วันนี้ (30 ก.ค.)นายดำรงค์ พิเดช
อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
ให้สัมภาษณ์กรณีถึงกรณีเจ้าของบ้านทะเลหมอกรีสอร์ต
เตรียมยี่นเรื่องฟ้องร้องตนและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอน
บ้านทะเลหมอกรีสอร์ต พร้อมทั้งเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีเข้ามาจัดการเรื่องนี้มาว่า นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข
รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ
ได้ประสานมายังตนว่านายกรัฐมนตรีต้องการดูเอกสารหลักฐาน
ในเรื่องคำตัดสินของศาลกรณีบ้านทะเลหมอกรีสอร์ตว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง
ตนก็ได้ส่งข้อมูลความเป็นมาของคดีทั้งหมดให้กับนายปรีชาเพื่อชี้แจงต่อ
ครม.แล้ว โดยเฉพาะหลักฐานสำเนาคำพิพากษาของศาลจังหวัดกบินทร์บุรี
ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 52/2554 หมายเลขแดงที่ 40/2544
ระหว่างพนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ฝ่ายโจทก์ และ
นางวไลลักษณ์ วิชชาบุญศิริ เป็นจำเลยที่ 1 ห้างหุ้นส่วนจำกัดบ้านทะเลหมอก
จำเลยที่ 2 ในเรื่องความผิดต่อ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ร.บ.ป่าไม้ และ
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ
พร้อมทั้งสำเนาเอกสารผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องการรับมอบ
อาคารสิ่งปลูกสร้างเพื่อนำไปหาประโยชน์ในกิจการของกรมอุทยานฯ ลงวันที่ 23
ก.ค. 2553 ซึ่งมีใจความสำคัญว่ากรมอุทยานฯ ไม่สามารถรับมอบอาคาร
สิ่งปลูกสร้างที่บุกรุกพื้นที่อุทยานฯ เพื่อนำมาหาประโยชน์หรือให้เช่าได้
นายดำรงค์ กล่าวว่า กรณีของรีสอร์ตบ้านทะเลหมอกนั้น โดยสรุปในส่วนของคำพิพากษาของศาลจังหวัดกบินทร์บุรี จำเลยให้การรับสารภาพว่าเมื่อประมาณกลางปี 2541-ก.ค.2543 จำเลยได้ร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินประโยชน์และอยู่อาศัยใน ที่ดิน ด้วยการแผ้วถางและก่นสร้าง ปลูกสร้างอาคารโรงแรม บ้านพัก จำนวน 11 หลัง และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เพื่อประกอบกิจการให้บริการสถานที่พักตากอากาศรีสอร์ต ซึ่งอยู่ในบริเวณป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน อันเป็นเขตป่าสงวนฯ และอุทยานฯ ทับลาน คิดเป็นเนื้อที่ 67 ไร่ โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ. อุทยานฯ 2504 พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 และพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 มีบทลงโทษตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ให้จำเลยและบริวารออกจากป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุ และคดีถึงที่สุดโดยไม่มีการอุทธรณ์
นายดำรงค์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นทางผู้ประกอบการได้ขอให้งดการบังคับคดีโดยไม่มีการ บังคับคดีชั่วคราว โดยมีเหตุผลว่าได้ขอเช่าพื้นที่จากกรมป่าไม้ในขณะนั้น และอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมป่าไม้ มีสิ่งก่อสร้างเต็มพื้นที่มูลค่า 60 ล้านบาท จึงต้องดูแลทรัพย์สินไม่ให้เกิดความเสียหาย ช่วยเหลือคนในท้องถิ่นให้มีงานทำ หากออกจากพื้นที่จะผิดสัญญา ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ให้งดการบังคับคดีชั่วคราว 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 24 ม.ค. 2545 ต่อมากรมป่าไม้ได้จัดประชุมหารือแนวทางปฏิบัติ เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2545 โดยมีหนังสือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะนั้นแจ้งไปยังนางวไลลักษณ์ เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2545 ว่าพื้นที่ของรีสอร์ตอยู่ในเขตอุทยานฯ ทับลาน ซึ่งตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.อุทยานฯ 2504 ไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมป่าไม้หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เช่า พื้นที่อุทยานฯ ได้ ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการรีสอร์ตขอเช่าพื้นที่อุทยานฯ ทับลาน จึงต้องยกอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้กับกรมป่าไม้ แล้วกรมป่าไม้จะพิจารณาให้ผู้ประกอบการได้เช่าอาคารสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าไปดำเนินกิจการท่องเที่ยวและพัก อาศัยในอุทยานฯ 2536 ซึ่งผู้ประกอบการได้แจ้งความประสงค์ที่จะยกอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้กับกรม ป่าไม้ เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2545
นายดำรงค์ กล่าวต่อว่า จากนั้นเมื่อกรมป่าไม้เปลี่ยนมาเป็นกรมอุทยานฯ และได้รับมอบอาคารสิ่งก่อสร้างของบ้านทะเลหมอกรีสอร์ต โดยอาศัยระเบียบกรมอุทยานฯ ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าไปดำเนินกิจการท่องเที่ยวและพักอาศัยในอุทยานฯ ปี 2547 ซึ่งจะต้องนำสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินที่ราชพัสดุ ของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่ยังมีข้อโต้แย้งว่าสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายได้หรือไม่ เพราะตามบทบัญญัติของมาตรา 22 พ.ร.บ.อุทยานฯ ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่บุกรุกพื้นที่อุทยานฯ ออกไปทั้งหมด ทั้งนี้กรมอุทยานฯ ได้มีหนังสือหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2552 และคณะกรรมการกฤษฎีกามีหนังสือตอบกลับมาเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2553 แจ้งผลการพิจารณาเรื่องการรับมอบอาคารสิ่งปลูกสร้าง เพื่อนำไปหาประโยชน์ในกรณีของกรมอุทยานฯ สรุปได้ว่าการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างของห้างหุ้นส่วน จำกัด บ้านทะเลหมอกรีสอร์ต เป็นการดำเนินการฝ่าฝืนบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยอุทยานฯ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย เพื่อให้เอกชนรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างออกจากพื้นที่อุทยานฯ และกรมอุทยานฯ ไม่มีอำนาจรับมอบอาคารสิ่งปลูกสร้างของห้างหุ้นส่วนจำกัด บ้านทะเลหมอกรีสอร์ต พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างออกจากพื้นที่อุทยานฯ ตามมาตรา 22 พ.ร.บ.อุทยานฯ และกรมธนารักษ์ได้ขอยกเลิกการรับมอบทรัพย์สินดังกล่าวขึ้นทะเบียนเป็นที่ราช พัสดุแล้ว
อธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้อุทยานฯ ทับลาน ได้มีหนังสือคำสั่งลงวันที่ 11 พ.ค. 2555 เรื่องให้นางวไลลักษณ์ ทำลายรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งอื่นใดที่ผิดไปจากสภาพเดิมออกไปให้พ้น อุทยานฯ ทับลาน โดยใช้อำนาจหัวหน้าอุทยานฯ ตามมาตรา 22 พ.ร.บ.อุทยานฯ 2504 โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 มิ.ย. 2555 โดยนางวไลลักษณ์ได้ขออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวใน 7 ประเด็น อ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และเป็นคำสั่งที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งสำนักอุทยานฯ กรมอุทยานฯ พิจารณาแล้วไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์เพราะที่ดินแปลงที่เกิดเหตุไม่มีหนังสือ แสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามกฎหมายที่ดิน และศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้มีคำพิพากษาปรับและให้จำเลยและบริวารออกจากป่า สงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุแล้ว พร้อมทั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้วินิจฉัยเรื่องนี้ไว้ชัดเจนแล้ว อย่างไรก็ตามอุทยานฯ ทับลานได้มีหนังสือแจ้งเตือนอีกครั้งให้นางวไลลักษณ์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ออกจากพื้นที่อุทยานฯ ภายในวันที่ 10 ก.ค. 2555 หากพ้นกำหนดระยะเวลาพนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการทำลายรื้อถอนสิ่งปลูก สร้างตั้งแต่วันที่ 11 ก.ค. 2555 เป็นต้นไป โดยนางวไลลักษณ์จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนทั้งหมดด้วย
“การที่เจ้าของบ้านทะเลหมอกรีสอร์ตอ้างว่าไม่มีการแจ้งเตือนและบุกเข้าไป ดำเนินการยามวิกาลนั้น เป็นสิ่งที่ฟังไม่ขึ้น เพราะอุทยานฯ ทับลานได้ดำเนินการติดประกาศเพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนทั่วไปทราบว่าเจ้า หน้าที่จะดำเนินการทำลายรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่บ้านทะเลหมอกรีสอร์ต และขอให้ระงับการมาใช้บริการโดยใช้ป้ายขนาดใหญ่ กว้าง 2 ม.ยาว 4ม. ปิดไว้ที่บริเวณหน้าที่ทำการของบ้านทะเลหมอกรีสอร์ตแล้ว เพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปได้พบเห็นและทราบข้อเท็จจริง ดังนั้นการมาอ้างว่าไม่มีการแจ้งเตือนก่อนจึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะเราต้องแจ้งเตือนไปแล้วถึง 2 ครั้ง แต่ผู้ประกอบการยังฝ่าฝืนและเปิดบริการให้นักท่องเที่ยวเข้าพักอยู่ ” นายดำรงค์ กล่าว
นายดำรงค์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ตนกำลังหารือกับผู้บริหารกรมอุทยานฯ ถึงการดำเนินการรื้อถอน รีสอร์ต บ้านพักตากอากาศจำนวน 418 แห่งที่เหลือทั้งในส่วนที่คดีสิ้นสุดแล้วและที่ได้จับกุมดำเนินคดีเพิ่มเติม โดยวางแผนว่าจะเข้าไปดำเนินการรื้อถอนให้หมด อาศัยอำนาจตามมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.อุทยานฯ 2504 ที่ให้อำนาจอธิบดีและหัวหน้าอุทยานฯ ดำเนินการรื้อถอน สิ่งปลูกสร้างที่บุกรุกพื้นที่อุทยานฯ ได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องรอศาล เพราะท้ายที่สุดเชื่อว่าศาลน่าจะพิจารณาให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้น ออกจากพื้นที่เหมือนกับกรณีที่ได้รื้อถอนไปแล้ว โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย. ก่อนตนเกษียณอายุราชการ เพราะไม่อยากให้เป็นภาระกับคนที่จะมาเป็นอธิบดีต่อจากตน ทั้งนี้หลังการหารือและเตรียมความพร้อม ร่วมกับ ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทั้ง 16 สำนักทั่วประเทศแล้วจะทยอยดำเนินการโดยจะใช้กำลังคนทั้งหมดจำนวน 5,000 นายขึ้นไป เข้าไปดำเนินการจุดละ 50 คน ทยอยดำเนินการไปเรื่อยๆ คาดว่าก่อนตนเกษียณอายุราชการจะดำเนินการแล้วเสร็จแน่นอน
ขณะที่นายนุวรรต ลีลาพตะ ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานฯ ทับลาน กล่าวว่า กรณีที่เจ้าของรีสอร์ตระบุว่าได้ฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้มีการไต่สวน ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา และศาลนัดจะไต่สวนคำร้องในวันที่ 24 ส.ค.นั้น ที่ผ่านมาอุทยานฯ ทับลานไม่เคยทราบเรื่องนี้มาก่อน และยังไม่มีเอกสารหรือคำสั่งใดๆ จากศาลปกครองเลยว่ามีการยื่นคำร้องต่อศาลปกครองจริงหรือให้อุทยานฯ ทับลานดำเนินการใดๆ ในกรณีนี้ ซึ่งคงต้องติดตามข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ต่อไป
นายดำรงค์ กล่าวว่า กรณีของรีสอร์ตบ้านทะเลหมอกนั้น โดยสรุปในส่วนของคำพิพากษาของศาลจังหวัดกบินทร์บุรี จำเลยให้การรับสารภาพว่าเมื่อประมาณกลางปี 2541-ก.ค.2543 จำเลยได้ร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินประโยชน์และอยู่อาศัยใน ที่ดิน ด้วยการแผ้วถางและก่นสร้าง ปลูกสร้างอาคารโรงแรม บ้านพัก จำนวน 11 หลัง และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เพื่อประกอบกิจการให้บริการสถานที่พักตากอากาศรีสอร์ต ซึ่งอยู่ในบริเวณป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน อันเป็นเขตป่าสงวนฯ และอุทยานฯ ทับลาน คิดเป็นเนื้อที่ 67 ไร่ โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ. อุทยานฯ 2504 พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 และพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 มีบทลงโทษตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ให้จำเลยและบริวารออกจากป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุ และคดีถึงที่สุดโดยไม่มีการอุทธรณ์
นายดำรงค์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นทางผู้ประกอบการได้ขอให้งดการบังคับคดีโดยไม่มีการ บังคับคดีชั่วคราว โดยมีเหตุผลว่าได้ขอเช่าพื้นที่จากกรมป่าไม้ในขณะนั้น และอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมป่าไม้ มีสิ่งก่อสร้างเต็มพื้นที่มูลค่า 60 ล้านบาท จึงต้องดูแลทรัพย์สินไม่ให้เกิดความเสียหาย ช่วยเหลือคนในท้องถิ่นให้มีงานทำ หากออกจากพื้นที่จะผิดสัญญา ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ให้งดการบังคับคดีชั่วคราว 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 24 ม.ค. 2545 ต่อมากรมป่าไม้ได้จัดประชุมหารือแนวทางปฏิบัติ เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2545 โดยมีหนังสือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะนั้นแจ้งไปยังนางวไลลักษณ์ เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2545 ว่าพื้นที่ของรีสอร์ตอยู่ในเขตอุทยานฯ ทับลาน ซึ่งตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.อุทยานฯ 2504 ไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมป่าไม้หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เช่า พื้นที่อุทยานฯ ได้ ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการรีสอร์ตขอเช่าพื้นที่อุทยานฯ ทับลาน จึงต้องยกอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้กับกรมป่าไม้ แล้วกรมป่าไม้จะพิจารณาให้ผู้ประกอบการได้เช่าอาคารสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าไปดำเนินกิจการท่องเที่ยวและพัก อาศัยในอุทยานฯ 2536 ซึ่งผู้ประกอบการได้แจ้งความประสงค์ที่จะยกอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้กับกรม ป่าไม้ เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2545
นายดำรงค์ กล่าวต่อว่า จากนั้นเมื่อกรมป่าไม้เปลี่ยนมาเป็นกรมอุทยานฯ และได้รับมอบอาคารสิ่งก่อสร้างของบ้านทะเลหมอกรีสอร์ต โดยอาศัยระเบียบกรมอุทยานฯ ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าไปดำเนินกิจการท่องเที่ยวและพักอาศัยในอุทยานฯ ปี 2547 ซึ่งจะต้องนำสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินที่ราชพัสดุ ของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่ยังมีข้อโต้แย้งว่าสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายได้หรือไม่ เพราะตามบทบัญญัติของมาตรา 22 พ.ร.บ.อุทยานฯ ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่บุกรุกพื้นที่อุทยานฯ ออกไปทั้งหมด ทั้งนี้กรมอุทยานฯ ได้มีหนังสือหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2552 และคณะกรรมการกฤษฎีกามีหนังสือตอบกลับมาเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2553 แจ้งผลการพิจารณาเรื่องการรับมอบอาคารสิ่งปลูกสร้าง เพื่อนำไปหาประโยชน์ในกรณีของกรมอุทยานฯ สรุปได้ว่าการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างของห้างหุ้นส่วน จำกัด บ้านทะเลหมอกรีสอร์ต เป็นการดำเนินการฝ่าฝืนบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยอุทยานฯ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย เพื่อให้เอกชนรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างออกจากพื้นที่อุทยานฯ และกรมอุทยานฯ ไม่มีอำนาจรับมอบอาคารสิ่งปลูกสร้างของห้างหุ้นส่วนจำกัด บ้านทะเลหมอกรีสอร์ต พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างออกจากพื้นที่อุทยานฯ ตามมาตรา 22 พ.ร.บ.อุทยานฯ และกรมธนารักษ์ได้ขอยกเลิกการรับมอบทรัพย์สินดังกล่าวขึ้นทะเบียนเป็นที่ราช พัสดุแล้ว
อธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้อุทยานฯ ทับลาน ได้มีหนังสือคำสั่งลงวันที่ 11 พ.ค. 2555 เรื่องให้นางวไลลักษณ์ ทำลายรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งอื่นใดที่ผิดไปจากสภาพเดิมออกไปให้พ้น อุทยานฯ ทับลาน โดยใช้อำนาจหัวหน้าอุทยานฯ ตามมาตรา 22 พ.ร.บ.อุทยานฯ 2504 โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 มิ.ย. 2555 โดยนางวไลลักษณ์ได้ขออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวใน 7 ประเด็น อ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และเป็นคำสั่งที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งสำนักอุทยานฯ กรมอุทยานฯ พิจารณาแล้วไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์เพราะที่ดินแปลงที่เกิดเหตุไม่มีหนังสือ แสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามกฎหมายที่ดิน และศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้มีคำพิพากษาปรับและให้จำเลยและบริวารออกจากป่า สงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุแล้ว พร้อมทั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้วินิจฉัยเรื่องนี้ไว้ชัดเจนแล้ว อย่างไรก็ตามอุทยานฯ ทับลานได้มีหนังสือแจ้งเตือนอีกครั้งให้นางวไลลักษณ์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ออกจากพื้นที่อุทยานฯ ภายในวันที่ 10 ก.ค. 2555 หากพ้นกำหนดระยะเวลาพนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการทำลายรื้อถอนสิ่งปลูก สร้างตั้งแต่วันที่ 11 ก.ค. 2555 เป็นต้นไป โดยนางวไลลักษณ์จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนทั้งหมดด้วย
“การที่เจ้าของบ้านทะเลหมอกรีสอร์ตอ้างว่าไม่มีการแจ้งเตือนและบุกเข้าไป ดำเนินการยามวิกาลนั้น เป็นสิ่งที่ฟังไม่ขึ้น เพราะอุทยานฯ ทับลานได้ดำเนินการติดประกาศเพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนทั่วไปทราบว่าเจ้า หน้าที่จะดำเนินการทำลายรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่บ้านทะเลหมอกรีสอร์ต และขอให้ระงับการมาใช้บริการโดยใช้ป้ายขนาดใหญ่ กว้าง 2 ม.ยาว 4ม. ปิดไว้ที่บริเวณหน้าที่ทำการของบ้านทะเลหมอกรีสอร์ตแล้ว เพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปได้พบเห็นและทราบข้อเท็จจริง ดังนั้นการมาอ้างว่าไม่มีการแจ้งเตือนก่อนจึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะเราต้องแจ้งเตือนไปแล้วถึง 2 ครั้ง แต่ผู้ประกอบการยังฝ่าฝืนและเปิดบริการให้นักท่องเที่ยวเข้าพักอยู่ ” นายดำรงค์ กล่าว
นายดำรงค์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ตนกำลังหารือกับผู้บริหารกรมอุทยานฯ ถึงการดำเนินการรื้อถอน รีสอร์ต บ้านพักตากอากาศจำนวน 418 แห่งที่เหลือทั้งในส่วนที่คดีสิ้นสุดแล้วและที่ได้จับกุมดำเนินคดีเพิ่มเติม โดยวางแผนว่าจะเข้าไปดำเนินการรื้อถอนให้หมด อาศัยอำนาจตามมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.อุทยานฯ 2504 ที่ให้อำนาจอธิบดีและหัวหน้าอุทยานฯ ดำเนินการรื้อถอน สิ่งปลูกสร้างที่บุกรุกพื้นที่อุทยานฯ ได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องรอศาล เพราะท้ายที่สุดเชื่อว่าศาลน่าจะพิจารณาให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้น ออกจากพื้นที่เหมือนกับกรณีที่ได้รื้อถอนไปแล้ว โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย. ก่อนตนเกษียณอายุราชการ เพราะไม่อยากให้เป็นภาระกับคนที่จะมาเป็นอธิบดีต่อจากตน ทั้งนี้หลังการหารือและเตรียมความพร้อม ร่วมกับ ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทั้ง 16 สำนักทั่วประเทศแล้วจะทยอยดำเนินการโดยจะใช้กำลังคนทั้งหมดจำนวน 5,000 นายขึ้นไป เข้าไปดำเนินการจุดละ 50 คน ทยอยดำเนินการไปเรื่อยๆ คาดว่าก่อนตนเกษียณอายุราชการจะดำเนินการแล้วเสร็จแน่นอน
ขณะที่นายนุวรรต ลีลาพตะ ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานฯ ทับลาน กล่าวว่า กรณีที่เจ้าของรีสอร์ตระบุว่าได้ฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้มีการไต่สวน ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา และศาลนัดจะไต่สวนคำร้องในวันที่ 24 ส.ค.นั้น ที่ผ่านมาอุทยานฯ ทับลานไม่เคยทราบเรื่องนี้มาก่อน และยังไม่มีเอกสารหรือคำสั่งใดๆ จากศาลปกครองเลยว่ามีการยื่นคำร้องต่อศาลปกครองจริงหรือให้อุทยานฯ ทับลานดำเนินการใดๆ ในกรณีนี้ ซึ่งคงต้องติดตามข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ต่อไป
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น