วันนี้ ( 8 ส.ค. ) นายจงเจริญ กิจสำราญกุล ผอ.กองนิติการ
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการเข้าชี้แจงต่อศาลปกครองกลางตามคำร้องของรีสอร์ตบ้าน
ทะเลหมอก ที่ขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินเพื่อคุ้มครองการรื้อถอน ว่า
ได้ชี้แจงต่อศาลแล้วว่าถ้าคุ้มครอง
หรือชะลอการรื้อถอนจะเกิดความเสียหายต่อส่วนรวมอย่างไร
และแสดงให้เห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ
นอกจากนั้นยังจะกระทบกับการจัดการพื้นที่อุทยานฯ ทั่วประเทศ ทั้ง 127 แห่ง
ซึ่งมีปัญหาการบุกรุกทุกที่ โดยเฉพาะกรณีนายทุนที่เข้าไปก่อสร้างรีสอร์ต
โรงแรม ก็จะไม่หยุดก่อสร้าง ทั้งนี้พื้นที่อุทยานฯ
ทับลานมีการบุกรุกรุนแรงมาก
ที่สำคัญยังเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่
ซึ่งคณะกรรมการมรดกโลกมีคำสั่งให้ประเทศไทยแก้ปัญหาบุกรุกพื้นที่โดยรีสอร์ต
โรงแรม และบ้านพักตากอากาศ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 ก.พ. 2556
ไม่เช่นนั้นจะถูกจัดเข้าแบล็กลิสต์และถูกถอดถอนจากการเป็นมรดกโลกในที่สุด
นายจงเจริญ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ศาลตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงเพิ่งมาดำเนินการในช่วงเวลานี้ ก็ได้ชี้แจงไปว่าที่ผ่านมารีสอร์ตขอทุเลาการบังคับคดี และมีการทำเรื่องขอเช่าพื้นที่ จนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าไม่สามารถให้เช่าพื้นที่อุทยานฯ ได้ เพราะการปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างในพื้นที่อุทยานฯ เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายตั้งแต่แรก เรื่องนี้สุดแล้วแต่ดุลยพินิจของศาลเราไม่ก้าวล่วง ถ้าไม่ให้ดำเนินการรื้อถอนต่อเราก็ไม่ทำ อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผ่านมาที่รีสอร์ตบ้านพัก ตากอากาศ ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองขอคุ้มครองการรื้อถอน ศาลปกครองก็ได้พิจารณายกคำร้อง เช่น กรณีรีสอร์ตบ้านผางาม ที่อยู่ติดกับรีสอร์ตบ้านทะเลหมอก และอีกหลายแห่งศาลก็ไม่รับคำร้อง แต่รีสอร์ตบ้านผางามอ้างว่ามีหลักฐานใหม่และขอรื้อคดีในศาลยุติธรรม ซึ่งขณะนี้อยู่ในชั้นการพิจารณาของศาลฎีกา
นายจงเจริญ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีที่ทะเลหมอกรีสอร์ตระบุว่าอุทยานฯ เขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จ.ระยอง สามารถให้เช่าได้นั้น ได้ชี้แจงไปว่าเป็นคนละพื้นที่จะนำมาอ้างไม่ได้ พื้นที่เสม็ดเป็นพื้นที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ มาตั้งแต่ต้นและให้ทหารเรือใช้ประโยชน์มาก่อน อุทยานฯ ไปประกาศเขตในภายหลัง การบังคับใช้กฎหมายจึงไม่เหมือนกัน ซึ่งรายได้จากการเช่าที่ดินบนเกาะเสม็ดก็เป็นของกรมธนารักษ์ ไม่ใช่กรมอุทยานฯ เพราะนโยบายของกรมอุทยานฯ ไม่มีการให้เช่าพื้นที่ทำรีสอร์ตแน่นอน เราต้องปฏิบัติตามคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งมติ ครม. เมื่อปี 2484 นั้น หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามการตีความของคณะกรรมการ กฤษฎีกา หากไม่ดำเนินการรื้อถอนก็จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และต้องถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตรวจสอบต่อไป กรมอุทยานฯ ไม่ได้เลือกปฏิบัติแต่ยืนยันว่าไม่มีนโยบายให้เช่าพื้นที่
เมื่อถามถึงกรณีมีข่าวว่ากรมอุทยานฯ ได้หารือกันถึงกรณีที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ในขณะนี้ อนุมัติให้เจ้าของรีสอร์ททำเรื่องขอเช่าแทนการรื้อถอนตาม พ.ร.บ.อุทยานฯ มาตรา 22 ถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องมีความผิดด้วยนั้น นายจงเจริญ กล่าวว่า โดยคำพิพากษาของศาล จ.กบินทร์บุรี ตัดสินให้จำเลยมีความผิดตามกฎหมายป่าไม้ที่เกี่ยวข้องและให้จำเลยและบริวาร ออกจากพื้นที่เท่านั้น ส่วนการรื้อถอนกรมอุทยานฯ หรือกรมป่าไม้ในขณะนั้นต้องออกคำสั่งให้หัวหน้าอุทยานฯ ดำเนินการรื้อถอนตามมาตรา 22 พ.ร.บ.อุทยานฯ ต่อไป ทั้งนี้ในการดำเนินการตารมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.อุทยานฯ นั้นไม่จำเป็นต้องรอศาลตัดสิน เพราะกฎหมายให้อำนาจหัวหน้าอุทยานฯ ดำเนินการในพื้นที่บุกรุกได้เลย แต่นโยบายขณะนั้นให้หาแนวทางในการเช่าพื้นที่
แหล่งข่าวฯ ระบุอีกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากกการไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะมาตรา 22 พ.ร.บ.อุทยานฯ จึงทำให้รีสอร์ตหลายแห่งที่ศาลตัดสินความผิดแล้วยังสามารถประกอบกิจการหาผล ประโยชน์ในพื้นที่อุทยานฯ ได้อย่างไม่หวั่นวิตก และไม่ต้องจ่ายค่าเช่าให้ทางรัฐแต่อย่างใด ประกอบกับก่อนหน้านั้นในช่วงปี 2543 มีความพยายามในการจัดทำแนวเขตอุทยานฯทับลานใหม่เพื่อกันพื้นที่ออกและเพิก ถอนเขตอุทยานฯ ให้กับประชาชนที่อยู่มาก่อนประกาศเขตอุทยานฯ โดยมีหน่วยงาน คือกรมป่าไม้ ร่วมกับจังหวัด และประชาชนในพื้นที่ร่วมกันจัดทำแนวเขต แต่แนวเขตอุทยานฯ ปี 2543 นี้ ไม่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. เพราะจะทำให้เสียพื้นที่ป่าไปกว่าแสนไร่ อีกทั้งยังไม่ได้มีการพิสูจน์สิทธิ์ตามมติ ครม. 30 มิ.ย. 2541อย่างชัดเจน แต่ขณะนี้ก็ยังมีความพยายามจากนักการเมือง ผู้มีอิทธิพล และนายทุนใน ที่มีที่ดินอยู่ในเขตอุทยานฯ ทับลาน พยายามผลักดันและยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลประกาศแนวเขตอุทยานฯ ใหม่โดยยึดแนวเขตปี 2543 ซึ่งจะทำให้พื้นที่บุกรุก รีสอร์ต บ้านพักตากอากาศจำนวนมาก รวมทั้งบ้านทะเลหมอกรีสอร์ตอยู่นอกเขตอุทยานฯ ทับลาน และสามารถประกอบกิจการในพื้นที่ต่อไปได้
นายจงเจริญ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ศาลตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงเพิ่งมาดำเนินการในช่วงเวลานี้ ก็ได้ชี้แจงไปว่าที่ผ่านมารีสอร์ตขอทุเลาการบังคับคดี และมีการทำเรื่องขอเช่าพื้นที่ จนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าไม่สามารถให้เช่าพื้นที่อุทยานฯ ได้ เพราะการปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างในพื้นที่อุทยานฯ เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายตั้งแต่แรก เรื่องนี้สุดแล้วแต่ดุลยพินิจของศาลเราไม่ก้าวล่วง ถ้าไม่ให้ดำเนินการรื้อถอนต่อเราก็ไม่ทำ อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผ่านมาที่รีสอร์ตบ้านพัก ตากอากาศ ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองขอคุ้มครองการรื้อถอน ศาลปกครองก็ได้พิจารณายกคำร้อง เช่น กรณีรีสอร์ตบ้านผางาม ที่อยู่ติดกับรีสอร์ตบ้านทะเลหมอก และอีกหลายแห่งศาลก็ไม่รับคำร้อง แต่รีสอร์ตบ้านผางามอ้างว่ามีหลักฐานใหม่และขอรื้อคดีในศาลยุติธรรม ซึ่งขณะนี้อยู่ในชั้นการพิจารณาของศาลฎีกา
นายจงเจริญ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีที่ทะเลหมอกรีสอร์ตระบุว่าอุทยานฯ เขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จ.ระยอง สามารถให้เช่าได้นั้น ได้ชี้แจงไปว่าเป็นคนละพื้นที่จะนำมาอ้างไม่ได้ พื้นที่เสม็ดเป็นพื้นที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ มาตั้งแต่ต้นและให้ทหารเรือใช้ประโยชน์มาก่อน อุทยานฯ ไปประกาศเขตในภายหลัง การบังคับใช้กฎหมายจึงไม่เหมือนกัน ซึ่งรายได้จากการเช่าที่ดินบนเกาะเสม็ดก็เป็นของกรมธนารักษ์ ไม่ใช่กรมอุทยานฯ เพราะนโยบายของกรมอุทยานฯ ไม่มีการให้เช่าพื้นที่ทำรีสอร์ตแน่นอน เราต้องปฏิบัติตามคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งมติ ครม. เมื่อปี 2484 นั้น หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามการตีความของคณะกรรมการ กฤษฎีกา หากไม่ดำเนินการรื้อถอนก็จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และต้องถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตรวจสอบต่อไป กรมอุทยานฯ ไม่ได้เลือกปฏิบัติแต่ยืนยันว่าไม่มีนโยบายให้เช่าพื้นที่
เมื่อถามถึงกรณีมีข่าวว่ากรมอุทยานฯ ได้หารือกันถึงกรณีที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ในขณะนี้ อนุมัติให้เจ้าของรีสอร์ททำเรื่องขอเช่าแทนการรื้อถอนตาม พ.ร.บ.อุทยานฯ มาตรา 22 ถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องมีความผิดด้วยนั้น นายจงเจริญ กล่าวว่า โดยคำพิพากษาของศาล จ.กบินทร์บุรี ตัดสินให้จำเลยมีความผิดตามกฎหมายป่าไม้ที่เกี่ยวข้องและให้จำเลยและบริวาร ออกจากพื้นที่เท่านั้น ส่วนการรื้อถอนกรมอุทยานฯ หรือกรมป่าไม้ในขณะนั้นต้องออกคำสั่งให้หัวหน้าอุทยานฯ ดำเนินการรื้อถอนตามมาตรา 22 พ.ร.บ.อุทยานฯ ต่อไป ทั้งนี้ในการดำเนินการตารมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.อุทยานฯ นั้นไม่จำเป็นต้องรอศาลตัดสิน เพราะกฎหมายให้อำนาจหัวหน้าอุทยานฯ ดำเนินการในพื้นที่บุกรุกได้เลย แต่นโยบายขณะนั้นให้หาแนวทางในการเช่าพื้นที่
แหล่งข่าวฯ ระบุอีกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากกการไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะมาตรา 22 พ.ร.บ.อุทยานฯ จึงทำให้รีสอร์ตหลายแห่งที่ศาลตัดสินความผิดแล้วยังสามารถประกอบกิจการหาผล ประโยชน์ในพื้นที่อุทยานฯ ได้อย่างไม่หวั่นวิตก และไม่ต้องจ่ายค่าเช่าให้ทางรัฐแต่อย่างใด ประกอบกับก่อนหน้านั้นในช่วงปี 2543 มีความพยายามในการจัดทำแนวเขตอุทยานฯทับลานใหม่เพื่อกันพื้นที่ออกและเพิก ถอนเขตอุทยานฯ ให้กับประชาชนที่อยู่มาก่อนประกาศเขตอุทยานฯ โดยมีหน่วยงาน คือกรมป่าไม้ ร่วมกับจังหวัด และประชาชนในพื้นที่ร่วมกันจัดทำแนวเขต แต่แนวเขตอุทยานฯ ปี 2543 นี้ ไม่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. เพราะจะทำให้เสียพื้นที่ป่าไปกว่าแสนไร่ อีกทั้งยังไม่ได้มีการพิสูจน์สิทธิ์ตามมติ ครม. 30 มิ.ย. 2541อย่างชัดเจน แต่ขณะนี้ก็ยังมีความพยายามจากนักการเมือง ผู้มีอิทธิพล และนายทุนใน ที่มีที่ดินอยู่ในเขตอุทยานฯ ทับลาน พยายามผลักดันและยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลประกาศแนวเขตอุทยานฯ ใหม่โดยยึดแนวเขตปี 2543 ซึ่งจะทำให้พื้นที่บุกรุก รีสอร์ต บ้านพักตากอากาศจำนวนมาก รวมทั้งบ้านทะเลหมอกรีสอร์ตอยู่นอกเขตอุทยานฯ ทับลาน และสามารถประกอบกิจการในพื้นที่ต่อไปได้
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น