ในที่สุด ’เสียงข้างมาก“ ของสภาผู้แทนราษฎรก็เอาด้วยกับ ’รายงาน“ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.พรรคมาตุภูมิเป็นประธาน โดยจัดส่งให้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไปดำเนินการเพื่อสร้างความปรองดองต่อไป
ต้องถือว่าการถกเถียงจากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านตลอดระยะเวลา 2 คืนที่ผ่านมายังเป็นแค่ ’บันไดขั้นแรก“ ของการเดินหน้าไปสู่ความปรองดองเท่านั้น
สาระสำคัญอยู่ตรงที่ว่าจากนี้ไป ’2 ทางเลือก“ ในกระบวนการนิรโทษกรรม กับ ’3 ทางเลือก“ ในกระบวนการของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือ คตส. รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งสื่อมวลชนตั้งฉายาให้เป็นรัฐบาล ’ทักษิณส่วนหน้า“ จะเดินไปทางไหน ’ตรงนี้“ สำคัญและน่าจับตามองอย่างยิ่ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและอดีตนายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ยืนยันอย่างชัดเจนว่า พรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมเดินหน้ากระบวนการปรองดอง หากกระบวนการปรองดองนั้น ทำเพื่อประโยชน์คนส่วนใหญ่ ไม่ใช่ประโยชน์ของใคร ’คนใดคนหนึ่ง“
นายอภิสิทธิ์ แสดงความชัดเจนถึงขนาดว่า เสนอให้มีการนิรโทษกรรมผู้ที่ทำผิด พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งหมดนับตั้งแต่การชุมนุมหลังเหตุการณ์การรัฐประหารวันที่ 19 ก.ย. 2549 โดยเว้นไว้เพียง 3 คนคือ ตนเอง นายสุเทพ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เหตุที่เว้นไว้เพราะต้องการ ’ค้นหาความจริง“ ในเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมาเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า ใครคือผู้ก่อการร้าย ใครคือผู้สั่งฆ่าประชาชน ซึ่งตรงกับทางเลือกที่ 2 ของสถาบันพระปกเกล้าที่ว่าด้วยเรื่องกระบวนการนิรโทษกรรม ขณะที่คดีของ คตส.นั้น นายอภิสิทธิ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ’ไม่ขัดข้อง“ หากคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจะเริ่มกระบวนการสอบสวนใหม่ แต่คดีที่ ’สิ้นสุด“ ไปแล้ว ผู้ต้องคำพิพากษาต้อง ’รับโทษ“ ในความผิดนั้น ๆ ซะก่อน และหลังจากนั้นจะดำเนินการเพื่อลบล้างความผิดที่ว่านั้นอย่างไรก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง
’ข้อเสนอ“ นี้ยังไม่มี ’เสียงตอบรับ“ จากฝ่ายรัฐบาลพรรคเพื่อไทย แกนนำคนเสื้อแดง รวมไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะข้อเสนอที่ว่าเท่ากับเป็น ’การแยก“ กระบวนการปรองดองออกจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งพรรคเพื่อไทยไม่ต้องการเช่นนั้นแน่ แต่ที่พรรคเพื่อไทยต้องการ คือทางเลือกที่ 3 ของกระบวนการ คตส.ที่ระบุว่า “ให้เพิกถอนผลทางกฎหมายที่ดำเนินการโดยคตส.ทั้งหมด และไม่นำคดีที่อยู่ระหว่างกระบวนการและที่ตัดสินไปแล้วมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง” ซึ่งนั่นก็หมายความว่า คดีที่ถูกข้อกล่าวหาทุจริตทั้งที่อยู่ในมือของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทั้งที่ตัดสินคดีไปแล้วซึ่งก็คือคดีการทุจริตซื้อขายที่ดิน ถนนรัชดาภิเษก และคดี ’ยึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท“ นั้นเป็นอันจบไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาก่อน ก็เท่ากับว่า นอกจากพ.ต.ท.ทักษิณ จะพ้นแล้วยังไม่สามารถ ’รื้อคดี“ มาพิจารณาใหม่ได้อีก
พรรคประชาธิปัตย์ มองว่า การปรองดองจะเกิดขึ้นได้หากทุกคนทุกฝ่ายเคารพกติกาบ้านเมืองและอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของกฎหมายฉบับเดียวกันโดยเฉพาะ ’คำพิพากษา“ ของศาลฎีกาซึ่งถือว่า ’เป็นที่สุด“ จะต้องไม่ถูกลบล้าง ขณะที่พรรคเพื่อไทย อธิบายแค่ว่า กระบวนการดำเนินคดีไม่มีความเป็นธรรมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ดังนั้นสิ่งที่ผ่านมาจึงต้อง ’ยกเลิก“ ทั้งหมด
เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมกับพ.ต.ท.ทักษิณ ต้องอย่ามองแค่คดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ’ผิด“ เท่านั้นแต่ต้องมองคดีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ’ไม่ผิด“ ด้วย เพราะคดีภาษีหุ้นชินคอร์ป 1.2 หมื่นล้านบาทที่ยังไม่เก็บภาษีส่วนหนึ่งก็มีอ้างคำพิพากษาของศาลฎีกาเช่นกัน
ทั้งหมดของการปรองดองที่พูดกัน จึงอยู่แค่ที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะพ้นผิดหรือไม่พ้นผิดเท่านั้น หาก ’พ้นผิด“ ความปรองดองก็เกิดขึ้นได้ แต่หากไม่ ’พ้นผิด“ ความปรองดองก็ยากที่จะหาจุดสิ้นสุดลงได้ แม้คนส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ผ่าน ๆ มาจะได้อานิสงส์จากการปรองดองในครั้งนี้ก็ตาม
สิ่งที่ต้องตามดูต่อไปคือ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะมีกระบวนการ ’สานเสวนา“ ที่ทั่วถึงและกว้างขวางอย่างไรเพื่อให้เกิดการยอมรับอย่างกว้างขวางจากคนส่วนใหญ่ เพราะชัยชนะในสภาผู้แทนราษฎร กับชัยชนะ ’นอก“ สภาผู้แทนราษฎรเป็น ’คนละเรื่อง“ กัน นอกจากนี้ การ ’สานเสวนา“ จะต้องทำท่ามกลางบรรยากาศของการคุยกันอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นการจัดตั้งของฝ่ายการเมืองที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อหาความชอบธรรมในลักษณะของการใช้ ’เสียงข้างมาก“ นอกรัฐสภาผลักดัน
เพราะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 142 ระบุว่า การเสนอพระราชบัญญัตินั้นทำได้ 4 ช่องทางคือ 1. คณะรัฐมนตรี 2. ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน 3. ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และ 4. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คนขึ้นไป
จุดใหญ่ที่ต้องจับตาคือ การจัดงาน ’สงกรานต์ทักษิณ“ ใน 2 ประเทศ ตั้งแต่วันที่ 11-14 เม.ย.ที่จะถึงนี้ เชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะส่งสัญญาณทางการเมืองแน่นอน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ’ส่งซิก“ มาแล้วว่า จะกลับเมืองไทยอย่างเท่ ๆ
มีความเป็นไปได้ 2 ทาง ทางหนึ่ง คือเร่งกระบวนการโดยใช้ ’เสียงข้างมาก“ ผลักดันเพื่อให้การปรองดองเกิดขึ้นผ่านกระบวนการของการออกกฎหมายในรัฐสภา ทางนี้แม้จะสามารถทำได้เพราะฝ่ายรัฐบาล ’ควบคุม“ เสียงข้างมากในสภาได้อย่างเบ็ดเสร็จแต่ก็ ’สุ่มเสี่ยง“ ที่กลายเป็นเงื่อนไขให้เกิดการชุมนุมทางการเมืองขึ้นมาได้ และหากมีความไม่สงบเกิดขึ้น รัฐบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ พ.ต.ท.ทักษิณเองจะ
เดือดร้อนกว่าใครเพื่อน
อีกทางหนึ่ง เมื่อทุกอย่างอยู่ในสถานการณ์ที่ ’ควบคุม“ ได้ และตระหนักว่าการปรองดองนั้นไม่มีทางที่ฝ่ายหนึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งหมด ขอแค่เพียงได้ประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก็พอ โอกาสที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับมา ’ติดคุก“ จึงมีความเป็นไปได้อย่างยิ่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า จะสามารถดูแลด้านความปลอดภัยได้มากน้อยขนาดไหน ที่สำคัญต้องมีหลักประกันที่ชัดเจนว่าเมื่อ ’รับโทษ“ แล้วจะได้รับการนิรโทษกรรม
ทางนี้จะทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ สง่างาม แต่แม้คดีจะสิ้นสุด แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ คิดจะกลับเข้ามาเล่นการเมืองจะไม่สามารถทำได้ เพราะติดเงื่อนไขในเรื่อง ’คุณสมบัติ“ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 102 (7) ที่กำหนดคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ คณะรัฐมนตรีและ ส.ส.ว่า เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน
แต่นั่นก็อาจจะไม่ใช่ปัญหา เพราะระหว่างการถกเถียงเรื่องการสร้างความปรองดอง การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เสร็จสิ้นเตรียมไว้นำสู่การพิจารณาของสภาในระหว่างวันที่ 10-11 เม.ย.และหากไม่มีอะไรผิดพลาดก็สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในวาระที่ 3 ราว ๆ ปลายเดือน เม.ย.นี้
ปรองดอง แก้รัฐธรรมนูญ และพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคนละเรื่องเดียวกันที่วันนี้ใครกันแน่ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทย ที่ ’ก้าวไม่พ้น“ พ.ต.ท.ทักษิณ ซักกะที.
ต้องถือว่าการถกเถียงจากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านตลอดระยะเวลา 2 คืนที่ผ่านมายังเป็นแค่ ’บันไดขั้นแรก“ ของการเดินหน้าไปสู่ความปรองดองเท่านั้น
สาระสำคัญอยู่ตรงที่ว่าจากนี้ไป ’2 ทางเลือก“ ในกระบวนการนิรโทษกรรม กับ ’3 ทางเลือก“ ในกระบวนการของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือ คตส. รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งสื่อมวลชนตั้งฉายาให้เป็นรัฐบาล ’ทักษิณส่วนหน้า“ จะเดินไปทางไหน ’ตรงนี้“ สำคัญและน่าจับตามองอย่างยิ่ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและอดีตนายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ยืนยันอย่างชัดเจนว่า พรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมเดินหน้ากระบวนการปรองดอง หากกระบวนการปรองดองนั้น ทำเพื่อประโยชน์คนส่วนใหญ่ ไม่ใช่ประโยชน์ของใคร ’คนใดคนหนึ่ง“
นายอภิสิทธิ์ แสดงความชัดเจนถึงขนาดว่า เสนอให้มีการนิรโทษกรรมผู้ที่ทำผิด พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งหมดนับตั้งแต่การชุมนุมหลังเหตุการณ์การรัฐประหารวันที่ 19 ก.ย. 2549 โดยเว้นไว้เพียง 3 คนคือ ตนเอง นายสุเทพ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เหตุที่เว้นไว้เพราะต้องการ ’ค้นหาความจริง“ ในเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมาเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า ใครคือผู้ก่อการร้าย ใครคือผู้สั่งฆ่าประชาชน ซึ่งตรงกับทางเลือกที่ 2 ของสถาบันพระปกเกล้าที่ว่าด้วยเรื่องกระบวนการนิรโทษกรรม ขณะที่คดีของ คตส.นั้น นายอภิสิทธิ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ’ไม่ขัดข้อง“ หากคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจะเริ่มกระบวนการสอบสวนใหม่ แต่คดีที่ ’สิ้นสุด“ ไปแล้ว ผู้ต้องคำพิพากษาต้อง ’รับโทษ“ ในความผิดนั้น ๆ ซะก่อน และหลังจากนั้นจะดำเนินการเพื่อลบล้างความผิดที่ว่านั้นอย่างไรก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง
’ข้อเสนอ“ นี้ยังไม่มี ’เสียงตอบรับ“ จากฝ่ายรัฐบาลพรรคเพื่อไทย แกนนำคนเสื้อแดง รวมไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะข้อเสนอที่ว่าเท่ากับเป็น ’การแยก“ กระบวนการปรองดองออกจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งพรรคเพื่อไทยไม่ต้องการเช่นนั้นแน่ แต่ที่พรรคเพื่อไทยต้องการ คือทางเลือกที่ 3 ของกระบวนการ คตส.ที่ระบุว่า “ให้เพิกถอนผลทางกฎหมายที่ดำเนินการโดยคตส.ทั้งหมด และไม่นำคดีที่อยู่ระหว่างกระบวนการและที่ตัดสินไปแล้วมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง” ซึ่งนั่นก็หมายความว่า คดีที่ถูกข้อกล่าวหาทุจริตทั้งที่อยู่ในมือของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทั้งที่ตัดสินคดีไปแล้วซึ่งก็คือคดีการทุจริตซื้อขายที่ดิน ถนนรัชดาภิเษก และคดี ’ยึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท“ นั้นเป็นอันจบไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาก่อน ก็เท่ากับว่า นอกจากพ.ต.ท.ทักษิณ จะพ้นแล้วยังไม่สามารถ ’รื้อคดี“ มาพิจารณาใหม่ได้อีก
พรรคประชาธิปัตย์ มองว่า การปรองดองจะเกิดขึ้นได้หากทุกคนทุกฝ่ายเคารพกติกาบ้านเมืองและอยู่ภายใต้การบังคับใช้ของกฎหมายฉบับเดียวกันโดยเฉพาะ ’คำพิพากษา“ ของศาลฎีกาซึ่งถือว่า ’เป็นที่สุด“ จะต้องไม่ถูกลบล้าง ขณะที่พรรคเพื่อไทย อธิบายแค่ว่า กระบวนการดำเนินคดีไม่มีความเป็นธรรมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ดังนั้นสิ่งที่ผ่านมาจึงต้อง ’ยกเลิก“ ทั้งหมด
เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมกับพ.ต.ท.ทักษิณ ต้องอย่ามองแค่คดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ’ผิด“ เท่านั้นแต่ต้องมองคดีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ’ไม่ผิด“ ด้วย เพราะคดีภาษีหุ้นชินคอร์ป 1.2 หมื่นล้านบาทที่ยังไม่เก็บภาษีส่วนหนึ่งก็มีอ้างคำพิพากษาของศาลฎีกาเช่นกัน
ทั้งหมดของการปรองดองที่พูดกัน จึงอยู่แค่ที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะพ้นผิดหรือไม่พ้นผิดเท่านั้น หาก ’พ้นผิด“ ความปรองดองก็เกิดขึ้นได้ แต่หากไม่ ’พ้นผิด“ ความปรองดองก็ยากที่จะหาจุดสิ้นสุดลงได้ แม้คนส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ผ่าน ๆ มาจะได้อานิสงส์จากการปรองดองในครั้งนี้ก็ตาม
สิ่งที่ต้องตามดูต่อไปคือ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะมีกระบวนการ ’สานเสวนา“ ที่ทั่วถึงและกว้างขวางอย่างไรเพื่อให้เกิดการยอมรับอย่างกว้างขวางจากคนส่วนใหญ่ เพราะชัยชนะในสภาผู้แทนราษฎร กับชัยชนะ ’นอก“ สภาผู้แทนราษฎรเป็น ’คนละเรื่อง“ กัน นอกจากนี้ การ ’สานเสวนา“ จะต้องทำท่ามกลางบรรยากาศของการคุยกันอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นการจัดตั้งของฝ่ายการเมืองที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อหาความชอบธรรมในลักษณะของการใช้ ’เสียงข้างมาก“ นอกรัฐสภาผลักดัน
เพราะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 142 ระบุว่า การเสนอพระราชบัญญัตินั้นทำได้ 4 ช่องทางคือ 1. คณะรัฐมนตรี 2. ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน 3. ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และ 4. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คนขึ้นไป
จุดใหญ่ที่ต้องจับตาคือ การจัดงาน ’สงกรานต์ทักษิณ“ ใน 2 ประเทศ ตั้งแต่วันที่ 11-14 เม.ย.ที่จะถึงนี้ เชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะส่งสัญญาณทางการเมืองแน่นอน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ’ส่งซิก“ มาแล้วว่า จะกลับเมืองไทยอย่างเท่ ๆ
มีความเป็นไปได้ 2 ทาง ทางหนึ่ง คือเร่งกระบวนการโดยใช้ ’เสียงข้างมาก“ ผลักดันเพื่อให้การปรองดองเกิดขึ้นผ่านกระบวนการของการออกกฎหมายในรัฐสภา ทางนี้แม้จะสามารถทำได้เพราะฝ่ายรัฐบาล ’ควบคุม“ เสียงข้างมากในสภาได้อย่างเบ็ดเสร็จแต่ก็ ’สุ่มเสี่ยง“ ที่กลายเป็นเงื่อนไขให้เกิดการชุมนุมทางการเมืองขึ้นมาได้ และหากมีความไม่สงบเกิดขึ้น รัฐบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ พ.ต.ท.ทักษิณเองจะ
เดือดร้อนกว่าใครเพื่อน
อีกทางหนึ่ง เมื่อทุกอย่างอยู่ในสถานการณ์ที่ ’ควบคุม“ ได้ และตระหนักว่าการปรองดองนั้นไม่มีทางที่ฝ่ายหนึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งหมด ขอแค่เพียงได้ประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก็พอ โอกาสที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับมา ’ติดคุก“ จึงมีความเป็นไปได้อย่างยิ่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า จะสามารถดูแลด้านความปลอดภัยได้มากน้อยขนาดไหน ที่สำคัญต้องมีหลักประกันที่ชัดเจนว่าเมื่อ ’รับโทษ“ แล้วจะได้รับการนิรโทษกรรม
ทางนี้จะทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ สง่างาม แต่แม้คดีจะสิ้นสุด แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ คิดจะกลับเข้ามาเล่นการเมืองจะไม่สามารถทำได้ เพราะติดเงื่อนไขในเรื่อง ’คุณสมบัติ“ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 102 (7) ที่กำหนดคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ คณะรัฐมนตรีและ ส.ส.ว่า เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน
แต่นั่นก็อาจจะไม่ใช่ปัญหา เพราะระหว่างการถกเถียงเรื่องการสร้างความปรองดอง การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เสร็จสิ้นเตรียมไว้นำสู่การพิจารณาของสภาในระหว่างวันที่ 10-11 เม.ย.และหากไม่มีอะไรผิดพลาดก็สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในวาระที่ 3 ราว ๆ ปลายเดือน เม.ย.นี้
ปรองดอง แก้รัฐธรรมนูญ และพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคนละเรื่องเดียวกันที่วันนี้ใครกันแน่ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทย ที่ ’ก้าวไม่พ้น“ พ.ต.ท.ทักษิณ ซักกะที.
แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น