เมื่อเวลา 13.00 น. วันนี้ (17 ก.ค.) ที่อาคาร 2 รัฐสภา นายเจริญ
จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 นายนิคม ไวยรัชพานิช
รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1
ได้เรียกประชุมส.ส.และส.ว.เพื่อหารือถึงแนวทางแก้ปัญหากรณีที่พล.ต.จำลอง
ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยื่นถอดถอน ส.ส.
ส.ว.416 คนที่ลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญในวาระ1 และวาระ2
รวมถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291
ไม่เข้าข่ายการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
แต่ถ้าจะมีการแก้ไขทั้งฉบับ ควรให้ทำประชามติสอบถามประชาชนก่อน
โดยมีส.ส.และส.ว.ประมาณ 50-60 คน เข้าร่วมหารือ
ภายหลังการหารือเป็นเวลา 2 ชั่วโมง นายนิคม รองประธานวุฒิสภา แถลงว่า ที่ประชุมได้หารือร่วมกันโดยเห็นเป็น 2 แนวทางคือ 1.กรณีการยื่นถอดถอนส.ส.-ส.ว. 416 คน ขณะนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้ขยายเวลาการยื่นคำชี้แจงจากเดิม 15 วัน ที่จะครบกำหนดในวันที่ 17 ก.ค. ออกไปอีก 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 17 ส.ค. อย่างไรก็ตามที่ประชุมเห็นว่า ควรรอคำวินิจฉัยส่วนตัว และคำวินิจฉัยกลางที่จะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษามาพิจารณาดูให้รอบคอบก่อน เพราะยังมีเวลาพิจารณาอีก ขณะนี้มีส.ส.และส.ว.มาให้ยื่นเรื่องให้สำนักกฎหมาย รัฐสภา มาเป็นผู้ดำเนินการแก้ข้อกล่าวหาให้แล้ว 300 คน
นายนิคม กล่าวว่า 2.กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จะสามารถดำเนินการต่อได้หรือไม่ ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นเป็น 2 แนวทางคือ 1.ให้เดินหน้าลงมติร่างรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ทันที จากนั้นค่อยทำประชามติ ซึ่งสามารถทำได้ 2.ปฏิบัติตามที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ไปทำประชามติก่อน ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้นำเรื่องดังกล่าวหารือต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภา จะดำเนินการอย่างไร หากที่ประชุมเห็นว่า ให้โหวตวาระ 3 ก็จะโหวตลงมติในวาระ 3 ด้วยการโหวตขานชื่อทีละคน จากนั้นจะเข้าสู่มาตรา 150 ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 20 วัน หรือถ้าที่ประชุมเห็นว่า ไม่ควรเดินหน้าให้ไปทำประชามติก่อน ก็ต้องไปทำตามประชามติ โดยจะให้ที่ประชุมรัฐสภาเป็นผู้เสนอทางออก
ด้านนายเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 กล่าวว่า จะมีการบรรจุวาระเรื่องนี้เมื่อใด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประธานรัฐสภา แต่ในทางปฏิบัติเชื่อว่า เรื่องนี้ต้องไม่ล่าช้า คาดว่า การพิจารณาเรื่องดังกล่าวน่าจะเป็นวาระแรกในการเปิดประชุมสภาสามัญทั่วไป ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ในวันนี้ที่เข้าร่วมประชุม แม้จะไม่ใช่สมาชิกทั้ง 416 คน แต่ก็ถือเป็นตัวแทนพรรค วิปรัฐบาล ส.ว.ที่จะนำมติในครั้งนี้ไปแจ้งให้สมาชิกทราบ ทั้งนี้ที่ประชุมได้วิเคราะห์กันแล้วเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ครั้งนี้ เป็นการแก้ไขเพียงมาตราเดียว ไม่ใช่แก้ไขทั้งฉบับ เท่าที่ฟังดูแล้วส่วนใหญ่ที่ประชุม อยากให้โหวตลงมติวาระ 3 เลย
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมั่นใจได้อย่างไรว่า การแก้ไขมาตรา 291 จะไม่เป็นจุดเริ่มต้นการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ นายเจริญถามย้อนกลับว่า เราคงไปคิดแทนส.ส.ร.ไม่ได้ว่า จะแก้ทั้งฉบับหรือไม่ แทนที่ประชุมยืนยันว่า เป็นการแก้ไขแค่มาตราเดียวคือ มาตรา 291 เมื่อถามว่า เกรงหรือไม่ว่า หากมีการเดินหน้าลงมติในวาระ 3 จะมีผู้นำไปยื่นร้องศาลรัฐธรรมนูญอีกว่า ผิดมาตรา 68 นายเจริญตอบว่า “ไม่กังวล คงไปห้ามไปไม่ได้ กลัวแค่ว่า จะไม่มีคนไปร้อง”
เมื่อถามว่า หากมีการโหวตผ่านวาระ 3 ไปแล้ว นำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ไม่มีการโปรดเกล้าฯลงมา จะทำอย่างไร นายเจริญ กล่าวว่า เรื่องนี้มีขั้นตอนอยู่ว่า ถ้าไม่มีการโปรดเกล้าฯลงมา ก็ให้นำเรื่องกลับมาให้รัฐสภาลงมติรับรองด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกรัฐสภาที่มีอยู่ ตามมาตรา 151 ซึ่งเชื่อว่าคงไม่ผ่านแน่นอนเพราะต้องใช้เสียงค่อนข้างมาก.
ภายหลังการหารือเป็นเวลา 2 ชั่วโมง นายนิคม รองประธานวุฒิสภา แถลงว่า ที่ประชุมได้หารือร่วมกันโดยเห็นเป็น 2 แนวทางคือ 1.กรณีการยื่นถอดถอนส.ส.-ส.ว. 416 คน ขณะนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้ขยายเวลาการยื่นคำชี้แจงจากเดิม 15 วัน ที่จะครบกำหนดในวันที่ 17 ก.ค. ออกไปอีก 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 17 ส.ค. อย่างไรก็ตามที่ประชุมเห็นว่า ควรรอคำวินิจฉัยส่วนตัว และคำวินิจฉัยกลางที่จะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษามาพิจารณาดูให้รอบคอบก่อน เพราะยังมีเวลาพิจารณาอีก ขณะนี้มีส.ส.และส.ว.มาให้ยื่นเรื่องให้สำนักกฎหมาย รัฐสภา มาเป็นผู้ดำเนินการแก้ข้อกล่าวหาให้แล้ว 300 คน
นายนิคม กล่าวว่า 2.กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จะสามารถดำเนินการต่อได้หรือไม่ ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นเป็น 2 แนวทางคือ 1.ให้เดินหน้าลงมติร่างรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ทันที จากนั้นค่อยทำประชามติ ซึ่งสามารถทำได้ 2.ปฏิบัติตามที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ไปทำประชามติก่อน ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้นำเรื่องดังกล่าวหารือต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภา จะดำเนินการอย่างไร หากที่ประชุมเห็นว่า ให้โหวตวาระ 3 ก็จะโหวตลงมติในวาระ 3 ด้วยการโหวตขานชื่อทีละคน จากนั้นจะเข้าสู่มาตรา 150 ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 20 วัน หรือถ้าที่ประชุมเห็นว่า ไม่ควรเดินหน้าให้ไปทำประชามติก่อน ก็ต้องไปทำตามประชามติ โดยจะให้ที่ประชุมรัฐสภาเป็นผู้เสนอทางออก
ด้านนายเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 กล่าวว่า จะมีการบรรจุวาระเรื่องนี้เมื่อใด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประธานรัฐสภา แต่ในทางปฏิบัติเชื่อว่า เรื่องนี้ต้องไม่ล่าช้า คาดว่า การพิจารณาเรื่องดังกล่าวน่าจะเป็นวาระแรกในการเปิดประชุมสภาสามัญทั่วไป ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ในวันนี้ที่เข้าร่วมประชุม แม้จะไม่ใช่สมาชิกทั้ง 416 คน แต่ก็ถือเป็นตัวแทนพรรค วิปรัฐบาล ส.ว.ที่จะนำมติในครั้งนี้ไปแจ้งให้สมาชิกทราบ ทั้งนี้ที่ประชุมได้วิเคราะห์กันแล้วเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ครั้งนี้ เป็นการแก้ไขเพียงมาตราเดียว ไม่ใช่แก้ไขทั้งฉบับ เท่าที่ฟังดูแล้วส่วนใหญ่ที่ประชุม อยากให้โหวตลงมติวาระ 3 เลย
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมั่นใจได้อย่างไรว่า การแก้ไขมาตรา 291 จะไม่เป็นจุดเริ่มต้นการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ นายเจริญถามย้อนกลับว่า เราคงไปคิดแทนส.ส.ร.ไม่ได้ว่า จะแก้ทั้งฉบับหรือไม่ แทนที่ประชุมยืนยันว่า เป็นการแก้ไขแค่มาตราเดียวคือ มาตรา 291 เมื่อถามว่า เกรงหรือไม่ว่า หากมีการเดินหน้าลงมติในวาระ 3 จะมีผู้นำไปยื่นร้องศาลรัฐธรรมนูญอีกว่า ผิดมาตรา 68 นายเจริญตอบว่า “ไม่กังวล คงไปห้ามไปไม่ได้ กลัวแค่ว่า จะไม่มีคนไปร้อง”
เมื่อถามว่า หากมีการโหวตผ่านวาระ 3 ไปแล้ว นำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ไม่มีการโปรดเกล้าฯลงมา จะทำอย่างไร นายเจริญ กล่าวว่า เรื่องนี้มีขั้นตอนอยู่ว่า ถ้าไม่มีการโปรดเกล้าฯลงมา ก็ให้นำเรื่องกลับมาให้รัฐสภาลงมติรับรองด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกรัฐสภาที่มีอยู่ ตามมาตรา 151 ซึ่งเชื่อว่าคงไม่ผ่านแน่นอนเพราะต้องใช้เสียงค่อนข้างมาก.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น