วันนี้ (17 ต.ค.) นายเริงชัย ประยูรเวช
รักษาการอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กล่าวถึงความคืบหน้าในการแก้ปัญหาการบุกรุกอุทยานแห่งชาติสิรินาถ
(หาดในยาง) อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ว่า การแก้ปัญหาการบุกรุกอุทยานฯ สิรินาถนั้น
ในวันที่ 24-25 ต.ค.นี้ ตนจะเชิญหัวหน้าชุดปฏิบัติการที่กรมอุทยานฯ
ได้ตั้งขึ้นมาทั้งหมด 366 ชุดมาทำความเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติงาน
โดยเฉพาะหลักปฏิบัติทางกฎหมายที่จะเข้าดำเนินคดีกับผู้บุกรุกพื้นที่อุทยานฯ
สิรินาถ เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
สู้กันด้วยเอกสารหลักฐานเป็นสำคัญจึงต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติ
งานโดยมีกฎหมายเป็นตัวรองรับอำนาจการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
จากนั้นจะฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ประมาณ 1 สัปดาห์ ช่วงปลายเดือน ต.ค.
เจ้าหน้าที่ชุดแรก 120 ชุดจะเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ที่ตัวเองรับผิดชอบได้
นายเริงชัย กล่าวอีกว่า กรณีการบุกรุกพื้นที่อุทยานฯ ทับลาน อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมาและ อ.นาดี จ. ปราจีนบุรีนั้น ก็ยังคงดำเนินนโยบายเดิมของนายดำรงค์ พิเดช อดีตอธิบดีกรมอุทยานฯ ซึ่งขณะนี้คดีที่เตรียมรื้อถอนยังอยู่ในชั้นศาลปกครอง 22 ราย หากศาลพิจารณาไม่คุ้มครอง ก็จะให้เจ้าหน้าที่อุทยานฯ รื้อถอนทันที แต่ถ้ามีขนาดสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เกินความสามารถรื้อถอนของเจ้าหน้าที่ อุทยานฯ ทับลาน ก็จะส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางเข้าไปรื้อถอนร่วมกัน
ทั้งนี้นายเริงชัย ยังกล่าวถึงกรณีความล่าช้าในการแต่งตั้งอธิบดีกรมอุทยานฯว่า ยอมรับว่าข้าราชการในกรมอุทยานฯ บางส่วนเริ่มไม่แน่ใจในนโยบายของกรมอุทยานฯ ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด แต่ยืนยันว่าไม่ว่าใครจะเข้ามาดำรงตำแหน่งนี้ก็ตามคงต้องดำเนินนโยบายแบบ เดิม และข้าราชการมีความยินดีและสามารถปฏิบัติงานร่วมกับอธิบดีได้ทุกคน
ด้านนายชีวะภาพ ชีวะธรรม หัวหน้าอุทยานฯ สิรินาถ กล่าวว่า ขณะนี้ได้จัดทำแฟ้มข้อมูลรายละเอียดพื้นที่ทั้ง 366 แปลง เนื้อที่กว่า 3,000 ไร่เรียบร้อยแล้ว โดยแบ่งให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทั้ง 16 แห่งทั่วประเทศของกรมอุทยานฯ ไปดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ในแต่ละสำนักฯ จับสลากเลือกแปลงบุกรุกที่ต้องรับผิดชอบกันเองแล้ว ทั้งนี้แต่ละสำนักฯ จะรับผิดชอบพื้นที่โดยเฉลี่ย 17-61 แปลงตามขนาดเนื้อที่ โดยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่ รับไปดำเนินการมากที่สุด 61 แปลง โดยเป้าหมายหลักจะอยู่บริเวณหาดในทอน หาดไม้ขาว เชิงทะเล หาดในยาง เป็นต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ชุดแรก 120 ชุดนั้น จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ในการเข้าไปตรวจสอบพื้นที่เป้าหมาย หลังจากนั้นชุดที่ 2 และ 3 ก็จะทยอยเข้าพื้นที่ตามลำดับ จากนั้นแต่ละทีมจะใช้เวลาประมาณ 10 วัน ในการเปรียบเทียบข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศและเอกสารที่ดินที่เกี่ยวข้อง
นายชีวะภาพ กล่าวต่อว่า คาดว่าภายใน 1 เดือน จะสามารถแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บุกรุกได้และจะทยอยดำเนินคดีจนกว่าจะครบ ทั้ง 366 แปลง ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นทีเกษตรกรรม พื้นที่รกร้างว่างเปล่า และบางส่วนเป็นผืนป่าที่มีสภาพสมบูรณ์แต่ถูกนำไปออกโฉนด ส่วนที่เหลือเป็นบ้านพักตากอากาศและโรงแรมขนาดกลาง 3-4 แห่งเท่านั้น ส่วนคดีทั้งหมดจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลได้เมื่อไร ก็ขึ้นอยู่กับพนักงานสอบสวนเพราะเอกสารที่เกี่ยวข้องมีมาก ทั้งนี้สำหรับความคืบหน้าการดำเนินการกับโรงแรม รีสอร์ทหรู 14 แห่งมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทนั้น ได้แจ้งความดำเนินคดีไป 11 แปลงแล้ว ส่วนอีก 3 แปลงอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสาร
ด้านนายเทวินทร์ มีทรัพย์ หัวหน้าอุทยานฯ ทับลาน กล่าวว่า จากการติดตามความคืบหน้าการรื้อถอนบ้านทะเลหมอกรีสอร์ทในส่วนอาคารที่เหลือ ซึ่งก่อนเกษียณอายุราชการเมื่อปลายเดือน ก.ย.ที่ผ่านมานายดำรงค์เตรียมเข้าไปรื้อถอนให้จบนั้น แต่เจ้าของรีสอร์ทแจ้งมาว่าจะขอรื้อถอนและเคลื่อนย้ายทรัพย์สินที่เหลือออก ไปเอง อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้พบว่ายังไม่รื้อถอนอาคารในส่วนที่เหลือออกไป ซึ่งตนกำลังเตรียมหารือกรมอุทยานฯ เพื่อให้บังคับคดีให้เจ้าของรีสอร์ทยอมออกไปจากพื้นที่ ทั้งนี้กระบวนการบังคับคดีและเจ้าของรีสอร์ทต้องส่งมอบพื้นที่ให้อุทยานฯ สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ช่วงปี 2550-2551 ซึ่งเจ้าทุกข์คืออุทยานฯ ทับลานก็ได้รับมอบพื้นที่ไว้หมดแล้ว แต่จนถึงขณะนี้เจ้าของรีสอร์ทก็ยังไม่ยอมออกไปจากพื้นที่ ดังนั้นจึงจะหารือกับทางฝ่ายกฎหมายของกรมอุทยานฯว่าจะต้องรื้อฟื้นการบังคับ คดีขึ้นมาใหม่หรือไม่ และจะต้องดำเนินการอย่างไร.
นายเริงชัย กล่าวอีกว่า กรณีการบุกรุกพื้นที่อุทยานฯ ทับลาน อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมาและ อ.นาดี จ. ปราจีนบุรีนั้น ก็ยังคงดำเนินนโยบายเดิมของนายดำรงค์ พิเดช อดีตอธิบดีกรมอุทยานฯ ซึ่งขณะนี้คดีที่เตรียมรื้อถอนยังอยู่ในชั้นศาลปกครอง 22 ราย หากศาลพิจารณาไม่คุ้มครอง ก็จะให้เจ้าหน้าที่อุทยานฯ รื้อถอนทันที แต่ถ้ามีขนาดสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่เกินความสามารถรื้อถอนของเจ้าหน้าที่ อุทยานฯ ทับลาน ก็จะส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางเข้าไปรื้อถอนร่วมกัน
ทั้งนี้นายเริงชัย ยังกล่าวถึงกรณีความล่าช้าในการแต่งตั้งอธิบดีกรมอุทยานฯว่า ยอมรับว่าข้าราชการในกรมอุทยานฯ บางส่วนเริ่มไม่แน่ใจในนโยบายของกรมอุทยานฯ ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด แต่ยืนยันว่าไม่ว่าใครจะเข้ามาดำรงตำแหน่งนี้ก็ตามคงต้องดำเนินนโยบายแบบ เดิม และข้าราชการมีความยินดีและสามารถปฏิบัติงานร่วมกับอธิบดีได้ทุกคน
ด้านนายชีวะภาพ ชีวะธรรม หัวหน้าอุทยานฯ สิรินาถ กล่าวว่า ขณะนี้ได้จัดทำแฟ้มข้อมูลรายละเอียดพื้นที่ทั้ง 366 แปลง เนื้อที่กว่า 3,000 ไร่เรียบร้อยแล้ว โดยแบ่งให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทั้ง 16 แห่งทั่วประเทศของกรมอุทยานฯ ไปดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ในแต่ละสำนักฯ จับสลากเลือกแปลงบุกรุกที่ต้องรับผิดชอบกันเองแล้ว ทั้งนี้แต่ละสำนักฯ จะรับผิดชอบพื้นที่โดยเฉลี่ย 17-61 แปลงตามขนาดเนื้อที่ โดยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่ รับไปดำเนินการมากที่สุด 61 แปลง โดยเป้าหมายหลักจะอยู่บริเวณหาดในทอน หาดไม้ขาว เชิงทะเล หาดในยาง เป็นต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ชุดแรก 120 ชุดนั้น จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ในการเข้าไปตรวจสอบพื้นที่เป้าหมาย หลังจากนั้นชุดที่ 2 และ 3 ก็จะทยอยเข้าพื้นที่ตามลำดับ จากนั้นแต่ละทีมจะใช้เวลาประมาณ 10 วัน ในการเปรียบเทียบข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศและเอกสารที่ดินที่เกี่ยวข้อง
นายชีวะภาพ กล่าวต่อว่า คาดว่าภายใน 1 เดือน จะสามารถแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บุกรุกได้และจะทยอยดำเนินคดีจนกว่าจะครบ ทั้ง 366 แปลง ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นทีเกษตรกรรม พื้นที่รกร้างว่างเปล่า และบางส่วนเป็นผืนป่าที่มีสภาพสมบูรณ์แต่ถูกนำไปออกโฉนด ส่วนที่เหลือเป็นบ้านพักตากอากาศและโรงแรมขนาดกลาง 3-4 แห่งเท่านั้น ส่วนคดีทั้งหมดจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลได้เมื่อไร ก็ขึ้นอยู่กับพนักงานสอบสวนเพราะเอกสารที่เกี่ยวข้องมีมาก ทั้งนี้สำหรับความคืบหน้าการดำเนินการกับโรงแรม รีสอร์ทหรู 14 แห่งมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทนั้น ได้แจ้งความดำเนินคดีไป 11 แปลงแล้ว ส่วนอีก 3 แปลงอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสาร
ด้านนายเทวินทร์ มีทรัพย์ หัวหน้าอุทยานฯ ทับลาน กล่าวว่า จากการติดตามความคืบหน้าการรื้อถอนบ้านทะเลหมอกรีสอร์ทในส่วนอาคารที่เหลือ ซึ่งก่อนเกษียณอายุราชการเมื่อปลายเดือน ก.ย.ที่ผ่านมานายดำรงค์เตรียมเข้าไปรื้อถอนให้จบนั้น แต่เจ้าของรีสอร์ทแจ้งมาว่าจะขอรื้อถอนและเคลื่อนย้ายทรัพย์สินที่เหลือออก ไปเอง อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้พบว่ายังไม่รื้อถอนอาคารในส่วนที่เหลือออกไป ซึ่งตนกำลังเตรียมหารือกรมอุทยานฯ เพื่อให้บังคับคดีให้เจ้าของรีสอร์ทยอมออกไปจากพื้นที่ ทั้งนี้กระบวนการบังคับคดีและเจ้าของรีสอร์ทต้องส่งมอบพื้นที่ให้อุทยานฯ สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ช่วงปี 2550-2551 ซึ่งเจ้าทุกข์คืออุทยานฯ ทับลานก็ได้รับมอบพื้นที่ไว้หมดแล้ว แต่จนถึงขณะนี้เจ้าของรีสอร์ทก็ยังไม่ยอมออกไปจากพื้นที่ ดังนั้นจึงจะหารือกับทางฝ่ายกฎหมายของกรมอุทยานฯว่าจะต้องรื้อฟื้นการบังคับ คดีขึ้นมาใหม่หรือไม่ และจะต้องดำเนินการอย่างไร.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น