วันนี้ ( 15 พ.ค.)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประ
มาณพ.ศ.2556 ที่ทางสำนักงบประมาณได้จัดทำขึ้น มีสาระสำคัญ ดังนี้
ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2556 จำนวน 2,400,000 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 จำนวน 20,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
0.8 โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
โดยนโยบายงบประมาณปี56 เป็นงบประมาณขาดดุล
ที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายของหน่วยงานควบคู่กับการพิ
จาณาแหล่งเงินอื่น ได้แก่
เงินกู้ตามพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและ
สร้างอนาคตของประเทศ เงินรายได้ และเงินสะสมคงค้างของหน่วยงาน
รวมทั้งพิจารณาทบทวนเพื่อปรับลดเป้าหมายการดำเนินงานของหน่วยงานที่มีลำดับ
ความสำคัญลดลง
หรือหมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและสถานการณ์ปัจจุบัน
และให้ทสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน
16 ข้อ
สำหรับงบประมาณปี56 จำนวน 2,400,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1,901,911.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2555 จำนวน 61,239.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.3 โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 79.2 ของวงเงินงบประมาณ รายจ่ายลงทุน จำนวน 448,938.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 จำนวน 10,383.4 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.4 โดยรายจ่ายลงทุนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 18.7 ของวงเงินงบประมาณ นอกจากนี้ได้กำหนด รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้จำนวน 49,149.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 จำนวน 2,295.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.9 โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.1 ของวงเงินงบประมาณ
ส่วนหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณสูงสุด 5ลำดับแรก คือ 1.กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 460,075,180,900 บาท คิดเป็นร้อยละ 19.2 ของวงเงินงบประมาณ 2. งบกลาง จำนวน 319,207,000,000 บาท 3.กระทรวงมหาดไทย จำนวน 309,205,167,300 ล้านบาท 3.กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 214,845,460,700 บาท 4.กระทรวงกลาโหม จำนวน 180,,811,381,800 บาท 5. กระทรวงการคลัง จำนวน 179,249,013,800 บาท
นอกจากนี้ในส่วนของประมาณการรายรับรัฐบาลได้ประมาณการรายรับในปี 2556 จำนวน 164,300 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7 โดยแบ่งเป็นรายได้จากภาษีอากรรวม 168,195.1 หรือร้อยละ 7.7 การขายสิ่งของและบริการ จำนวน 76.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.4 อย่างไรก็ดีคาดว่ารายได้จากการเก็บภาษีรัฐพาณิชย์จะลดลงประมาณ 4,000 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 3.8 และรายได้อื่นๆ จำนวน 28.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1
ส่วนภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 56 คาดว่าจะขยายตัวประมาณ ร้อยละ 4-5 อัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 3.8 ส่วนภาคการส่งออกคาดว่าจะเป็นแรงสนับสนุนเพิ่มขึ้นจากการที่เศรษฐกิจของ ประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย และปัจจัยที่พึงระวังในการบริหารเศรษฐกิจปี56 คือ ราคาสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภคที่อาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นประกอบกับ ราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบในตลาดโลกยังคงผันผวนในระดับสูง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ยังมีความเสี่ยงจากปัญหาหนี้สาธารณของกลุ่มประเทศยุโรปที่ยังอยู่ในระดับ สูง.
แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th
สำหรับงบประมาณปี56 จำนวน 2,400,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1,901,911.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2555 จำนวน 61,239.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.3 โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 79.2 ของวงเงินงบประมาณ รายจ่ายลงทุน จำนวน 448,938.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 จำนวน 10,383.4 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.4 โดยรายจ่ายลงทุนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 18.7 ของวงเงินงบประมาณ นอกจากนี้ได้กำหนด รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้จำนวน 49,149.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 จำนวน 2,295.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.9 โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.1 ของวงเงินงบประมาณ
ส่วนหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณสูงสุด 5ลำดับแรก คือ 1.กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 460,075,180,900 บาท คิดเป็นร้อยละ 19.2 ของวงเงินงบประมาณ 2. งบกลาง จำนวน 319,207,000,000 บาท 3.กระทรวงมหาดไทย จำนวน 309,205,167,300 ล้านบาท 3.กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 214,845,460,700 บาท 4.กระทรวงกลาโหม จำนวน 180,,811,381,800 บาท 5. กระทรวงการคลัง จำนวน 179,249,013,800 บาท
นอกจากนี้ในส่วนของประมาณการรายรับรัฐบาลได้ประมาณการรายรับในปี 2556 จำนวน 164,300 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7 โดยแบ่งเป็นรายได้จากภาษีอากรรวม 168,195.1 หรือร้อยละ 7.7 การขายสิ่งของและบริการ จำนวน 76.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.4 อย่างไรก็ดีคาดว่ารายได้จากการเก็บภาษีรัฐพาณิชย์จะลดลงประมาณ 4,000 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 3.8 และรายได้อื่นๆ จำนวน 28.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1
ส่วนภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 56 คาดว่าจะขยายตัวประมาณ ร้อยละ 4-5 อัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 3.8 ส่วนภาคการส่งออกคาดว่าจะเป็นแรงสนับสนุนเพิ่มขึ้นจากการที่เศรษฐกิจของ ประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชีย และปัจจัยที่พึงระวังในการบริหารเศรษฐกิจปี56 คือ ราคาสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภคที่อาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นประกอบกับ ราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบในตลาดโลกยังคงผันผวนในระดับสูง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ยังมีความเสี่ยงจากปัญหาหนี้สาธารณของกลุ่มประเทศยุโรปที่ยังอยู่ในระดับ สูง.
แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น