วันนี้ ( 24 มิ.ย.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสกลธี ภัททิยกุล
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวกรณีการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ
ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งจะประชุมในวันที่ 27มิ.ย.นี้ว่า
จะมีการพิจารณาในเรื่องที่เกี่ยวกับพรรคประชาธิปัตย์ 2 ประเด็นคือ
1.การที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้บริษัทกรุงเทพธนาคม หรือ (เคที)
ว่าจ้างบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซีเดินรถ 30
ปี และ 2.กรณีเงินบริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมของพรรคประชาธิปัตย์
ที่พรรคเพื่อไทยตั้งเรื่องเพื่อกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ ว่ากระทำผิดตาม
พ.ร.บ.พรรคการเมือง เพื่อนำไปสู่การยุบพรรค
ทั้งนี้ฝ่ายกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์ มองว่าดีเอสไอไม่มีอำนาจในการรับเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาเป็นคดีพิเศษ แต่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ป.ป.ช.มาตราที่ 66 ที่ให้อำนาจ ป.ป.ช.พิจารณาความผิดของข้าราชการการเมือง เพราะก่อนหน้านี้เคยมีคดีบรรทัดฐานเช่นเดียวกันเอาไว้ เช่น คดี ซีซีทีวี ของกทม. โดยนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เคยออกมายอมรับเองว่าไม่มีอำนาจรวมทั้ง ดีเอไอ ยังเคยสอบถามคณะกรรมการกฤษฎีกา ในเรื่องทุจริตในสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย กระทรวงมหาดไทย ก็ตอบกลับว่าไม่มีอำนาจเช่นกัน เนื่องจาก ดีเอสไอไม่สามารถพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการการเมืองได้
นายสกลธี กล่าวว่า หากการประชุมในวันที่ 27มิ.ย.ที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษมีมติเสียงข้างมากคือ 2 ใน 3 รับเรื่องไว้พิจารณาเป็นคดีพิเศษ ทางทีมกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์และกทม.ก็จะเดินหน้าร้องต่อ ป.ป.ช.ต่อไปในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกับผู้ลงมติเห็นรับเรื่องดังกล่าว รวมทั้งดำเนินดีอาญาแก่ผู้เกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้สังเกตได้ว่าพฤติกรรมที่ผ่านมาของอธิบดีเอสไอมีพฤติกรรมที่รับลูกทาง การเมือง เปรียบได้กับเป็นกรมสอบสวนคดีของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าข้าราชการที่ทำในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ มีการก้าวกระโดดในตำแหน่งหน้าที่ เพราะคนที่เคยต่อสู้กับพรรคประชาธิปัตย์ ได้ดีทุกคน โดยไม่มีใครมีตำแหน่งต่ำกว่าระดับอธิบดีในกระทรวงยุติธรรมสักคน อย่างไรก็ตามยืนยันพรรคประชาธิปัตย์ ไม่กลัวการตรวจสอบ แต่ต้องการเห็นความโปร่งใสและเป็นธรรม อีกทั้งกลัวว่าพรรคเพื่อไทยจะใช้ข้าราชการเป็นเครื่องมือทางการเมืองทำลาย ฝ่ายตรงข้าม
ทั้งนี้ฝ่ายกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์ มองว่าดีเอสไอไม่มีอำนาจในการรับเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาเป็นคดีพิเศษ แต่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ป.ป.ช.มาตราที่ 66 ที่ให้อำนาจ ป.ป.ช.พิจารณาความผิดของข้าราชการการเมือง เพราะก่อนหน้านี้เคยมีคดีบรรทัดฐานเช่นเดียวกันเอาไว้ เช่น คดี ซีซีทีวี ของกทม. โดยนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เคยออกมายอมรับเองว่าไม่มีอำนาจรวมทั้ง ดีเอไอ ยังเคยสอบถามคณะกรรมการกฤษฎีกา ในเรื่องทุจริตในสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย กระทรวงมหาดไทย ก็ตอบกลับว่าไม่มีอำนาจเช่นกัน เนื่องจาก ดีเอสไอไม่สามารถพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการการเมืองได้
นายสกลธี กล่าวว่า หากการประชุมในวันที่ 27มิ.ย.ที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษมีมติเสียงข้างมากคือ 2 ใน 3 รับเรื่องไว้พิจารณาเป็นคดีพิเศษ ทางทีมกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์และกทม.ก็จะเดินหน้าร้องต่อ ป.ป.ช.ต่อไปในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกับผู้ลงมติเห็นรับเรื่องดังกล่าว รวมทั้งดำเนินดีอาญาแก่ผู้เกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้สังเกตได้ว่าพฤติกรรมที่ผ่านมาของอธิบดีเอสไอมีพฤติกรรมที่รับลูกทาง การเมือง เปรียบได้กับเป็นกรมสอบสวนคดีของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าข้าราชการที่ทำในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ มีการก้าวกระโดดในตำแหน่งหน้าที่ เพราะคนที่เคยต่อสู้กับพรรคประชาธิปัตย์ ได้ดีทุกคน โดยไม่มีใครมีตำแหน่งต่ำกว่าระดับอธิบดีในกระทรวงยุติธรรมสักคน อย่างไรก็ตามยืนยันพรรคประชาธิปัตย์ ไม่กลัวการตรวจสอบ แต่ต้องการเห็นความโปร่งใสและเป็นธรรม อีกทั้งกลัวว่าพรรคเพื่อไทยจะใช้ข้าราชการเป็นเครื่องมือทางการเมืองทำลาย ฝ่ายตรงข้าม
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น