วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

เปิด เวบไซต์-ตู้ ป.ณ. รับฟังความเห็นปชช.


วันนี้(10ก.ย.)พรรคชาติไทยพัฒนา  มีการประชุมคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลศึกษาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291โดยมีนายโภคิน พลกุล เป็นประธาน มีโดยมีสมาชิกจากพรรคเพื่อไทยเข้าร่วม อาทิ นายภูมิธรรม เวชชัย นายชูศักดิ์ ศิรินิล นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย  นายสันตศักดิ์ จรูญ งามพิเชษฐ์  ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังชล เป็นต้น ขณะที่ฝั่งพรรคชาติไทยพัฒนาส่งนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล นายนิกร จำนง และ ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา เข้าร่วมฟัง โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
จากนั้น นาย โภคิน  แถลงภายหลังการประชุมคณะทำงานฯว่า คณะทำงานพิจารณาได้ข้อสรุปแล้วว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีให้มีการทำ ประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คณะทำงานได้ดูทั้งคำวินิจฉัยกลางและส่วนตนของศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่าเป็นแค่การแนะนำ ไม่ใช่คำวินิจฉัยที่มีผลผูกพันกับองค์กรใดๆตามรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นคำแนะนำแต่เมื่อมีความสำคัญ ดังนั้นจึงต้องไปพิจารณาซึ่งคณะทำงานเห็นว่ามีการดำเนินต่อไปก็อยากฟังความ เห็นต่างๆให้รอบคอบในประเด็น 1.กระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ร่างโดยประชาชนจะเป็นอย่างไร 2.เมื่อศาลมีคำวินิจฉัยที่เป็นประเด็นคำแนะนำ ต้องดำเนินการอย่างไร 3.ข้อที่เป็นปัญหาของรัฐธรรมนูญปี50อาทิ มาตราที่ไม่เห็นประชาธิปไตย หรือไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม มีอะไรบ้าง ประเด็นอะไรที่ควรมีการปรับปรุงแก้ไข
นายโภคิน กล่าวว่า คณะทำงานจึงตกลงกันว่าให้เชิญนักวิชาการมาแสดงความคิดเห็น โดยเบื้องต้นมีจำนวน5คน ประกอบไปด้วยการประชุมวันที่17ก.ย.นี้ ที่พรรคเพื่อไทย จะเชิญนายโคทม อารียา ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธีมหาวิทยาลัยมหิดล และนายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า วันที่24ก.ย.ที่พรรคชาติพัฒนา จะเชิญนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี และนายสมชาย ปรีชาศิลปะกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนวันที่1ต.ค.ที่พรรคเพื่อไทยจะเชิญนาย สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) มาร่วมหารือ
นายโภคิน กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้มีประชาชนและสื่อมวลชนสนใจ จึงเห็นร่วมกันว่าสมควรมีการเปิดเว็ปไซต์ และเปิดตู้ ป.ณ.ชื่อว่า “รัฐธรรมนูญของประชาชน” ที่จะเป็นศูนย์รวมรวมความเห็นข้อเสนอแนะ โดยคาดหมายว่าจะเปิดใช้ได้ประมาณวันที่ 17ก.ย.นี้ ทั้งนี้เพื่อรับฟังความเห็นได้รอบด้าน คณะทำงานจะมีเวลาได้จัดทำข้อสรุปอย่างรอบด้านในที่สุด
เมื่อถามว่า หากคำแนะนำจากนักวิชาการมีความเห็นที่แตกต่างจากคณะทำงาน ฯจะดำเนินการอย่างไร นายโภคิน กล่าวว่า ยังตอบไม่ได้ เพราะต้องรับฟังจากบุคคลหลากหลาย หากเห็นว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ผูกพันก็ต้องทราบเหตุผลว่าเป็นอย่างไร เพราะคำวินิจฉัยของศาลไม่ได้เขียนว่าต้องทำประชามติ แค่บอกว่า “ควรทำ”ทั้งนี้คำวินิจฉัยของศาลถ้าจะบังคับกับคู่กรณีต้องเป็นคำว่า “ต้อง”เท่านั้น อย่างไรก็ตามก็ต้องรับฟังความเห็นดูก่อน ยังไม่สามารถบอกได้
เมื่อถามว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.291 ยังคงค้างอยู่ในการพิจารณาในวาระ3 ต่อไปใช่หรือไม่ นายโภคิน กล่าวว่า ที่เรามาดูตรงนี้ ก็อยากให้รอบคอบมากที่สุดและอยากให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นอย่างไร มีอะไรที่เป็นประโยชน์ ต่อการเมืองการปกครอง หากรีบทำโดยที่ประชาชนไม่เข้าใจ มันคงไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติโดยรวม ส่วนจะทันสมัยการประชุมรัฐสภาครั้งนี้หรือไม่นั้น ในส่วนของคณะทำงานฯได้มีการตั้งกรอบว่าจะพยายามทำให้เสร็จภายในสมัยประชุม นี้ คงต้องขึ้นอยู่กับข้อมูล ถ้ารีบผลักดัน จะเกิดความไม่เข้าใจ และจะเกิดความขัดแย้งโดยไม่จำเป็น ซึ่งตนคิดว่าควรหลีกเลี่ยงดีกว่า
นายโภคิน กล่าวด้วยว่า ขณะนี้นายวราเทพ รัตนากร  เลขานุการคณะทำงานฯกำลังร่างเนื้อหาที่จะไปรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจเรื่องการ แก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 โดยจะพยายามรณรงค์เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในสมัยประชุมนี้ เบื้องต้นจากที่ได้ลงไปสำรวจให้ความรู้ประชาชนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญพบ ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญและไม่รู้จะได้ประโยชน์อะไร จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้น จึงต้องไปรณรงค์ทำความเข้าใจว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะได้ประโยชน์อะไร เพราะรัฐธรรมนูญ 50 ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นประชาธิปไตย ทั้งนี้ ส่วนตัวหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยากให้ระบุลงไปเลยว่า ห้ามมีการนิรโทษกรรมให้กับคนที่ยึดอำนาจ เพราะให้ถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นประเพณีการปกครอง ไม่ใช่ตัวกฎหมายที่จะมาล้มล้างได้

0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Blog Archive

Design Downloaded from ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ รามคำแหง บางกะปิ | Free Textures | Web Design Resources