ที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. กลุ่มสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 40
(ส.ส.ร.40) ประมาณ 20 คน นำโดย นายคณิน บุญสุวรรณ พล.ต.อ.สวัสดิ์
อมรวิวัฒน์ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
ได้หารือร่วมกันถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 68 วรรคแรก
พร้อมกับมีคำสั่งให้รัฐสภาชะลอการลงมติในวาระสามของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย
ภายหลังการหารือกลุ่มส.ส.ร.40 ได้ออกจดหมายเปิดผนึกในนามของกลุ่มส.ส.ร.40 โดยนายคณินกล่าวว่า เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญปี 50 ส่วนใหญ่ลอกมาจากรัฐธรรมนูญปี 40 โดยเฉพาะมาตรา 68 ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาขณะนี้ ก็ลอกมาจากมาตรา 63 ของปี 40 เพียงแต่มีการเพิ่มเติมบทลงโทษไว้ในวรรคสี่ คือยุบพรรคและตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ถือเป็นการจงใจเบี่ยงเบนเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญปี 40 ในการสัมมนาภายหลังการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2543 ได้กำหนดกรอบปฏิบัติของศาลรัฐธรรมนูญเป็นบรรทัดฐานมาเกือบ 9 ปี ว่าทุกเรื่องผู้ร้องจะต้องเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน ที่อัยการสูงสุดจะยื่นหรือไม่ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
นายคณินกล่าวว่า ที่ผ่านมาส.ส.พรรคไทยรักไทย เคยยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ กรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้นเรียกร้องขอนายกฯพระราชทานตามมาตรา 7 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2549 ยังปฏิเสธไม่รับคำร้อง โดยให้ไปยื่นผ่านอัยการสูงสุดก่อน การอ้างว่ารัฐธรรมนูญปี 40 ถูกยกเลิกไป ศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของชุดเดิม ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่อย่างนั้นเราจะไม่มีบรรทัดฐานอะไรเลย ขณะที่เจตนารมณ์ดั้งเดิมของรัฐธรรมนูญ 40 คือการบัญญัติการกระทำผิดตามมาตรา 63 ว่าการกระทำอันเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข คือการใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจเท่านั้น
“ดังนั้นการกระทำของศาลรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการล้มล้างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเสียเอง ถึงขั้นบัญญัติรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่โดยพลการ ไม่ว่าผลการตัดสินจะเป็นอย่างไรย่อมก่อให้เกิดความเสียหายทั้งขึ้นทั้งล่อง เท่ากับว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว จากนี้ไปไม่ว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ส.ส. ส.ว. หรือแม้แต่ประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ก็ไม่สามารถเคลื่อนไหวแตะต้อง หรือแม้แต่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกต่อไป หมายความว่านอกจากศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจตีความแล้ว ยังมีอำนาจในการควบคุมรัฐสภา ควบคุมครม. และควบคุมประชาชนอีกด้วย ซึ่งจะเป็นชนวนนำไปสู่ความขัดแย้ง และเกิดวิกฤติครั้งร้ายแรงที่สุดจนมิอาจพยากรณ์ได้ว่าสุดท้ายจะเกิดหายนะต่อ บ้านเมืองอย่างไร” นายคณิน กล่าว
ภายหลังการหารือกลุ่มส.ส.ร.40 ได้ออกจดหมายเปิดผนึกในนามของกลุ่มส.ส.ร.40 โดยนายคณินกล่าวว่า เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญปี 50 ส่วนใหญ่ลอกมาจากรัฐธรรมนูญปี 40 โดยเฉพาะมาตรา 68 ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาขณะนี้ ก็ลอกมาจากมาตรา 63 ของปี 40 เพียงแต่มีการเพิ่มเติมบทลงโทษไว้ในวรรคสี่ คือยุบพรรคและตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ถือเป็นการจงใจเบี่ยงเบนเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญปี 40 ในการสัมมนาภายหลังการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2543 ได้กำหนดกรอบปฏิบัติของศาลรัฐธรรมนูญเป็นบรรทัดฐานมาเกือบ 9 ปี ว่าทุกเรื่องผู้ร้องจะต้องเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน ที่อัยการสูงสุดจะยื่นหรือไม่ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
นายคณินกล่าวว่า ที่ผ่านมาส.ส.พรรคไทยรักไทย เคยยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ กรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้นเรียกร้องขอนายกฯพระราชทานตามมาตรา 7 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2549 ยังปฏิเสธไม่รับคำร้อง โดยให้ไปยื่นผ่านอัยการสูงสุดก่อน การอ้างว่ารัฐธรรมนูญปี 40 ถูกยกเลิกไป ศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของชุดเดิม ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่อย่างนั้นเราจะไม่มีบรรทัดฐานอะไรเลย ขณะที่เจตนารมณ์ดั้งเดิมของรัฐธรรมนูญ 40 คือการบัญญัติการกระทำผิดตามมาตรา 63 ว่าการกระทำอันเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข คือการใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจเท่านั้น
“ดังนั้นการกระทำของศาลรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการล้มล้างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเสียเอง ถึงขั้นบัญญัติรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่โดยพลการ ไม่ว่าผลการตัดสินจะเป็นอย่างไรย่อมก่อให้เกิดความเสียหายทั้งขึ้นทั้งล่อง เท่ากับว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว จากนี้ไปไม่ว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ส.ส. ส.ว. หรือแม้แต่ประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ก็ไม่สามารถเคลื่อนไหวแตะต้อง หรือแม้แต่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกต่อไป หมายความว่านอกจากศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจตีความแล้ว ยังมีอำนาจในการควบคุมรัฐสภา ควบคุมครม. และควบคุมประชาชนอีกด้วย ซึ่งจะเป็นชนวนนำไปสู่ความขัดแย้ง และเกิดวิกฤติครั้งร้ายแรงที่สุดจนมิอาจพยากรณ์ได้ว่าสุดท้ายจะเกิดหายนะต่อ บ้านเมืองอย่างไร” นายคณิน กล่าว
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น