วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

“รอยล"ยันปี 55 ไม่แล้ง-ไม่ท่วมหนักแน่นอน


วันนี้ (17 มี.ค.)นายรอยล จิตรดอน คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในปี 2555 ว่าปริมาณฝนตกยังอยู่เกณฑ์มากในระดับ 1,500 มิลลิเมตรซึ่งจะเกิดน้ำท่วมบางพื้นที่เหมือนปี 2551แต่น้อยกว่าปี 2554 ที่มีฝนตกมากถึง 1,800 มิลลิเมตร ซึ่งปีนี้ยังได้รับอธิพลจากลมมรสุมในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือหรือลมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งจะมีความรุนแรงต่อประเทศไทยเหมือนในปี 2551 เคยเกิดพายุ 3 ลูกแต่ปีนี้อาจจะแรงกว่า ยืนยันว่าประเทศไทยไม่เกิดภัยแล้งแน่นอน จะเห็นได้จากเกิดฝนตกในพื้นที่ตอนบนของประเทศตั้งแต่ต้นปีคาดว่าปริมาณฝนมากว่าปีเฉลี่ย 30 เปอร์เซ็นต์ แต่ต้องติดตามลักษณะการเกิดฝนอย่างใกล้ชิดขณะนี้ฝนทางตอนเหนือเขื่อนภูมิพลลดลง ทำให้ต้องปรับเกณฑ์ระบายน้ำจากเดิมวันละ 60 ล้านลูกบาศ์กเมตร ลดลงไป 20 ล้านลูกบาศ์กเมตร เหลือระบายน้ำวันละ 40 ล้านลูกาศ์กเมตร ส่วนพื้นที่เหนือเขื่อนสิริกิติส์ มีฝนเพิ่มขึ้นซึ่งคงการระบายน้ำไว้ตามเดิมคือวันละ40 ล้านลูกบาศ์กเมตร
 
นายรอยล กล่าวอีกว่าลักษณะของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคตะวันออกของไทยมีฝนตกหนักกว่าปกติ ตั้งแต่เข้าฤดูฝนเดือน ก.ค.-ส.ค.รวมทั้งภาคกลางฝนจะมากด้วย ดังนั้นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดอุทกภัยมาอย่างต่อเนื่องคือปริมาณน้ำในลุ่มน้ำยม มีปริมาณมากถึง 8,000 ล้านลูกบาศ์กเมตร ต้องเร่งระบายให้ทันในเดือนสิงหาคมเข้าฤดูฝนเต็มที่ในเดือนกันยายน ต้องตัดยอดน้ำตรงนี้ออกไปเข้าแก้มลิงที่ถูกน้ำท่วมประจำทุกปีอีกประมาณ 4 -5 พันล้านลูกบาศ์กเมตร ร่วมทั้งมีพื้นที่ในเขื่อนขนาดใหญ่รองรับอีก 5 พันล้านลูกบาศ์กเมตร  จะเหลือปริมาณน้ำมาเจ้าพระยาตอนล่าง 6-7 พันล้านลูกบาศ์กเมตร ยืนยันว่าสามารถระบายลงทะเลได้ทันรับรองจะไม่เกิดท่วมใหญ่แน่นอนโดยผ่านระบบระบายน้ำของ กทม.ได้อย่างดี ส่วนฝั่งตะวันตก จะใช้ถนนพุทธมณฑลสาย5 เป็นทางระบายน้ำ ลงคลองภาษีเจริญ ลงคลองมหาชัย ลงทะเล ส่วนฝั่งตะวันออกใช้คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต เน้นการสูบระบายลงคลองชายทะเล
 
“ปัญหาใหญ่ปริมาณฝนในเดือนกันยายน ว่าจะมากหรือน้อย ประเด็นหลักการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมคือการระบายน้ำต้องให้ทันกับปริมาณฝนที่ตกลงมาในแต่ละพื้นที่ ซึ่งการติดตั้งเรดาร์ตรวจวัดปริมาณน้ำที่แม่นยำเป็นสิ่งสำคัญที่สุดทำการติดทั้งหมด 4พันจุดในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากโดยขณะนี้จะตั้งศูนย์ข้อมูลน้ำแห่งชาติ โดยข้อมูลน้ำทุกหน่วยงานต้องมารวมไว้ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯจะต้องติดตั้งระบบแล้วเสร็จให้ทันเดือน พ.ค.เพื่อประมวลออกมาเป็นนโยบายน้ำระดับชาติทั้งนี้ไม่ได้แย่งงานกรมชลประทาน แต่ต้องมีหน่วยงานกลางที่มีความแม่นยำและ เน้นให้มีการบูรณาการในแนวทางเดียวกันทุกพื้นที่ ซึ่งจะมีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงทำแบบจำลองการคาดการณ์ล่วงหน้าจากจีน ญี่ปุ่นและเนเธอร์แลนด์  จากเดิมได้เพียง 3 วันจะเป็น 7 วันหรือ 1 เดือน ได้แม่นยำมากขึ้น” นายรอยล กล่าว

แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th

0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Blog Archive

Design Downloaded from ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ รามคำแหง บางกะปิ | Free Textures | Web Design Resources