วันนี้ ( 28 พ.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายบวร
ยสินธร แกนนำกลุ่มราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน
หนึ่งในเครือข่ายกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม
พร้อมด้วยกลุ่มผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บและผู้ที่ถูกจับกุมจากการกระทำของ
เจ้าหน้าที่ในวันชุมนุม ได้เดินทางเข้ายื่นคำร้องต่อ นางอมรา พงศาพิชญ์
ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และน.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง
เพื่อขอให้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง
แล้วเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครอง
ถึงกรณีที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการตามพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา
เนื่องจากเห็นว่าการประกาศใช้พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการประกาศใช้โดยมิชอบ
ทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยแล้วว่าการชุมนุมของกลุ่มองค์การ พิทักษ์ สยามมิได้ขัดต่อบทบัญญัตแห่งรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550 มาตรา 68 วรรคหนึ่งแต่อย่างใด แต่รัฐบาลกลับใช้อำนาจขัดขวางการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของกลุ่มผู้ ชุมนุมกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามที่ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมา
ด้านน.พ.นิรันดร์ ระบุว่า หลังจากนี้ ทางกรรมการสิทธิฯจะทำจดหมายเชิญหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี สภาความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงกลุ่มผู้ชุมนุมองค์การพิทักษ์สยาม ตลอดจนสื่อมวลชน เพื่อให้เข้าร่วมชี้แจงข้อเท็จจริงในเหตุการณ์การวันชุมนุม ต่ออนุกรรมการฯ กรรมการสิทธิฯ ในวันที่ 7 ธ.ค. เวลา 13.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ว่าเหตุการณ์การชุมนุมในวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมานั้น ได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่
นพ.นิรันดร์ กล่าวอีกว่า คาดว่าทางกรรมการสิทธิฯจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการไต่สวน เพื่อสรุปข้อเท็จจริง ไม่เกิน 30 วัน ซึ่งหากข้อเท็จจริงที่รวบรวมพบว่าเจ้าหน้าที่ได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการประกาศใช้กฎหมายเป็นไปโดยมิชอบตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างจริง ทางกรรมการสิทธิฯก็จะส่งข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานให้ทราบถึงผลการกระทำที่อาจจะไม่เหมาะสม แต่ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการสิทธิฯเป็นหน่วยงานอิสระไม่มีอำนาจที่จะไปสั่ง การให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการได้
อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวทางหลังการไต่สวนแล้วเสร็จ หากมีประเด็นที่มิชอบ ทางกรรมการสิทธิฯ ก็สามารถส่งความเห็นไปยังศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญให้ดำเนินการต่อไปได้ อีกทั้ง ก็สามารถดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมในฐานะผู้แทนผู้เสียหายได้เช่นกัน
ทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยแล้วว่าการชุมนุมของกลุ่มองค์การ พิทักษ์ สยามมิได้ขัดต่อบทบัญญัตแห่งรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550 มาตรา 68 วรรคหนึ่งแต่อย่างใด แต่รัฐบาลกลับใช้อำนาจขัดขวางการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของกลุ่มผู้ ชุมนุมกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามที่ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมา
ด้านน.พ.นิรันดร์ ระบุว่า หลังจากนี้ ทางกรรมการสิทธิฯจะทำจดหมายเชิญหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี สภาความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงกลุ่มผู้ชุมนุมองค์การพิทักษ์สยาม ตลอดจนสื่อมวลชน เพื่อให้เข้าร่วมชี้แจงข้อเท็จจริงในเหตุการณ์การวันชุมนุม ต่ออนุกรรมการฯ กรรมการสิทธิฯ ในวันที่ 7 ธ.ค. เวลา 13.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ว่าเหตุการณ์การชุมนุมในวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมานั้น ได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่
นพ.นิรันดร์ กล่าวอีกว่า คาดว่าทางกรรมการสิทธิฯจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการไต่สวน เพื่อสรุปข้อเท็จจริง ไม่เกิน 30 วัน ซึ่งหากข้อเท็จจริงที่รวบรวมพบว่าเจ้าหน้าที่ได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการประกาศใช้กฎหมายเป็นไปโดยมิชอบตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างจริง ทางกรรมการสิทธิฯก็จะส่งข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานให้ทราบถึงผลการกระทำที่อาจจะไม่เหมาะสม แต่ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการสิทธิฯเป็นหน่วยงานอิสระไม่มีอำนาจที่จะไปสั่ง การให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการได้
อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวทางหลังการไต่สวนแล้วเสร็จ หากมีประเด็นที่มิชอบ ทางกรรมการสิทธิฯ ก็สามารถส่งความเห็นไปยังศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญให้ดำเนินการต่อไปได้ อีกทั้ง ก็สามารถดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมในฐานะผู้แทนผู้เสียหายได้เช่นกัน
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น