ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ได้ลงพื้นที่ติดตามการเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ปลาย
น้ำ กลางน้ำ และต้นน้ำภารกิจ เป็นวันที่ 3 โดยในวันนี้(13 มิ.ย.)
เป็นการลงพื้นที่ จ.ชัยนาท นครสวรรค์ พิษณุโลก สุโขทัย และตาก เมื่อเวลา
07.30น. ที่บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักชลประทานที่ 12 น.ส.ยิ่งลักษณ์
พร้อมด้วยนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ นายวิทยา บุรณศิริ
รมว.สาธารณสุข นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ
นายนิวัฒน์ธํารงค์ บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ รมช.คมนาคม นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน
ได้ทำพิธีทำบุญตักบาตร พระสงฆ์ 60 รูป เนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ 110
วันสถาปนากรมชลประทาน 13 มิ.ย.2555 จากนั้น นายกรัฐมนตรี และคณะ
ร่วมรับฟังการบรรยายสรุปจากรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ
และการประชุมทางไกลกับผู้ว่าราชการจังหวัดในกลุ่มจังหวัด
โดยนายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ(กนอช.) กล่าวช่วงหนึ่งว่า โครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการเร่งด่วน ยังไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืน ต้องรอโครงการที่ใช้งบจากพ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาทอีก
ด้านนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อยากให้เร่งระยะเวลาในการดำเนินการโครงการต่างๆ ทุกโครงการเสร็จสิ้นภายในเดือนก.ค.นี้ ตามปฏิทินของกบอ. ทั้งนี้หากจำเป็นให้ประสานกองทัพเข้าช่วยเหลือ และอยากให้กบอ.บูรณาการภาพรวมทั่วประเทศ เพราะเวลานี้แต่ละจังหวัดก็ยังทำเฉะพาะพื้นที่ตัวเอง อย่างจ.พิจิตรถ้าทำให้น้ำไหลไปจ.นครสวรรค์แล้วไหลลงแม่น้ำไม่ได้ ก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมขังเหมือนปี 2554 อย่าให้มีการบล็อคตามรอยต่อจังหวัด ขอให้ผู้ว่าฯในกลุ่มจังหวัดพื้นที่กลางน้ำไปหารือกัน หากโครงการใดในจังหวัดไหน ผู้รับเหมาดำเนินการไม่ทัน ขอให้ปรับสัญญา เพื่อให้กองทัพเข้าไปช่วยเหลือได้
ด้านนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.ทรัพยากนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงานความคืบหน้า การสร้างฝายและปลูกป่าในพื้นที่ต้นน้ำที่ได้งบมา 938 ล้านบาท อาทิ ได้ทำฝายชะลอน้ำ กึ่งถาวร 2,220 ฝาย ถาวร 610 ฝาย ปลูกหญ้าแฝก 140 ล้านต้น เพาะกล้าไม้ 176 ล้านกล้า สนับสนุนให้มีการปลฺกป่า 8,100 ไร่
หลังจากนั้น นายปลอดประสพ แถลงสรุปผลการประชุมระหว่างนายกฯกับผู้ว่าราชการจังหวัดในกลุ่มจังหวัด พื้นที่กลางน้ำ เพื่อติดตามโครงการป้องกันน้ำท่วม ว่า นายกฯห่วง 5 ข้อ 1.เน้นเรื่องปฏิทินน้ำคือทุกโครงการต้องเลร็จภายในเดือนก.ค.นี้ 2.ให้กระทรวงมหาดไทยเข้าไปปรับสัญญาว่าจ้างให้เสร็จสิ้นตามกำหนดเวลา 3.สั่งให้หน่วยราชการเข้าไปช่วยในโครงการที่มีเครื่องมือไม่พอ 4.แสดงความเป็นห่วงพื้นที่ อ.เมืองของ จ.นครสวรรค์และอุทัยธานี โดยวันนี้จะเข้าไปตรวจแนวคันกั้นน้ำในเขตเทศบาลเมือง จ.นครสวรรค์ หากใช้ป้องกันน้ำได้จะเป็นโมเดลในการป้องกันเมืองต่อไป และ 5.สั่งให้ผู้ว่าฯไปดูไม่ให้มีการบล็อคทางน้ำหลาก
เมื่อถามว่าโครงการที่สร้างไม่เสร็จตามกำกนดจะมีบทลงโทษหรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า เราไม่เน้นการลงโทษ จะใช้วิธีเข้าไปแก้จุดที่มีปัญหามากว่า ทั้งนี้ผู้รับเหมาโครงการใดทำช้า จะให้หน่วยราชการเข้าไปช่วย และหักค่าใช้จ่ายจากงบโครงการ ส่วนผู้รับเหมารายใดทิ้งงานจะถูกขึ้นแบล็คลิสต์
ส่วนประตูระบายน้ำ(ปตร.)พระงามแห่งใหม่ ที ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ซึ่งไม่น่าจะเสร็จภายในเดือนก.ค.นี้ นายปลอดประสพ กล่าวว่า แม้ตัวปตร.จะไม่เสร็จ แต่มีการถมดินไว้หัว-ท้ายจึงไม่น่ามีปัญหาอะไร
โดยนายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ(กนอช.) กล่าวช่วงหนึ่งว่า โครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการเร่งด่วน ยังไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืน ต้องรอโครงการที่ใช้งบจากพ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาทอีก
ด้านนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อยากให้เร่งระยะเวลาในการดำเนินการโครงการต่างๆ ทุกโครงการเสร็จสิ้นภายในเดือนก.ค.นี้ ตามปฏิทินของกบอ. ทั้งนี้หากจำเป็นให้ประสานกองทัพเข้าช่วยเหลือ และอยากให้กบอ.บูรณาการภาพรวมทั่วประเทศ เพราะเวลานี้แต่ละจังหวัดก็ยังทำเฉะพาะพื้นที่ตัวเอง อย่างจ.พิจิตรถ้าทำให้น้ำไหลไปจ.นครสวรรค์แล้วไหลลงแม่น้ำไม่ได้ ก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมขังเหมือนปี 2554 อย่าให้มีการบล็อคตามรอยต่อจังหวัด ขอให้ผู้ว่าฯในกลุ่มจังหวัดพื้นที่กลางน้ำไปหารือกัน หากโครงการใดในจังหวัดไหน ผู้รับเหมาดำเนินการไม่ทัน ขอให้ปรับสัญญา เพื่อให้กองทัพเข้าไปช่วยเหลือได้
ด้านนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.ทรัพยากนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงานความคืบหน้า การสร้างฝายและปลูกป่าในพื้นที่ต้นน้ำที่ได้งบมา 938 ล้านบาท อาทิ ได้ทำฝายชะลอน้ำ กึ่งถาวร 2,220 ฝาย ถาวร 610 ฝาย ปลูกหญ้าแฝก 140 ล้านต้น เพาะกล้าไม้ 176 ล้านกล้า สนับสนุนให้มีการปลฺกป่า 8,100 ไร่
หลังจากนั้น นายปลอดประสพ แถลงสรุปผลการประชุมระหว่างนายกฯกับผู้ว่าราชการจังหวัดในกลุ่มจังหวัด พื้นที่กลางน้ำ เพื่อติดตามโครงการป้องกันน้ำท่วม ว่า นายกฯห่วง 5 ข้อ 1.เน้นเรื่องปฏิทินน้ำคือทุกโครงการต้องเลร็จภายในเดือนก.ค.นี้ 2.ให้กระทรวงมหาดไทยเข้าไปปรับสัญญาว่าจ้างให้เสร็จสิ้นตามกำหนดเวลา 3.สั่งให้หน่วยราชการเข้าไปช่วยในโครงการที่มีเครื่องมือไม่พอ 4.แสดงความเป็นห่วงพื้นที่ อ.เมืองของ จ.นครสวรรค์และอุทัยธานี โดยวันนี้จะเข้าไปตรวจแนวคันกั้นน้ำในเขตเทศบาลเมือง จ.นครสวรรค์ หากใช้ป้องกันน้ำได้จะเป็นโมเดลในการป้องกันเมืองต่อไป และ 5.สั่งให้ผู้ว่าฯไปดูไม่ให้มีการบล็อคทางน้ำหลาก
เมื่อถามว่าโครงการที่สร้างไม่เสร็จตามกำกนดจะมีบทลงโทษหรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า เราไม่เน้นการลงโทษ จะใช้วิธีเข้าไปแก้จุดที่มีปัญหามากว่า ทั้งนี้ผู้รับเหมาโครงการใดทำช้า จะให้หน่วยราชการเข้าไปช่วย และหักค่าใช้จ่ายจากงบโครงการ ส่วนผู้รับเหมารายใดทิ้งงานจะถูกขึ้นแบล็คลิสต์
ส่วนประตูระบายน้ำ(ปตร.)พระงามแห่งใหม่ ที ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ซึ่งไม่น่าจะเสร็จภายในเดือนก.ค.นี้ นายปลอดประสพ กล่าวว่า แม้ตัวปตร.จะไม่เสร็จ แต่มีการถมดินไว้หัว-ท้ายจึงไม่น่ามีปัญหาอะไร
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น