วันนี้ (16 ก.ค.) นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ(คพ.)กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)
กล่าวถึงกรณีปลาในลำตะคองตายจำนวนมาก ว่า
ล่าสุดได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม จ.นครราชสีมา ว่า
สาเหตุที่ทำให้ปลาตาย เพราะโรงงานน้ำแข็งที่ปิดซ่อมใหญ่ เมื่อซ่อมแล้ว
จะต้องล้างเครื่อง
และเปลี่ยนสารแอมโมเนียที่ใช้ในขั้นตอนการดำเนินการผลิตน้ำแข็ง ครั้งละ 6
ถัง ถังละ 50 ก.ก. รวม 300 ก.ก. คาดว่าระหว่างการล้างทำความสะอาด
และซ่อมบำรุงนั้น แอมโมเนียจะรั่วไหลลงในน้ำและทำให้ปลาตายจำนวนมาก
อธิบดี คพ. กล่าวว่า ที่เชื่อว่าเป็นแอมโมเนีย เพราะพบว่า ปลาจะตายมากในช่วง 1 ก.ม. ในรัศมีโรงงานเท่านั้น หากเป็นสารอื่นๆ ผลกระทบจะมากกว่านี้ อีกทั้ง แอมโมเนียนั้นจะดึงออกซิเจนเข้ามาทำปฏิกริยาทำให้ปลาขาดออกซิเจน รวมทั้งมีพิษอยู่ในตัวคือ หากมีการปนเปื้อนเกิน 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ปลาก็จะตาย โดยเฉพาะปลาผิวน้ำเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมไปเก็บตัวอย่างน้ำและปลามาตรวจใน ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์(ห้องแล็ป)แล้ว ผลจะออกมาในวันที่ 18 ก.ค. นี้ อย่างไรก็ตามทราบว่าวันนี้ ทางอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมไปตรวจในพื้นที่แล้ว และจะแจ้งความเอาผิดกับโรงงานดังกล่าวตามพ.ร.บ.โรงงานอุตสาหกรรม ตามมาตรา 8 ระบุว่า การล้าง หรือซ่อมแซมทำความสะอาดโรงงานนั้นจะต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบก่อน มิฉะนั้นจะถือว่ามีความผิดทันที กรณีนี้มีความผิดชัดเจน เพราะไม่ได้มีการแจ้ง และในส่วนของกรมประมง ก็สามารถแจ้งความเอาผิดกับโรงงานฯฐานทำให้สูญเสียทรัพยากร คือปลาตายจำนวนมากเช่นกัน สิ่งที่ยังเป็นห่วงคือเกรงว่าจะมีประชาชนนำปลาไปบริโภค และเอาไปทำปลาร้า น้ำปลา ซึ่งต้องเตือนว่า ไม่ควรทำ เพราะเวลานี้ผลการตรวจสอบยังไม่ออกมาว่า ปลาที่ตายมีความเป็นพิษอย่างไรบ้าง ข้อแนะนำในการกำจัดซากปลาที่ตายจำนวนมากเวลานี้คือ การฝัง หรือเอาไปทำปุ๋ย จะดีที่สุด..
อธิบดี คพ. กล่าวว่า ที่เชื่อว่าเป็นแอมโมเนีย เพราะพบว่า ปลาจะตายมากในช่วง 1 ก.ม. ในรัศมีโรงงานเท่านั้น หากเป็นสารอื่นๆ ผลกระทบจะมากกว่านี้ อีกทั้ง แอมโมเนียนั้นจะดึงออกซิเจนเข้ามาทำปฏิกริยาทำให้ปลาขาดออกซิเจน รวมทั้งมีพิษอยู่ในตัวคือ หากมีการปนเปื้อนเกิน 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ปลาก็จะตาย โดยเฉพาะปลาผิวน้ำเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมไปเก็บตัวอย่างน้ำและปลามาตรวจใน ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์(ห้องแล็ป)แล้ว ผลจะออกมาในวันที่ 18 ก.ค. นี้ อย่างไรก็ตามทราบว่าวันนี้ ทางอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมไปตรวจในพื้นที่แล้ว และจะแจ้งความเอาผิดกับโรงงานดังกล่าวตามพ.ร.บ.โรงงานอุตสาหกรรม ตามมาตรา 8 ระบุว่า การล้าง หรือซ่อมแซมทำความสะอาดโรงงานนั้นจะต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบก่อน มิฉะนั้นจะถือว่ามีความผิดทันที กรณีนี้มีความผิดชัดเจน เพราะไม่ได้มีการแจ้ง และในส่วนของกรมประมง ก็สามารถแจ้งความเอาผิดกับโรงงานฯฐานทำให้สูญเสียทรัพยากร คือปลาตายจำนวนมากเช่นกัน สิ่งที่ยังเป็นห่วงคือเกรงว่าจะมีประชาชนนำปลาไปบริโภค และเอาไปทำปลาร้า น้ำปลา ซึ่งต้องเตือนว่า ไม่ควรทำ เพราะเวลานี้ผลการตรวจสอบยังไม่ออกมาว่า ปลาที่ตายมีความเป็นพิษอย่างไรบ้าง ข้อแนะนำในการกำจัดซากปลาที่ตายจำนวนมากเวลานี้คือ การฝัง หรือเอาไปทำปุ๋ย จะดีที่สุด..
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น