วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ถกดับไฟใต้ตั้งศปก.จชต.


วันนี้ ( 8 ส.ค. ) ที่ทำเนียบรัฐบาล  พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) แถลงถึงผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้(กปต.) ว่า เป็นการประชุมเพื่อรับทราบความคืบหน้าการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ แก้ไขปัญหานี้ อีกทั้งเห็นชอบในหลักการเรื่องการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจังหวัด ชายแดนภาคใต้(ศปก.จชต.)ตามข้อเสนอของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราช อาณาจักร(กอ.รมน.) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการติดตามการดำเนินงานจากระดับพื้นที่ขึ้นมาในระดับสูง เพื่อพิจารณาตกลงใจแก้ปัญหา ทั้งนี้มีพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้ง นายกรัฐมนตรียังมอบหมายให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย  และร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เข้ามาช่วยเสริมการทำงาน ซึ่งศปก.จชต.จะเป็นตัวสนับสนุนข้อมูลการดำเนินงานเพื่อให้ด้านข้อมูล เพื่อให้มีการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วตรงกัน โดยนายกรัฐมนตรี เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ
เลขาธิการสมช. กล่าวอีกว่า สำหรับผลคืบหน้าของการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ได้มีการเร่งรัดดำเนินการตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ร่วมในเรื่องการเสริมสร้าง ความปลอดภัย และข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีใน 4 เรื่อง คือ 1.การจัดให้มีเขตรักษาความปลอดภัย(เซฟตี้ โซน)เป็นการเฉพาะ โดยเน้น 13 พื้นที่ คือ อ.เมือง จ.ปัตตานี, อ.เมือง จ.ยะลา, อ.เบตง จ.ยะลา, อ.เมือง จ.นราธิวาส, อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส, อ.ตากใบ จ.นราธิวาส, อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา, อ.ยะรัง จ.ปัตตานี, อ.ธารโต จ.ยะลา, อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส, อ.ระแงะ จ.นราธิวาส, อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา  2.การติดตั้งกล้องทีวีวงจรปิด(ซีซีทีวี) รอบคลุมทุกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3.การจัดให้มีการตั้งด่านตรวจที่ ต.ควนมีด อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ 4.การตรวจสอบการย้ายถิ่นของบุคคล และการเคลื่อนย้ายยานพาหนะ และให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศมาเลเซีย
พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรียังสั่งการให้ทุกส่วนราชการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณดำเนิน การในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ในปี 2555 แต่ยังไม่ดำเนินการนั้น ต้องไม่นำงบประมาณไปใช้นอกพื้นที่ และให้นำไปจัดทำแผนงานหรือโครงการที่ตอบสนองเป้าหมายยุทธศาสตร์ร่วม 29 ข้อ และข้อสั่งการ 6 ข้อของนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องกล้องซีซีทีวีและเซฟตี้โซนที่เราต้องเพิ่มความ เข้มงวดในการตรวจตรามากขึ้น ส่วนแนวคิดการประกาศเคอร์ฟิวนั้นถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ทั้งนี้แม่ทัพภาคที่ 4 เห็นว่ายังไม่จำเป็นที่ต้องประกาศในขณะนี้
เมื่อถามว่าจะแจ้งเตือนประชาชนถึงการก่อเหตุได้อย่างไร พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า เราจะพัฒนาระบบการข่าว ถ้าพบว่าจะมีการก่อเหตุ ก็จะแจ้งเตือนด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดความตระหนกและกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยฝ่ายที่ดูแลยุทธศาสตร์จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องของรายละเอียดของการทำงาน ต่อไป ซึ่งกอ.รมน.ภาค 4 และศอ.บต.ได้ดำเนินการแล้วเช่นกัน เมื่อได้ทะเบียนรถและหน้าตาของผู้ต้องสงสัยมาแล้ว เจ้าหน้าที่และด่านตรวจต้องรู้ รวมถึงประชาชนต้องรู้ผ่านผู้นำชุมชนเช่นกัน
ด้าน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) กล่าวว่า เป้าหมายที่วางไว้คือเราจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดความรุนแรงในพื้นที่เขต อ.เมือง ใน 3 จังหวัด และเขตเศรษฐกิจ ซึ่ง ศปก.จชต.ที่ตั้งขึ้นมาก็เพื่อมาช่วยบูรณาการการทำงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้า หมายนี้ โดยประเด็นหลักสำคัญคือเราต้องการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ ปัญหาด้วย ซึ่งอาจจะเป็นในรูปของอาสามัครพิทักษณ์เมือง หรือตาสับปะรดเป็นต้น
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ได้ทำความเข้าใจในรายละเอียดแผนปฏิบัติการทั้งหมดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจบนพื้นฐานเดียวกัน  และจัดลำดับความสำคัญ และเร่งดำเนินการ รวมทั้งจัดสรรงบประมาณลงไปดูแลเรื่องความมั่นคงและความปลอดภัยทั้งหมด ทั้งนี้ยืนยันว่าตั้งศูนย์ปฏิบัติการขึ้นมาเสริมนั้น ไม่ได้เป็นการซ้ำซ้อน ซึ่งศูนย์ดังกล่าวก็อยู่ภายใต้ กปต.ที่มี พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานอยู่แล้ว ส่วนเจ้าหน้าที่ที่จะลงไปปฏิบัติงานก็เป็นชุดเดิม เพียงแต่ให้ทำงานภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ซึ่งสิ่งที่ได้มาจากการหารือวันนี้คือความเป็นเอกภาพในการทำงาน
“การแก้ปัญหาภาคใต้ต้องใช้เวลา เพราะต้องมีความเข้าใจและมีการวิเคราะห์ ไม่ได้หมายความว่าจะแก้ปัญหาได้เสร็จในระยะสั้น หรือเป็นการมาทบทวนแผนใด ๆ เพียงแต่เป็นการบูรณาการงานทั้งหมดกับหน่วยงานที่รับผิดชอบซึ่งมีมากถึง 17 กระทรวง 66 หน่วยงาน เราไม่ลืมที่จะดูแลเรื่องความมั่นคง เราต้องพยายามทำให้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันงานด้านการพัฒนา การสร้างความเข้าใจ การยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนก็เป็นอีกภารกิจที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และร่วมกันทำงานเพื่อให้เกิดสันติสุขโดยเร็วที่สุด” นายกรัฐมนตรี กล่าว และว่าสำหรับการประกาศเคอร์ฟิวนั้น ที่ประชุมไม่ได้พิจารณา เพราะเรื่องนี้ต้องดูสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วย การประกาศเคอร์ฟิวไม่ได้เป็นสิ่งที่จะแก้ปัญหา เราต้องทำความเข้าใจก่อน
เมื่อถามว่ามีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้ความรุนแรงลดน้อยลง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ต้องขอความร่วมมือกับสื่อมวลชนในการเสนอข่าวด้วย แม้บางครั้งก็จะทำให้ประชาชนตกใจและเป็นกังวลได้ เพราะปัญหาความมั่นคงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งเราไม่สามารถแถลงรายละเอียดได้ ดังนั้นต้องขอเวลาให้เจ้าหน้าที่ได้ลงไปทำงาน รวมทั้งขอกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่และประชาชนด้วย ส่วนกับประเทศเพื่อบ้าน  โดยเฉพาะมาเลเซียนั้น เราได้ขอความร่วมมืออยู่แล้ว.

0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Blog Archive

Design Downloaded from ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ รามคำแหง บางกะปิ | Free Textures | Web Design Resources