เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 18 ก.ค. นายประชา เตรัตน์
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงปัญหาการจ่ายเงินเยียวยาน้ำท่วม
ว่าการที่กทม.เสนอให้จ่าย 2 หมื่นบาท เท่ากันทุกครัวเรือนนั้นเป็นไปไม่ได้
ทั้งนี้ กทม.เป็นท้องถิ่น มีงบประมาณเป็นของตัวเอง หากไปรับปากกับม็อบ
เขาสามารถจ่ายให้กับชาวบ้านได้เองอยู่แล้ว แต่จะให้รัฐบาลมาจ่ายคงไม่ได้
เพราะรัฐบาลต้องจ่ายให้มาตรฐานเท่ากัน
ไม่เช่นนั้นจังหวัดอื่นที่ได้รับเงินไปแล้วเขาก็ต้องร้องเรียนกันไม่หยุด
นายประชา กล่าวอีกว่า ส่วนที่กทม. ระบุว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ส่งบัญชีรายการเยียวยาเพียง 5 รายการ แต่ต่างจังหวัดส่ง 8 รายการนั้น ที่จริงระเบียบนี้ไม่ควรมาใช้กับเรื่องน้ำท่วม แต่ควรใช้กับเหตุการณ์ไฟไหม้มากกว่า เพราะเมื่อน้ำท่วมที่ผ่านมา มีคนที่เดือดร้อนจำนวนมาก ไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอที่จะไปสำรวจได้ขนาดนั้น ตนกล้ายืนยันว่า 58 จังหวัดที่จ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว เขาก็ทำเพียง 5 รายการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ ปภ.ได้นำเอกสารมาชี้แจงต่อสื่อมวลชน ใน 3 กรณี โดยกรณีแรก กทม.ระบุว่าไม่มีอำนาจการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แต่ได้รับการร้องขอจาก ปภ. ให้ดำเนินการ ซึ่งข้อเท็จจริงคือ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 กำหนดให้ผู้ว่าฯกทม. เป็นผู้อำนวยการ กทม. รับผิดชอบให้การสงเคราะห์แก่ผู้ประสบภัย มีผู้อำนวยการเขต เป็นผู้ช่วยเหลือรับผิดชอบสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น และทำบัญชีรายชื่อผู้ประสบภัยและทรัพย์สินที่เสียหายไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งออกหนังสือรับรองไว้เป็นหลักฐานในการรับการสงเคราะห์ฟื้นฟู
เอกสารระบุต่อว่า ปภ. ได้ส่งบัญชีรายการเยียวยาให้ กทม. เพียง 5 รายการ แต่ไม่ได้ส่งบัญชีรายการเยียวยาทั้ง 8 รายการ ข้อเท็จจริงคือ ปภ.ได้มอบอำนาจให้ กทม. ดำเนินการช่วยเหลือครอบคลุมทุกรายการ แต่จากการที่กทม.ได้ขอขยายวงเงินที่ผ่านมา ระบุว่าจะให้ความช่วยเหลือเพียง 5 รายการ จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของ กทม.ที่จะต้องตรวจสอบ หากปรากฏความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ก็สามารถช่วยเหลือได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ส่วนกรณีสุดท้าย คือ กทม.ขอให้ ปภ.จ่ายเงินเยียวยาค่าซ่อมบ้าน 2 หมื่นบาท เท่ากันทุกครัวเรือนนั้น ข้อเท็จจริงคือ เรื่องนี้จะต้องดำเนินการไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ ระบุว่า ต้องจ่ายค่าซ่อมแซมที่เสียหายตามจริงหลังละไม่เกิน 2 หมื่นบาท
ส่วนที่หน้าสำนักงานเขตดอนเมือง เมื่อเวลา 13.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีชาวบ้านย่านดอนเมือง ราว 300 คน เดินทางมาชุมนุมรอฟังคำตอบบริเวณหน้าสำนักงานเขตดอนเมือง ถนนกำแพงเพชร 6 หลังจากได้ยื่นข้อเสนอให้กับทางเขตพิจจารณาจำนวน 3 ข้อ เมื่อวันที่ 12 ก.ค.55 สาเหตุเพราะไม่พอใจที่ทางการจ่ายเงินชดเชยค่าน้ำท่วมอย่างไม่เป็นธรรมและล่า ช้า โดยชาวบ้านได้รวมตัวกันและยังคงยืนยันข้อเสนอเดิมคือ 1.ขอให้เว้นหลักเกณฑ์ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากเกิดความไม่เป็นธรรมจากหลักเกณฑ์นี้ 2.ให้ทางการจ่ายเงินชดเชยให้ชาวบ้าน ในจำนวน 20,000 บาทเท่ากันทุกหลังคาเรือน 3.ไม่ให้ทางสำนักงานเขตแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มชาวบ้านที่มาประท้วงทั้ง ทางแพ่งและอาญา
ต่อมานายภูมิพัฒน์ ดำรงเกียรติศักดิ์ ผอ.เขตดอนเมือง ได้ออกมาเจรจากับกลุ่มชาวบ้าน โดยให้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมส่งตัวแทนไปฟังคำตอบจำนวน 10 คน ซึ่งสร้างความไม่พอใจกับทางกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นอย่างมาก และยังคงยืนยันว่าจะรอฟังคำตอบอยู่ที่หน้าสำนักงานเขตเท่านั้น จะไม่มีการเจรจาแต่อย่างใดอีก ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการควบคุมฝูงชนจาก บก.น.2
นายประชา กล่าวอีกว่า ส่วนที่กทม. ระบุว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ส่งบัญชีรายการเยียวยาเพียง 5 รายการ แต่ต่างจังหวัดส่ง 8 รายการนั้น ที่จริงระเบียบนี้ไม่ควรมาใช้กับเรื่องน้ำท่วม แต่ควรใช้กับเหตุการณ์ไฟไหม้มากกว่า เพราะเมื่อน้ำท่วมที่ผ่านมา มีคนที่เดือดร้อนจำนวนมาก ไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอที่จะไปสำรวจได้ขนาดนั้น ตนกล้ายืนยันว่า 58 จังหวัดที่จ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว เขาก็ทำเพียง 5 รายการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ ปภ.ได้นำเอกสารมาชี้แจงต่อสื่อมวลชน ใน 3 กรณี โดยกรณีแรก กทม.ระบุว่าไม่มีอำนาจการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แต่ได้รับการร้องขอจาก ปภ. ให้ดำเนินการ ซึ่งข้อเท็จจริงคือ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 กำหนดให้ผู้ว่าฯกทม. เป็นผู้อำนวยการ กทม. รับผิดชอบให้การสงเคราะห์แก่ผู้ประสบภัย มีผู้อำนวยการเขต เป็นผู้ช่วยเหลือรับผิดชอบสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น และทำบัญชีรายชื่อผู้ประสบภัยและทรัพย์สินที่เสียหายไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งออกหนังสือรับรองไว้เป็นหลักฐานในการรับการสงเคราะห์ฟื้นฟู
เอกสารระบุต่อว่า ปภ. ได้ส่งบัญชีรายการเยียวยาให้ กทม. เพียง 5 รายการ แต่ไม่ได้ส่งบัญชีรายการเยียวยาทั้ง 8 รายการ ข้อเท็จจริงคือ ปภ.ได้มอบอำนาจให้ กทม. ดำเนินการช่วยเหลือครอบคลุมทุกรายการ แต่จากการที่กทม.ได้ขอขยายวงเงินที่ผ่านมา ระบุว่าจะให้ความช่วยเหลือเพียง 5 รายการ จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของ กทม.ที่จะต้องตรวจสอบ หากปรากฏความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ก็สามารถช่วยเหลือได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ส่วนกรณีสุดท้าย คือ กทม.ขอให้ ปภ.จ่ายเงินเยียวยาค่าซ่อมบ้าน 2 หมื่นบาท เท่ากันทุกครัวเรือนนั้น ข้อเท็จจริงคือ เรื่องนี้จะต้องดำเนินการไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ ระบุว่า ต้องจ่ายค่าซ่อมแซมที่เสียหายตามจริงหลังละไม่เกิน 2 หมื่นบาท
ส่วนที่หน้าสำนักงานเขตดอนเมือง เมื่อเวลา 13.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีชาวบ้านย่านดอนเมือง ราว 300 คน เดินทางมาชุมนุมรอฟังคำตอบบริเวณหน้าสำนักงานเขตดอนเมือง ถนนกำแพงเพชร 6 หลังจากได้ยื่นข้อเสนอให้กับทางเขตพิจจารณาจำนวน 3 ข้อ เมื่อวันที่ 12 ก.ค.55 สาเหตุเพราะไม่พอใจที่ทางการจ่ายเงินชดเชยค่าน้ำท่วมอย่างไม่เป็นธรรมและล่า ช้า โดยชาวบ้านได้รวมตัวกันและยังคงยืนยันข้อเสนอเดิมคือ 1.ขอให้เว้นหลักเกณฑ์ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากเกิดความไม่เป็นธรรมจากหลักเกณฑ์นี้ 2.ให้ทางการจ่ายเงินชดเชยให้ชาวบ้าน ในจำนวน 20,000 บาทเท่ากันทุกหลังคาเรือน 3.ไม่ให้ทางสำนักงานเขตแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มชาวบ้านที่มาประท้วงทั้ง ทางแพ่งและอาญา
ต่อมานายภูมิพัฒน์ ดำรงเกียรติศักดิ์ ผอ.เขตดอนเมือง ได้ออกมาเจรจากับกลุ่มชาวบ้าน โดยให้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมส่งตัวแทนไปฟังคำตอบจำนวน 10 คน ซึ่งสร้างความไม่พอใจกับทางกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นอย่างมาก และยังคงยืนยันว่าจะรอฟังคำตอบอยู่ที่หน้าสำนักงานเขตเท่านั้น จะไม่มีการเจรจาแต่อย่างใดอีก ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการควบคุมฝูงชนจาก บก.น.2
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น