ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) วันนี้ (13 พ.ย.) พล.ต.ต.ธนา ชูวงศ์
รองโฆษก ตร.กล่าวถึง
มาตรการดูแลการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ว่า
เนื่องด้วยการก่อเหตุคดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญ และคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์
ส่วนใหญ่คนร้ายจะใช้อาวุธปืนในการกระทำความผิด
และหลายคดีได้กระทำการในลักษณะอุกอาจ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย
ก่อให้เกิดความหวาดกลัวแก่ประชาชนทั่วไป
ฉะนั้นเพื่อลดความรุนแรงการก่อเหตุอาชญากรรม พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว
ผบ.ตร.ได้สั่งการให้ดำเนินการดังนี้
1.หัวหน้าสถานีตำรวจทุกแห่ง ต้องประชุมฝ่ายสืบสวน สอบสวน ป้องกันและปราบปราม เพื่อรับทราบสถานการณ์อาชญากรรมในพื้นที่รับผิดชอบด้วยตนเองทุกวัน 2.ปรับแผนการจัดสายตรวจทุกประเภทให้เหมาะสมกับห้วงเวลา และแนวโน้มอาชญากรรมที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง จุดล่อแหลม อย่างธนาคารที่ไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ร้านสะดวกซื้อ โดยจะต้องเพิ่มความเข้มในการตรวจช่วงใกล้ปิด หรือในยามวิกาล
3.ออกแผนเผชิญเหตุคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ธนาคาร ร้านทอง ย่านธุรกิจการค้าที่ไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ก่อนกำหนดจุดตรวจ หรือจุดสกัดเคลื่อนที่ จุดก้าวสกัดจับที่ชัดเจนเมื่อเกิดเหตุ และต้องซักซ้อมการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุอย่างจริงจัง 4.ตั้งจุดตรวจบุคคล ยานพาหนะในเส้นทางล่อแหลม เพื่อตรวจค้นอาวุธทุกชนิดที่อาจจะนำไปใช้ในการกระทำความผิด โดยเฉพาะผู้ขับขี่รถที่ไม่มีใบอนุญาต หรือไม่มีสำเนาทะเบียนรถ ทั้งนี้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด พร้อมถ่ายรูปทำประวัติเก็บไว้เป็นหลักฐาน
5.ระดมกวาดล้างอาวุธปืน อาวุธสงคราม และบุคคลตามหมายจับในคดียาเสพติดและคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์ ตั้งแต่วันที่ 12 – 20 พ.ย.นี้ โดยในช่วงระดมให้เข้มงวดกวดขันในการตรวจตราสถานบริการ ร้านคาราโอเกะ ร้านข้าวต้มโต้รุ่ง สถานที่ที่เป็นแหล่งมั่วสุมนักเลงอันธพาล เพื่อกดดันและจำกัดเสรีภาพในการก่อเหตุอาชญากรรม
6.ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถานที่ที่อาจตกเป็นเป้าหมายในการกระทำผิด เกี่ยวกับทรัพย์ ให้เพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันตนเอง และตรวจสอบกล้องวงจรปิดที่มีอยู่ แลหากเกิดเหตุ ขอแนะนำให้พยายามสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณคนร้าย และยานพาหนะ หรือการบันทึกภาพคนร้ายด้วยโทรศัพท์มือถือ ก่อนแจ้งข้อมูลดังกล่าวมายัง สน.หรือ สภ.ท้องที่ทราบโดยเร็วที่สุด 7.ให้ ผบก.และรอง ผบก.น.หรือ ผบก.ภ.จว.ลงไปควบคุมกำกับเร่งรัดการปฏิบัติ และสุ่มตรวจสอบการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด การซักซ้อมแผนเผชิญเหตุด้วยตนเอง
8.ให้ บช.ก.กำชับทุกหน่วยในสังกัดที่รับผิดชอบพื้นที่ ให้เพิ่มมาตรการเชิงรุก เพื่อสนับสนุนการควบคุมและลดความรุนแรงของอาชญากรรมตามนโยบายของ ตร.โดยให้ประสานการปฏิบัติกับ ผบก.น.หรือ ผบก.ภ.จว.อย่างใกล้ชิด และ 9.ให้รายงานรอง ผบ.ตร.หรือที่ปรึกษา (สบ10) และผู้ช่วย ผบ.ตร.ที่รับผิดชอบงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรมผ่านระบบโพลิส..
1.หัวหน้าสถานีตำรวจทุกแห่ง ต้องประชุมฝ่ายสืบสวน สอบสวน ป้องกันและปราบปราม เพื่อรับทราบสถานการณ์อาชญากรรมในพื้นที่รับผิดชอบด้วยตนเองทุกวัน 2.ปรับแผนการจัดสายตรวจทุกประเภทให้เหมาะสมกับห้วงเวลา และแนวโน้มอาชญากรรมที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง จุดล่อแหลม อย่างธนาคารที่ไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ร้านสะดวกซื้อ โดยจะต้องเพิ่มความเข้มในการตรวจช่วงใกล้ปิด หรือในยามวิกาล
3.ออกแผนเผชิญเหตุคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ธนาคาร ร้านทอง ย่านธุรกิจการค้าที่ไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ก่อนกำหนดจุดตรวจ หรือจุดสกัดเคลื่อนที่ จุดก้าวสกัดจับที่ชัดเจนเมื่อเกิดเหตุ และต้องซักซ้อมการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุอย่างจริงจัง 4.ตั้งจุดตรวจบุคคล ยานพาหนะในเส้นทางล่อแหลม เพื่อตรวจค้นอาวุธทุกชนิดที่อาจจะนำไปใช้ในการกระทำความผิด โดยเฉพาะผู้ขับขี่รถที่ไม่มีใบอนุญาต หรือไม่มีสำเนาทะเบียนรถ ทั้งนี้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด พร้อมถ่ายรูปทำประวัติเก็บไว้เป็นหลักฐาน
5.ระดมกวาดล้างอาวุธปืน อาวุธสงคราม และบุคคลตามหมายจับในคดียาเสพติดและคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์ ตั้งแต่วันที่ 12 – 20 พ.ย.นี้ โดยในช่วงระดมให้เข้มงวดกวดขันในการตรวจตราสถานบริการ ร้านคาราโอเกะ ร้านข้าวต้มโต้รุ่ง สถานที่ที่เป็นแหล่งมั่วสุมนักเลงอันธพาล เพื่อกดดันและจำกัดเสรีภาพในการก่อเหตุอาชญากรรม
6.ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถานที่ที่อาจตกเป็นเป้าหมายในการกระทำผิด เกี่ยวกับทรัพย์ ให้เพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันตนเอง และตรวจสอบกล้องวงจรปิดที่มีอยู่ แลหากเกิดเหตุ ขอแนะนำให้พยายามสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณคนร้าย และยานพาหนะ หรือการบันทึกภาพคนร้ายด้วยโทรศัพท์มือถือ ก่อนแจ้งข้อมูลดังกล่าวมายัง สน.หรือ สภ.ท้องที่ทราบโดยเร็วที่สุด 7.ให้ ผบก.และรอง ผบก.น.หรือ ผบก.ภ.จว.ลงไปควบคุมกำกับเร่งรัดการปฏิบัติ และสุ่มตรวจสอบการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด การซักซ้อมแผนเผชิญเหตุด้วยตนเอง
8.ให้ บช.ก.กำชับทุกหน่วยในสังกัดที่รับผิดชอบพื้นที่ ให้เพิ่มมาตรการเชิงรุก เพื่อสนับสนุนการควบคุมและลดความรุนแรงของอาชญากรรมตามนโยบายของ ตร.โดยให้ประสานการปฏิบัติกับ ผบก.น.หรือ ผบก.ภ.จว.อย่างใกล้ชิด และ 9.ให้รายงานรอง ผบ.ตร.หรือที่ปรึกษา (สบ10) และผู้ช่วย ผบ.ตร.ที่รับผิดชอบงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรมผ่านระบบโพลิส..
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น