วันนี้(10ก.ย.) ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายสุรชัย
เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธาน
โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุมน.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี
หารือว่า แท็บเล็ตที่แจกให้กับเด็ก ป.1 ให้คุณหรือโทษกับเยาวชนไทย
ซึ่งมหกรรมแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กนักเรียน 7แสนเครื่องผ่านไปเรียบร้อยแล้ว
เป็นการสนองนโยบายรัฐบาลตามที่ได้หาเสียงไว้สำเร็จไปแล้ว
ด้วยงบประมาณนับพันๆล้านบาท แต่มีการท้วงติงว่าผิดสเป็ค
ความสมบูรณ์ของเครื่องว่ามีปัญหามากมายแต่รัฐบาลก็ไม่ฟัง
ข้าราชการคนใดที่เกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบออกมากพูดหรือให้ข้อมูลก็จะถูก
ตำหนิ และว่ากล่าว ซึ่งสิ่งที่ตนรับไม่ได้อย่างมากคือ
กรณีที่รองปลัดฯกระทรวงไอซีที บอกว่า
เรื่องแท็บเล็ตที่มีไฟฟ้าดูดเด็กเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องที่ไม่น่าพูด
และที่สำคัญพญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง
และนายกสมาคมนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ระบุว่า
แทบเลตไม่ได้เติมเต็มกระบวนการเรียนรู้เลย
เพราะเด็กต้องผ่านการสัมผัสทั้งหก ดังนั้นที่ รมว.ศึกษาธิการ บอกว่า
ในเดือนพ.ย. จะซื้อแทบเลตอีก 7 แสนเครื่องแจกให้เด็ก ม.1
ตนคิดว่าหยุดความคิดนี้เถอะ
ถ้าท่านเห็นว่าอยากให้อนาคตกับเด็กไทยมีการพัฒนามากกว่านี้ หรือ
ว่าท่านเห็นแก่เงินทอนมากกว่า
พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า รัฐบาลได้แจกแทบเลตไปแล้วประมาณ 1 ล้านเครื่อง ซึ่งแทบเลตถือเป็นขยะอิเล็คทรอนิคชนิดหนึ่งที่จะเพิ่มขึ้นในเวลาที่รวดเร็ว เมื่อหมดอายุลง ซึ่งกระทรวงไอซีทีได้ออกมาระบุว่าจะให้บริษัทผู้จำหน่ายรับเครื่องคืนเมื่อ เครื่องหมดอายุ ตนจึงอยากได้ยินคำยืนยันอีกครั้งว่าได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว รวมถึงยังต้องการที่จะทราบถึงอัตราของสารแทรกซึมของแทบเลตว่าจะทำอันตรายต่อ เด็กมากน้อยแค่ไหน เพราะในอิเล็คทรอนิคทุกเครื่องจะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาทั้งสิ้น
นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา กล่าวว่า จากการเดินทางไปดูงานที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลางพบปัญหาการใช้แทบเลต ซึ่งยังไม่มีการแก้ไข อาทิ ที่จ.ตาก ไม่มีคนเก็บแท็บแล็ตไว้เพราะกลัวว่าจะระเบิด หรือในกรณีเครื่องเสียยังไม่มีกระบวนการดูแลรับผิดชอบ ทั้งยังหาปลั๊กไฟสำหรับเสียบแท็บเล็ต 40 ปลั๊กในห้องเรียนของบางโรงเรียนไม่มีต้องไปทอดผ้าป่าเดินสายไฟใหม่ นอกจากนี้มีเด็กนักเรียนในบางโรงเรียนถูกไฟช็อต ตนจึงขอฝากไปยังรัฐบาลทบทวนการสั่งซื้อแทบเลตที่ตั้งหลักไว้ 8 แสนเครื่องว่าไม่ต้องซื้อหมดเพราะจะมีปัญหาและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนไม่ ได้ จะเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนแบบก้าวกระโดดอย่างไรรัฐบาลก็ยังตอบไม่ได้ แต่คนที่ต้องได้รับบาปกรรมคือเด็กนักเรียนทั่วประเทศ.
พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า รัฐบาลได้แจกแทบเลตไปแล้วประมาณ 1 ล้านเครื่อง ซึ่งแทบเลตถือเป็นขยะอิเล็คทรอนิคชนิดหนึ่งที่จะเพิ่มขึ้นในเวลาที่รวดเร็ว เมื่อหมดอายุลง ซึ่งกระทรวงไอซีทีได้ออกมาระบุว่าจะให้บริษัทผู้จำหน่ายรับเครื่องคืนเมื่อ เครื่องหมดอายุ ตนจึงอยากได้ยินคำยืนยันอีกครั้งว่าได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว รวมถึงยังต้องการที่จะทราบถึงอัตราของสารแทรกซึมของแทบเลตว่าจะทำอันตรายต่อ เด็กมากน้อยแค่ไหน เพราะในอิเล็คทรอนิคทุกเครื่องจะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาทั้งสิ้น
นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา กล่าวว่า จากการเดินทางไปดูงานที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลางพบปัญหาการใช้แทบเลต ซึ่งยังไม่มีการแก้ไข อาทิ ที่จ.ตาก ไม่มีคนเก็บแท็บแล็ตไว้เพราะกลัวว่าจะระเบิด หรือในกรณีเครื่องเสียยังไม่มีกระบวนการดูแลรับผิดชอบ ทั้งยังหาปลั๊กไฟสำหรับเสียบแท็บเล็ต 40 ปลั๊กในห้องเรียนของบางโรงเรียนไม่มีต้องไปทอดผ้าป่าเดินสายไฟใหม่ นอกจากนี้มีเด็กนักเรียนในบางโรงเรียนถูกไฟช็อต ตนจึงขอฝากไปยังรัฐบาลทบทวนการสั่งซื้อแทบเลตที่ตั้งหลักไว้ 8 แสนเครื่องว่าไม่ต้องซื้อหมดเพราะจะมีปัญหาและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนไม่ ได้ จะเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนแบบก้าวกระโดดอย่างไรรัฐบาลก็ยังตอบไม่ได้ แต่คนที่ต้องได้รับบาปกรรมคือเด็กนักเรียนทั่วประเทศ.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น