำเร็จสูงสุดในการดำเนินการ.
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า การประชุม ACD ในวันนี้ จึงมีความสำคัญ และทันต่อเวลา เพราะเป็นการส่งข้อความว่าเอเชียได้ยืนยัน ที่จะขยายความร่วมมือและการค้าการลงทุนภายในเอเชียและเชื่อมไปยังส่วนอื่น ของโลก ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ACD เป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ประเทศสมาชิกในเอเชียก้าวไปสู่เป้าหมายแห่งความ สำเร็จได้ โดย 1. สร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งหมายถึงการมีการขนส่งที่ดีขึ้น มีการเชื่อมโยงทางโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งจากโครงการเส้นทางรถไฟเชื่อมเอเชีย และโครงการเส้นทางรถไฟสายทรานไซบีเรีย ที่จะช่วยให้การค้าและการลงทุนหมุนเวียนได้ดีขึ้น และจะช่วยให้ทวีปเอเชียมีความเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น แต่จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎและระเบียบด้านการขนส่งข้ามพรมแดนที่คล้าย คลึงกัน และความเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังสามารถสร้าง "เส้นทางสายไหม" ใหม่สำหรับเอเชีย ที่สามารถนำความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นให้กับทุกคนได้ และเพื่อให้ไปถึงจุดนั้น ประเทศสมาชิกต้องร่วมกันหาเงินทุนที่จำเป็นต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดัง กล่าว
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวด้วยว่า 2. ด้านความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งยังเป็นจุดแข็งของทวีปเอเชีย โดยประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตอาหารหลักของโลก ได้สร้างกลยุทธ์ใหม่ในโครงการ “ครัวไทยสู่ครัวโลก” ซึ่งไทยกำลังมองหาประเทศพันธมิตรทั้งในและนอก ACD เพื่อช่วยในด้านการผลิต การส่งออกอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยรวมถึงอาหารฮาลาล ให้ไปสู่ “ครัวโลก” บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน ขณะเดียวกันไทยได้เตรียมพร้อมสำหรับการหารือเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร ภายใน ACD จากประสบการณ์ของไทยในอาเซียนและอาเซียนบวกสาม เกี่ยวกับคลังข้าวสำรองฉุกเฉินด้วย 3.ความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความมั่นคงทางอาหาร เพราะถ้าพลังงานมีเสถียรภาพ ก็หมายถึงการมีอาหารอย่างพอเพียงสำหรับทุกคน ทั้งนี้ การสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กลุ่มประเทศสมาชิก ACD ในด้านความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน ด้านการเพิ่มพูนแหล่งเงินทุนภายในภูมิภาค รวมถึงการส่งเสริมการทำงานร่วมกันในภูมิภาค เพื่อความเชื่อมโยงที่มากยิ่งขึ้น จะทำให้ ACD มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตของภูมิภาคเอเชีย และช่วยสนับสนุนพัฒนาการในด้านต่างๆของโลกด้วย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อย่างไรก็ตามขณะที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ACD ควรมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อช่วยวางแผนและติดตามการดำเนินการต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพการประชุมหารือของอดีตประธาน ACD ประธาน ACD ปัจจุบัน รวมถึงอนาคตประธาน ACD อีกทั้ง ไทยยังเสนอให้มีการจัดตั้งเลขาธิการ ACD เพื่อให้การดำเนินการต่างๆเป็นไปอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งการประชุมในประเด็นต่างๆเหล่านี้ควรจัดขึ้นในการประชุมระดับรัฐมนตรีใน ปี 2013 นี้ และไทยยังเสนอให้มีการจัด ACD Summits ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไทยมีความพร้อมในการทำงานร่วมกับประเทศสมาชิกทุกประเทศ และในการเป็นเจ้าภาพ ACD Summits ในปี 2015 ซึ่งเป็นปีแห่งการรวมตัวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้ ACD ประสบความสำเร็จสูงสุดในการดำเนินการ.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น