วันนี้(26 ส.ค.) นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา
กล่าวถึงการพิจารณาถอดถอนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฏร์ธานี
พรรคประชาธิปัตย์
จากกรณีที่ป.ป.ช.ชี้มูลว่าได้ใช้อำนาจแต่งตั้งบุคคลเข้าปฏิบัติหน้าที่ใน
กระทรวงวัฒนธรรม ว่า ในวันที่ 27 ส.ค.จะเป็นการประชุมวุฒิสภานัดแรก
โดยจะมีการหารือกำหนดแถลงเปิดสำนวนของกรรมการป.ป.ช. และผู้ถูกกล่าวหา
เบื้องต้นได้กำหนดไว้เป็นวันที่ 7 ก.ย. นี้
ซึ่งส.ว.มีสิทธิเสนอญัตติเกี่ยวกับประเด็นซักถามที่จะดำเนินการ
โดยคณะกรรมาธิการซักถามล่วงหน้าก่อนวันประชุม ครั้งที่ 2
นอกจากนี้ก็ยังจะตั้งคณะกรรมาธิการซักถาม 5 คนด้วย
พร้อมมอบคำถามให้กรรมาธิการฯไปแบ่งหมวดหมู่คำถาม และกลับมาถามคำถามกับทั้ง 2
ฝ่ายในวันที่ 11 ก.ย.
นายนิคม กล่าวอีกว่า จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการยื่นแถลงคำปิดคดี หากยื่นคำแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจา ประธานวุฒิสภาต้องนัดประชุมเพื่อรับฟังคำแถลงการณ์ ซึ่งกำหนดไว้เป็นวันที่ 17 ก.ย. แต่ถ้าปิดสำนวนด้วยหนังสือก็ไม่ต้องนัดประชุมอีก และในวันที่ 18 ก.ย. จะเป็นวันลงมติว่าจะถอดถอนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 274 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่อยู่ของวุฒิสภา หรือ 89 คน
ขณะที่นายสุเทพ กล่าวว่า จะเดินทางไปเข้าร่วมประชุมของวุฒิสภา ตามที่วุฒิสภาได้ส่งหนังสือแจ้งให้เข้าร่วม ทั้งนี้ได้ยื่นเอกสารเพิ่มเติม เป็นคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยยกฟ้อง กรณีคำร้องให้พิจารณาว่า พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) แต่งตั้ง ส.ส. พรรคเพื่อไทยเข้าไปเป็นคณะทำงานกรรมการจัดการถึงยังชีพของ ศปภ. เพื่อให้วุฒิสภาพิจารณาเป็นข้อมูลเพิ่มเติม
ด้านนายวันชัย สอนศิริ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า แม้ว่านายสุเทพ จะไม่ได้ดำรงในตำแหน่งรองนายกฯแล้ว แต่กระบวนการถอดถอนของวุฒิสภาต้องเดินหน้าเนื่องจากผลการพิจารณาของ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญระบุว่าต้องได้รับการเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี ดังนั้นหากวุฒิสภามีมติถอดถอนจริง จะส่งผลให้นายสุเทพ ไม่สามารถเป็น ส.ส. หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ได้
นายนิคม กล่าวอีกว่า จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการยื่นแถลงคำปิดคดี หากยื่นคำแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจา ประธานวุฒิสภาต้องนัดประชุมเพื่อรับฟังคำแถลงการณ์ ซึ่งกำหนดไว้เป็นวันที่ 17 ก.ย. แต่ถ้าปิดสำนวนด้วยหนังสือก็ไม่ต้องนัดประชุมอีก และในวันที่ 18 ก.ย. จะเป็นวันลงมติว่าจะถอดถอนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 274 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่อยู่ของวุฒิสภา หรือ 89 คน
ขณะที่นายสุเทพ กล่าวว่า จะเดินทางไปเข้าร่วมประชุมของวุฒิสภา ตามที่วุฒิสภาได้ส่งหนังสือแจ้งให้เข้าร่วม ทั้งนี้ได้ยื่นเอกสารเพิ่มเติม เป็นคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยยกฟ้อง กรณีคำร้องให้พิจารณาว่า พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) แต่งตั้ง ส.ส. พรรคเพื่อไทยเข้าไปเป็นคณะทำงานกรรมการจัดการถึงยังชีพของ ศปภ. เพื่อให้วุฒิสภาพิจารณาเป็นข้อมูลเพิ่มเติม
ด้านนายวันชัย สอนศิริ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า แม้ว่านายสุเทพ จะไม่ได้ดำรงในตำแหน่งรองนายกฯแล้ว แต่กระบวนการถอดถอนของวุฒิสภาต้องเดินหน้าเนื่องจากผลการพิจารณาของ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญระบุว่าต้องได้รับการเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี ดังนั้นหากวุฒิสภามีมติถอดถอนจริง จะส่งผลให้นายสุเทพ ไม่สามารถเป็น ส.ส. หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ได้
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น