วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ส.ว.จี้รัฐทบทวนกฎหมายพลังงาน


เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนางพรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 เป็นประธาน โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้หารือว่า ขอให้รัฐบาลทบทวนหลักการสำคัญของ พ.ร.บ ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยตลอดเวลา 41 ปี คือการอนุญาตให้ผู้สัมปทานส่งออกได้ไม่จำกัด หากจะขายในประเทศจะต้องใช้ราคาตลาดโลกและบวกค่าขนส่ง ขณะที่ผลตอบแทนรัฐได้รับเป็นเพียง 30 % จากยอดขายได้ ถือว่าอยู่ในระดับกลาง ๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น
ทั้งนี้รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายปรับยุทธศาสตร์ประเทศใหม่โดยจะลงทุนสาธารณูประ โภคขนาดใหญ่ สร้างรถไฟความเร็วสูง 6 สาย สร้างท่าเรือน้ำลึกที่ทวาย รวมทั้งการลงทุนป้องกันน้ำท่วม 3.5 แสนล้านบาท เป็นเงินลงทุนทั้งหมดมาจากการกู้ การนำทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้ การลงทุนมหาศาล อาจนำมาซึ่งปัญหาเงินเฟ้อ หากรัฐสามารถปรับให้ประเทศมีรายได้จากทรัพยากรปิโตรเลียมเพิ่มมากขึ้น สามารถมีเงินมาลงทุน โดยไม่ต้องกู้

น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพฯ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลได้ชะลอเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในปี 2555 เนื่องจากมีการคัดค้านเรื่องผลประโยชน์ต่างตอบแทนที่รัฐควรจะได้ ขณะที่อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการศึกษาฯว่า สามารถเก็บผลตอบแทนตามพ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยมฯ 12.5 %  แต่เมื่อปี พ.ศ.2532 ได้ลดลงโดยเปลี่ยนเป็นการเก็บขั้นบันได 5-15  % แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบเปลี่ยนแปลงไป 400 % ดังนั้น จึงควรเปลี่ยนแปลงผลตอบแทน เพื่อให้ประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุด แต่อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็ชี้แจงว่าผลตอบแทนที่รัฐได้คือ 55% เอกชนได้ 45 % ซึ่งการคิดแบบนี้ถือว่าทรัพยากรเป็นสิ่งที่ได้เปล่าจึงไม่ถูกต้อง เพราะข้อเท็จจริงรัฐได้ผลตอบแทนเพียง 31 %  จึงอยากให้รัฐมีการแก้ไขก่อนที่จะมีการเปิดประมูลรอบที่ 21
ด้าน นายวิบูลย์ คูหิรัญ ส.ว.สรรหา หารือว่า ขณะนี้พลังงานไฟฟ้าของไทยเริ่มเข้าขั้นวิกฤตเพราะมีการคัดค้านการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือคอนเวนชั่นนอลตลอดมา ทำให้ต้องไปก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำหรือถ่านหินในประเทศเพื่อนบ้านแล้วส่ง กลับมาขายในไทย ขณะที่ไทยมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์และลม รวมทั้งจากขยะโดยคัดค้านน้อยมาก เพราะคิดแต่เพียงว่าเป็นพลังงานสะอาด อย่างไรก็ตามกมธ.พลังงาน วุฒิสภา ได้เดินทางไปดูงานด้านไฟฟ้าที่ประเทศสเปนได้ข้อมูลและคำเตือนจากสเปนมาว่า ไม่ควรเร่งก่อสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์และลมควรค่อย ๆ ศึกษาพร้อมวิจัยไปด้วย เพราะเกรงว่าจะเหมือนสเปนที่มีกำลังผลิตทั้งสิ้น1 แสนเมกกะวัตต์เป็นพลังแสงอาทิตย์และลมจำนวน 4 หมื่นเมกกะวัตต์ที่จะต้องผลิตทั้งหมดเพื่อจ่าย ส่วนอีก 1 หมื่นเมกกะวัตต์จ่ายจากระบบคอนเวนชั่นนอลและกำลังผลิตที่เหลืออีก 50 เปอร์เซ็นต์ ใช้เป็นกำลังสำรองที่ต้องเดินเครื่องเบา ๆ ขนานไว้ ทำให้เป็นการลงทุนซ้ำซ้อน เพราะพลังแสงอาทิตย์และลมจ่ายได้ไม่สม่ำเสมอทำให้ค่าไฟที่สเปน ขณะนี้หน่วยละ 15 ยูโรเซ็นต์หรือ 6 บาท

ขณะที่ไทยหน่วยละ 3 บาท แต่จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆไปตามสัดส่วนเมื่อใช้พลังงานแสงอาทิตย์และลมมากขึ้น นอกจากนี้จะต้องรีบศึกษาหาทางควบคุมระบบไฟฟ้าให้กำลังผลิตสม่ำเสมอจึงเห็น ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจประชาชน ให้มากเพื่อให้เข้าใจว่าการสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์และลมไม่ได้ทำให้การก่อ สร้างโรงไฟฟ้าแบบคอนเวนชั่นนอลน้อยลงเพียงแต่ช่วยลดเชื้อเพลิงระบบ คอนเวนชั่นนอลได้.

0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Blog Archive

Design Downloaded from ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ รามคำแหง บางกะปิ | Free Textures | Web Design Resources