วันนี้(26ก.ค.)ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (
ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษก
ป.ป.ช. แถลงผลการประ ชุม ป.ป.ช. ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ได้พิจารณากรณีกล่าวหานายสุเทพ เทือกสุบรรณ สมัยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
มีพฤติการณ์ที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญใน
การลงนามหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อส่ง
ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์และบุคคลอื่นรวม 19 ราย
ไปช่วยราชการที่กระทรวงวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2552
อันเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฎิบัติราชการหรือดำเนินงานในหน้าที่ประจำ
ของข้าราชการเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือพรรคการเมือง
ซึ่งเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1)
พร้อมกันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ยังได้พิจารณากรณีกล่าวหานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รู้เห็นเป็นใจกับนายสุเทพ
ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีในการส่ง ส.ส.
พรรคประชาธิปัตย์ไปช่วยราชการกระทรวงต่างๆ
เข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ตนเองหรือผู้อื่นหรือพรรคการเมือง
ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายโอนเลื่อนตำแหน่ง
อันเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญ
นายกล้านรงค์ กล่าวต่อว่า ป.ป.ช. ได้พิจารณาข้อเท็จจริงสรุปได้ว่านายสุเทพได้มีหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรีลง วันที่ 25 ก.พ. 2552 เรื่องขอช่วยราชการรายกระทรวงถึง รมว.วัฒนธรรม แจ้งความประสงค์ของส่ง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์จำนวน 19 คนไปช่วยราชการที่กระทรวงโดยหนังสือดังกล่าวถึงกระทรวงในวันที่ 27 ก.พ. 2552 จนกระทั่งวันที่ 2 มี.ค. 2552 นายสุเทพได้สั่งให้รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองไปขอรับหนังสือดัง กล่าวคืน เนื่องจาก รมว.วัฒนธรรมแจ้งต่อนายสุเทพว่าไม่ประสงค์รับ ส.ส.ไปช่วยราชการที่กระทรวง โดยนายสุเทพได้รับหนังสือคืนมาเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 255 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เปิดโอกาสให้นายสุเทพเข้าชี้แจงข้อกล่าวหาและได้ไต่สวนผู้ร้องรวมทั้ง พยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง และพยานบุคคลที่ให้ความเห็นในข้อกฎหมายทั้งหมดแล้วเห็นว่าคำชี้แจงแก้ข้อ กล่าวหาของนายสุเทพในประเด็นมีการใช้สถานะหรือตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีหรือ ไม่ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าการส่งหนังสือดังกล่าวถึง รมว.วัฒนธรรมซึ่งเป็นหนังสือราชการ นายสุเทพได้ใช้สถานะหรือตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1)
นายกล้านรงค์ กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นการใช้สถานะหรือตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซง งานของกระทรวงวัฒนธรรมหรือก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติราชการหรือการ ดำเนินงานในหน้าที่ประจำของ รมว.วัฒนธรรมหรือไม่นั้น ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าเนื่องจากรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่ได้ นิยามคำว่าการก้าวก่ายหรือแทรกแซง จึงต้องไปพิจารณาตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คำว่า “ก้าวก่าย” หมายความว่าล่วงล้ำเข้าไปยุ่งเกี่ยวหน้าที่ผู้อื่น,เหลื่อมล้ำไม่เป็น ระเบียบ เช่น งานก้าวก่ายกัน ส่วนคำว่า “แทรกแซง” หมายความว่าแทรกเข้าไปเกี่ยวข้องในกิจการของผู้อื่น ดังนั้นเมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติในมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) แล้วจึงเห็นว่าการกระทำของนายสุเพทเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติ ราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของ รมว.วัฒนธรรม
นายกล้านรงค์ กล่าวต่ออีกว่า ส่วนประเด็นการใช้สถานะหรือตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีถือเป็นการกระทำเพื่อ ประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมืองไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่นหรือของพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) หมายถึงประโยชน์ค่าตอบแทนที่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ รวมถึงประโยชน์ค่าตอบแทนที่ไม่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ เช่น ชื่อเสียงเกียรติยศ การมีอิทธิพล เหนือบุคคล การสร้างฐานคะแนนหรือประโยชน์อื่นใดทางการเมือง และต้องพิจารณาต่อไปว่าการจะขอช่วยราชการของ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ดังกล่าวนั้น มีหน้าที่ตามกฎหมายในการขอช่วยราชการหรือไม่ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่า ส.ส. ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ตรากฎหมายและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ของ ครม. หรือฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และนโยบายของ ครม. ที่แถลงต่อสภา เช่น การอภิปรายในรัฐสภา การตั้งกระทู้ การพิจารณากฎหมาย การปฏิบัติหนที่ในกรรมาธิการชุดต่างๆ แต่การไปช่วยราชการกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารจึงไม่ใช่หน้าที่ของ ส.ส. อีกทั้งการแก้ปัญหาความเดือดร้อน การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวง วัฒ นธรรม ก็เป็นหน้าที่ของข้าราชการ หรือลูกจ้าง ในกระทรวงที่ปฏิบัติอยู่แล้ว และเป็นหน้าที่โดยตรงของรมว.วัฒนธรรม ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารที่จะต้องรับผิดชอบฝ่ายนิติบัญญัติจึงไม่สามารถเข้าไป ก้าวก่ายหรือแทรกแซง ในการปฏิบัติราชการหรือดำเนินหน้าที่ประจำของ รมว.วัฒนธรรม
“คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงเห็นว่าการกระทำของนายสุเทพเป็นไปเพื่อประโยชน์ของตนเองในทางการเมือง ในการสร้างฐานเสียง เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น คือ รมว.วัฒนธรรม เพื่อประโยชน์ของ ส.ส.หรือของพรรคการเมือง คือ พรรคประชาธิปัตย์ในด้านฐานเสียง คะแนนเสียง ไม่ว่าโดนทางตรงหรือทางอ้อม ส่วนประเด็นการใช้สถานะรองนายกรัฐมนตรีดังกล่าว เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา หรือไม่นั้น ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่านายสุเทพไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการ กระทรวงวัฒนธรรมและไม่มีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งหรือจัดส่ง ส.ส. ไปช่วยราชการกระทรวงวัฒนธรรม และไม่ใช่อำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา และสำหรับประเด็นการขอถอนเรื่องคืนของนายสุเทพจะถือว่าไม่มีการก้าวก่ายหรือ แทรกแซงการปฏิบัติราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของ รมว.วัฒนธรรมหรือไม่นั้น ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของนายสุเทพเป็นการใช้สถานะหรือตำแหน่งรอง นายกรัฐมนตรีก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติราชการของกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อ ประโยชน์ทางการเมืองในการสร้างฐานเสียง และเพื่อประโยชน์ของ ส.ส. หรือของพรรคประชาธิปัตย์ ในด้านฐานเสียงหรือคะแนนเสียงอันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) ดังนั้นจึงมีมติว่านายสุเทพมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐ ธรรมนูญและให้ส่งเรื่องไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อพิจารณาโดยเร็วต่อไป” นายกล้านรงค์ กล่าว
นายกล้าณรงค์ กล่าวว่า ทั้งนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังได้พิจารณากรณีกล่าวหานายอภิสิทธิ์รู้เห็นเป็นใจกับนายสุเทพ ในการส่ง ส.ส. ไปช่วยราชการกระทรวงต่างๆ และเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของพรรคการเมือง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมด้วยนั้น เมื่อไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วไม่ปรากฏพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงว่านาย อภิสิทธิ์ได้รู้เห็นเป็นใจกับนายสุเทพตามที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด จึงเห็นว่าข้อกล่าวหานั้นไม่มีมูล จึงให้ข้อกล่าวหาตกไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้นายสุเทพพ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีไปแล้ว การยื่นถอดถอนจะมีผลหรือไม่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า หลังจากนี้ขึ้นอยู่กับที่ประชุม ส.ว.จะมีมติถอดถอนนายสุเทพหรือไม่ ซึ่งการถอดถอนต้องใช้เสียง ส.ว. 3 ใน 5 หากส.ว.มีมติถอดถอนจะมีผลให้บุคคลดังกล่าวต้องถูกห้ามดำรงตำแหน่งทางการ เมือง 5 ปีทันที ส่วนจะมีผลกระทบให้ต้องหลุดจากตำแหน่งส.ส.ในปัจจุบันหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการดำเนินการของส.ว. และขอให้ไปดูรัฐธรรมนูญ มาตรา 102 (14) ประกอบ
ด้านนายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการป.ป.ช. กล่าวว่า ขณะนี้หลังจากที่ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดออกมายังถือว่า นายสุเทพยังดำรงตำแหน่งส.ส.อยู่ แต่หากที่ประชุมวุฒิสภามีมติถอดถอนนายสุเทพด้วยคะแนนเสียง 3 ใน 5 แล้วนอกจากจะต้องถูกห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 274 แล้ว นายสุเทพยังหลุดจากตำแหน่งส.ส.สุราษฎร์ธานี ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันด้วย.
นายกล้านรงค์ กล่าวต่อว่า ป.ป.ช. ได้พิจารณาข้อเท็จจริงสรุปได้ว่านายสุเทพได้มีหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรีลง วันที่ 25 ก.พ. 2552 เรื่องขอช่วยราชการรายกระทรวงถึง รมว.วัฒนธรรม แจ้งความประสงค์ของส่ง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์จำนวน 19 คนไปช่วยราชการที่กระทรวงโดยหนังสือดังกล่าวถึงกระทรวงในวันที่ 27 ก.พ. 2552 จนกระทั่งวันที่ 2 มี.ค. 2552 นายสุเทพได้สั่งให้รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองไปขอรับหนังสือดัง กล่าวคืน เนื่องจาก รมว.วัฒนธรรมแจ้งต่อนายสุเทพว่าไม่ประสงค์รับ ส.ส.ไปช่วยราชการที่กระทรวง โดยนายสุเทพได้รับหนังสือคืนมาเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 255 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เปิดโอกาสให้นายสุเทพเข้าชี้แจงข้อกล่าวหาและได้ไต่สวนผู้ร้องรวมทั้ง พยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง และพยานบุคคลที่ให้ความเห็นในข้อกฎหมายทั้งหมดแล้วเห็นว่าคำชี้แจงแก้ข้อ กล่าวหาของนายสุเทพในประเด็นมีการใช้สถานะหรือตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีหรือ ไม่ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าการส่งหนังสือดังกล่าวถึง รมว.วัฒนธรรมซึ่งเป็นหนังสือราชการ นายสุเทพได้ใช้สถานะหรือตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1)
นายกล้านรงค์ กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นการใช้สถานะหรือตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซง งานของกระทรวงวัฒนธรรมหรือก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติราชการหรือการ ดำเนินงานในหน้าที่ประจำของ รมว.วัฒนธรรมหรือไม่นั้น ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าเนื่องจากรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่ได้ นิยามคำว่าการก้าวก่ายหรือแทรกแซง จึงต้องไปพิจารณาตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คำว่า “ก้าวก่าย” หมายความว่าล่วงล้ำเข้าไปยุ่งเกี่ยวหน้าที่ผู้อื่น,เหลื่อมล้ำไม่เป็น ระเบียบ เช่น งานก้าวก่ายกัน ส่วนคำว่า “แทรกแซง” หมายความว่าแทรกเข้าไปเกี่ยวข้องในกิจการของผู้อื่น ดังนั้นเมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติในมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) แล้วจึงเห็นว่าการกระทำของนายสุเพทเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติ ราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของ รมว.วัฒนธรรม
นายกล้านรงค์ กล่าวต่ออีกว่า ส่วนประเด็นการใช้สถานะหรือตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีถือเป็นการกระทำเพื่อ ประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมืองไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่นหรือของพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) หมายถึงประโยชน์ค่าตอบแทนที่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ รวมถึงประโยชน์ค่าตอบแทนที่ไม่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ เช่น ชื่อเสียงเกียรติยศ การมีอิทธิพล เหนือบุคคล การสร้างฐานคะแนนหรือประโยชน์อื่นใดทางการเมือง และต้องพิจารณาต่อไปว่าการจะขอช่วยราชการของ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ดังกล่าวนั้น มีหน้าที่ตามกฎหมายในการขอช่วยราชการหรือไม่ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่า ส.ส. ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ตรากฎหมายและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ของ ครม. หรือฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และนโยบายของ ครม. ที่แถลงต่อสภา เช่น การอภิปรายในรัฐสภา การตั้งกระทู้ การพิจารณากฎหมาย การปฏิบัติหนที่ในกรรมาธิการชุดต่างๆ แต่การไปช่วยราชการกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารจึงไม่ใช่หน้าที่ของ ส.ส. อีกทั้งการแก้ปัญหาความเดือดร้อน การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวง วัฒ นธรรม ก็เป็นหน้าที่ของข้าราชการ หรือลูกจ้าง ในกระทรวงที่ปฏิบัติอยู่แล้ว และเป็นหน้าที่โดยตรงของรมว.วัฒนธรรม ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารที่จะต้องรับผิดชอบฝ่ายนิติบัญญัติจึงไม่สามารถเข้าไป ก้าวก่ายหรือแทรกแซง ในการปฏิบัติราชการหรือดำเนินหน้าที่ประจำของ รมว.วัฒนธรรม
“คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงเห็นว่าการกระทำของนายสุเทพเป็นไปเพื่อประโยชน์ของตนเองในทางการเมือง ในการสร้างฐานเสียง เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น คือ รมว.วัฒนธรรม เพื่อประโยชน์ของ ส.ส.หรือของพรรคการเมือง คือ พรรคประชาธิปัตย์ในด้านฐานเสียง คะแนนเสียง ไม่ว่าโดนทางตรงหรือทางอ้อม ส่วนประเด็นการใช้สถานะรองนายกรัฐมนตรีดังกล่าว เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา หรือไม่นั้น ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่านายสุเทพไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการ กระทรวงวัฒนธรรมและไม่มีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งหรือจัดส่ง ส.ส. ไปช่วยราชการกระทรวงวัฒนธรรม และไม่ใช่อำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา และสำหรับประเด็นการขอถอนเรื่องคืนของนายสุเทพจะถือว่าไม่มีการก้าวก่ายหรือ แทรกแซงการปฏิบัติราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของ รมว.วัฒนธรรมหรือไม่นั้น ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของนายสุเทพเป็นการใช้สถานะหรือตำแหน่งรอง นายกรัฐมนตรีก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติราชการของกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อ ประโยชน์ทางการเมืองในการสร้างฐานเสียง และเพื่อประโยชน์ของ ส.ส. หรือของพรรคประชาธิปัตย์ ในด้านฐานเสียงหรือคะแนนเสียงอันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) ดังนั้นจึงมีมติว่านายสุเทพมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐ ธรรมนูญและให้ส่งเรื่องไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อพิจารณาโดยเร็วต่อไป” นายกล้านรงค์ กล่าว
นายกล้าณรงค์ กล่าวว่า ทั้งนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังได้พิจารณากรณีกล่าวหานายอภิสิทธิ์รู้เห็นเป็นใจกับนายสุเทพ ในการส่ง ส.ส. ไปช่วยราชการกระทรวงต่างๆ และเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของพรรคการเมือง ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมด้วยนั้น เมื่อไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วไม่ปรากฏพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงว่านาย อภิสิทธิ์ได้รู้เห็นเป็นใจกับนายสุเทพตามที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด จึงเห็นว่าข้อกล่าวหานั้นไม่มีมูล จึงให้ข้อกล่าวหาตกไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้นายสุเทพพ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีไปแล้ว การยื่นถอดถอนจะมีผลหรือไม่ นายกล้านรงค์ กล่าวว่า หลังจากนี้ขึ้นอยู่กับที่ประชุม ส.ว.จะมีมติถอดถอนนายสุเทพหรือไม่ ซึ่งการถอดถอนต้องใช้เสียง ส.ว. 3 ใน 5 หากส.ว.มีมติถอดถอนจะมีผลให้บุคคลดังกล่าวต้องถูกห้ามดำรงตำแหน่งทางการ เมือง 5 ปีทันที ส่วนจะมีผลกระทบให้ต้องหลุดจากตำแหน่งส.ส.ในปัจจุบันหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการดำเนินการของส.ว. และขอให้ไปดูรัฐธรรมนูญ มาตรา 102 (14) ประกอบ
ด้านนายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการป.ป.ช. กล่าวว่า ขณะนี้หลังจากที่ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดออกมายังถือว่า นายสุเทพยังดำรงตำแหน่งส.ส.อยู่ แต่หากที่ประชุมวุฒิสภามีมติถอดถอนนายสุเทพด้วยคะแนนเสียง 3 ใน 5 แล้วนอกจากจะต้องถูกห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 274 แล้ว นายสุเทพยังหลุดจากตำแหน่งส.ส.สุราษฎร์ธานี ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันด้วย.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น