วันที่ 25 ก.ค.) เวลา 14.15 น. ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ นายพิมล
ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ
แถลงผลการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่า
ในการประชุมวันนี้คณะตุลาการได้พิจารณาคำวินิจฉัยกลาง กรณีคำร้อง
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่า เป็นการล้มล้างการปกครองฯตามมาตรา 68
หรือไม่ ตามที่ได้อ่านไปเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมานั้น
ขณะนี้ตุลาการได้พิจารณาคำวินิจฉัยกลางเสร็จสิ้นแล้ว
แต่อยู่ระหว่างตรวจสอบเนื้อหาข้อเท็จจริง
เพื่อให้คำวินิจฉัยกลางออกมาสมบูรณ์ที่สุด
เนื่องจากคำวินิจฉัยกลางต้องประกาศลงราชกิจจานุเบกษา
ดังนั้นสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะต้องตรวจสอบและพิจารณาคำวินิจฉัยให้เรียบ
ร้อยก่อนส่งเวียนให้ตุลาการแต่ละคนลงนาม
และคาดว่าคำวินิจฉัยกลางน่าจะเผยแพร่ลงเว็บไซด์ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ภายในวันที่ 27 ก.ค.นี้ โดยเนื้อหาของคำวินิจฉัยกลางมีประมาณ 30 หน้า
นายพิมล แถลงต่อว่า ส่วนคำวินิจฉัยส่วนตนอยู่ระหว่างที่คณะทำงานของตุลาการของแต่ละคน ตรวจสอบเนื้อหาคำวินิจฉัยส่วนตนที่ได้ยกร่างเสร็จแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค. ก่อนมีการอ่านคำวินิจฉัย เพียงแต่เวลานี้เป็นการตรวจสอบคำถูกต้องเท่านั้น เพื่อให้เนื้อหามีความถูกต้องและสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับคำวินิจฉัยกลาง ทั้งนี้หากคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการเสร็จทั้งหมดแล้ว จะสามารถเผยแพร่ลงในเว็บไซด์ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญพร้อมกันทั้ง 8 คน
“คำวินิจฉัยกลาง จะไม่มีการแก้ไขในส่วนของผลคำวินิจฉัยที่ตุลาการได้อ่านไปเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา จะเป็นเพียงการปรับปรุงรูปแบบ ถ้อยคำ การเว้นวรรคตอน การตรวจสอบตัวสะกดเท่านั้น แต่ในส่วนข้อเท็จจริงของคำวินิจฉัยกลางยังคงเหมือนเดิม”นายพิมลกล่าว
นายพิมล กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในที่ประชุมตุลาการยังได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคำร้อง จำนวน 2 คำร้อง ประกอบด้วยคำร้องที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ว่า การที่กรรมาธิการและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองหลายพรรคหรือสมาชิก วุฒิสภา มีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า เป็นการล้มล้างการปกครองฯ เนื่องจากนายเรืองไกร ขอถอนคำร้องดังกล่าว และศาลได้อนุญาต เนื่องจากศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันไปแล้วว่า ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ ศาลจึงเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป จึงจำหน่ายคำร้องดังกล่าว และคำร้องของพล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และพวก ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 212 ว่า การที่นายสุนัย จุลพงศธร กับพวก 416 คน มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เป็นการล้มล้างการปกครองฯ ตามมาตรา 68 โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เนื้อหาของคำร้องนี้เป็นประเด็นเดียวกันกับคดีที่ศาลได้มีการวินิจฉัยยกคำ ร้องไปแล้ว และไม่มีข้อเท็จจริงอื่นที่เป็นประโยชน์แก่คดี จึงจำหน่ายคำร้องดังกล่าวเช่นกัน
นายพิมล กล่าวด้วยว่า ศาลยังมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาอีก 4 คำร้อง ประกอบด้วย 1.คำร้องนายเรืองไกร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า องค์อิสระตามรัฐธรรมนูญและพรรคการเมือง ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครองฯ ตามมาตรา 68 ประกอบตามมาตรา 62 หรือไม่ ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องดังกล่าว ศาลได้มีคำวินิจฉัยและยกคำร้องในประเด็นเดียวกัน ไม่มีประโยชน์ที่จะไปพิจารณาในคำร้องดังกล่าว จึงไม่รับคำร้องนี้ไว้ 2.คำร้องของ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนมติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 7 คน ที่ลงมติให้รับคำร้องว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ขัดกับมาตรา 68 หรือไม่ 3.คำร้องของนายหนึ่งดิน วิมุตตินันท์ กับคณะ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญยกเลิกคำสั่งที่ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แจ้งประธานรัฐสภา รอการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน และ4.คำร้องของนายวานิช พาชารี ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญยกเลิกคำสั่งที่ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แจ้งประธานรัฐสภา รอการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน โดยคำร้องที่ 2 ถึง 4 ศาลเห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นการขอให้วินิจฉัยที่ผู้ถูกร้องเป็นตุลาการเอง หากศาลรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้วจะขัดต่อหลักยุติธรรมที่ห้ามบุคคล เป็นผู้วินิจฉัยคดีของตนเอง
เมื่อถามว่า การประชุมตุลาการในวันนี้มาครบหรือไม่ นายพิมล กล่าวว่า ในช่วงเช้า นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ขออนุญาตไปพบแพทย์ตามที่แพทย์นัดไว้ แต่กลับมาทันการพิจารณาในช่วงเช้าของวันนี้ เนื่องจากนายอุดมศักดิ์ เกรงว่าหากไม่กลับเข้ามาประชุม จะถูกนำเรื่องนี้ไปเป็นประเด็นทางการเมือง.
นายพิมล แถลงต่อว่า ส่วนคำวินิจฉัยส่วนตนอยู่ระหว่างที่คณะทำงานของตุลาการของแต่ละคน ตรวจสอบเนื้อหาคำวินิจฉัยส่วนตนที่ได้ยกร่างเสร็จแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค. ก่อนมีการอ่านคำวินิจฉัย เพียงแต่เวลานี้เป็นการตรวจสอบคำถูกต้องเท่านั้น เพื่อให้เนื้อหามีความถูกต้องและสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับคำวินิจฉัยกลาง ทั้งนี้หากคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการเสร็จทั้งหมดแล้ว จะสามารถเผยแพร่ลงในเว็บไซด์ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญพร้อมกันทั้ง 8 คน
“คำวินิจฉัยกลาง จะไม่มีการแก้ไขในส่วนของผลคำวินิจฉัยที่ตุลาการได้อ่านไปเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา จะเป็นเพียงการปรับปรุงรูปแบบ ถ้อยคำ การเว้นวรรคตอน การตรวจสอบตัวสะกดเท่านั้น แต่ในส่วนข้อเท็จจริงของคำวินิจฉัยกลางยังคงเหมือนเดิม”นายพิมลกล่าว
นายพิมล กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในที่ประชุมตุลาการยังได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคำร้อง จำนวน 2 คำร้อง ประกอบด้วยคำร้องที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ว่า การที่กรรมาธิการและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองหลายพรรคหรือสมาชิก วุฒิสภา มีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า เป็นการล้มล้างการปกครองฯ เนื่องจากนายเรืองไกร ขอถอนคำร้องดังกล่าว และศาลได้อนุญาต เนื่องจากศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันไปแล้วว่า ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ ศาลจึงเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป จึงจำหน่ายคำร้องดังกล่าว และคำร้องของพล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และพวก ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 212 ว่า การที่นายสุนัย จุลพงศธร กับพวก 416 คน มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เป็นการล้มล้างการปกครองฯ ตามมาตรา 68 โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เนื้อหาของคำร้องนี้เป็นประเด็นเดียวกันกับคดีที่ศาลได้มีการวินิจฉัยยกคำ ร้องไปแล้ว และไม่มีข้อเท็จจริงอื่นที่เป็นประโยชน์แก่คดี จึงจำหน่ายคำร้องดังกล่าวเช่นกัน
นายพิมล กล่าวด้วยว่า ศาลยังมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาอีก 4 คำร้อง ประกอบด้วย 1.คำร้องนายเรืองไกร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า องค์อิสระตามรัฐธรรมนูญและพรรคการเมือง ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครองฯ ตามมาตรา 68 ประกอบตามมาตรา 62 หรือไม่ ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องดังกล่าว ศาลได้มีคำวินิจฉัยและยกคำร้องในประเด็นเดียวกัน ไม่มีประโยชน์ที่จะไปพิจารณาในคำร้องดังกล่าว จึงไม่รับคำร้องนี้ไว้ 2.คำร้องของ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนมติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 7 คน ที่ลงมติให้รับคำร้องว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ขัดกับมาตรา 68 หรือไม่ 3.คำร้องของนายหนึ่งดิน วิมุตตินันท์ กับคณะ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญยกเลิกคำสั่งที่ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แจ้งประธานรัฐสภา รอการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน และ4.คำร้องของนายวานิช พาชารี ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญยกเลิกคำสั่งที่ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แจ้งประธานรัฐสภา รอการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน โดยคำร้องที่ 2 ถึง 4 ศาลเห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นการขอให้วินิจฉัยที่ผู้ถูกร้องเป็นตุลาการเอง หากศาลรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้วจะขัดต่อหลักยุติธรรมที่ห้ามบุคคล เป็นผู้วินิจฉัยคดีของตนเอง
เมื่อถามว่า การประชุมตุลาการในวันนี้มาครบหรือไม่ นายพิมล กล่าวว่า ในช่วงเช้า นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ขออนุญาตไปพบแพทย์ตามที่แพทย์นัดไว้ แต่กลับมาทันการพิจารณาในช่วงเช้าของวันนี้ เนื่องจากนายอุดมศักดิ์ เกรงว่าหากไม่กลับเข้ามาประชุม จะถูกนำเรื่องนี้ไปเป็นประเด็นทางการเมือง.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น