สถานการณ์การเมืองในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้
ทุกฝ่ายต้องจับตาไปที่รัฐสภาซึ่งเหลือระยะเวลาเพียง 1 เดือนเท่านั้น ตาม
“ปฏิทิน” ที่ถูกกำหนดไว้ในช่วง 30 วันของเดือนนี้ จะมีเวทีทางการเมืองอยู่ 3
เวทีสำคัญ
เวทีหนึ่งคือ การแถลงผลงาน 1 ปีรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
เวทีหนึ่งคือ การเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตาม รธน.มาตรา 161 ของวุฒิสภา
เวทีหนึ่งคือ การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคร่วมฝ่ายค้านที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ
ทั้ง 3 เวทีที่ว่าถือเป็นกระบวนการประชาธิปไตยตามระบอบรัฐสภา ที่ “ทุกฝ่าย” พึงต้องกระทำตามบทบาทและอำนาจหน้าที่ของตัวเอง
เวทีแรก เวทีแถลงผลงาน 1 ปีของรัฐบาล ซึ่งเดิมทีรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ กำหนดไว้ว่าจะมีขึ้นหลังครบรอบการทำงาน 1 ปีซึ่งครบกำหนดในวันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมา แต่ด้วยข้ออ้างเรื่องการใช้ระยะเวลารวบรวมผลงานซึ่งมีจำนวนมากจึงทำให้ต้อง เลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด แต่ในระหว่างที่มีการรวบรวมผลงาน รัฐบาลก็ชิงการนำด้วยการให้แต่ละกระทรวงไปรายงานผลงาน 1 ปีผ่านสาธารณชนแทน
จากเดิมที่เคยมองกันว่า เวทีแถลงผลงาน 1 ปี จะเป็นเวที “ซ้อมใหญ่” ให้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านได้ “ลับฝีปาก” แต่จนแล้วจนรอด รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ไม่มีความชัดเจนออกมาว่า จะกำหนดให้วันไหนเป็นวันแถลงผลงานต่อรัฐสภา การทอดเวลาเพื่อให้เวทีแถลงผลงานมาอยู่ในช่วง 30 วันก่อนปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 28 พ.ย.นี้ จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นความตั้งใจที่จะใช้เวลาฝ่ายบริการที่กำลังเหลืออยู่ไม่มากนัก ให้น้อยลงไปอีก
ขณะเวทีอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติของวุฒิสภา นั้นแน่นอนแล้วว่า รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ “ไฟเขียว” แม้จะมองว่ามีบางส่วนต้องการจะใช้สถานการณ์นี้เพิ่มกระแสการตรวจสอบรัฐบาล ให้เข้มข้นมากขึ้น จริงอยู่แม้ ส.ว. กลุ่มที่ถูกเรียกว่า “กลุ่ม 40 ส.ว.” ยื่นญัตติเพื่อ “ตรวจสอบ” รัฐบาลในปัญหานโยบาย “รับจำนำข้าว” แต่ก็มี ส.ว. สายเลือกตั้งเสนอญัตติในลักษณะเดียวกับเข้าประกบ
การใช้เวทีวุฒิสภาของ ส.ว.ทั้ง 2 กลุ่มจึงน่าจะถูกมองว่า ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่รัฐบาลจะรับมือไหว ที่สำคัญรัฐบาลอาจจะใช้โอกาสตรงนี้ชี้แจงแสดงหลักฐานเพื่อให้สังคมคลายความ สงสัยในปัญหาที่คาดว่าจะถูกฝ่ายค้านหยิบยกขึ้นมาอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า ระยะเวลาจะเป็นเมื่อไหร่ระหว่างช่วงวันที่ 16-17 พ.ย.หรือระหว่างวันที่ 23-24 พ.ย.
ส่วนเวทีสุดท้าย ซึ่งได้ถูก “ล็อกเป้า” ไว้เป็นที่เรียบร้อยนั่นคือ เวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศไว้ชัดเจนพร้อม ๆ กับได้ประสานงานเป็นการภายในกับรัฐบาล โดยเบื้องต้นกำหนดที่จะยื่นญัตติในวันที่ 9 พ.ย.นี้ จากนั้นในวันที่ 25-26 พ.ย.จะเป็นวันอภิปรายฯและในวันที่ 27 พ.ย.จะเป็นวันลงมติ หรือหากมีการชิงไหวชิงพริบกันในเรื่องเวลาก็อาจจะมีเลยไปถึงวันที่ 28 พ.ย.ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของสมัยประชุมก็ได้
ในวันที่ 9 พ.ย.คงได้เห็นความชัดเจนว่า จะมีรัฐมนตรีกี่คนที่ถูกไม่ไว้วางใจและกี่คนที่ถูกยื่น “ถอดถอน” ซึ่งแน่นอนว่า ย่อมต้องมีชื่อของน.ส.ยิ่งลักษณ์ในฐานะ “ผู้นำรัฐบาล” อย่างไม่ต้องสงสัย
เหตุที่พรรคประชาธิปัตย์ ชิงจำกัดช่วงเวลาด้วยการเลือกสัปดาห์สุดท้ายเพราะหวังจะใช้เวลาบีบให้รัฐบาล เปิดโอกาสให้วุฒิสภา และใช้เวลาที่เหลืออยู่แถลงผลงาน 1 ปี
แต่ดูเหมือน รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งความจริงก็รู้กระบวนการในสภาเป็นอย่างดี แต่กลับไปให้เวลากับการประชุมในต่างประเทศ ทั้ง ๆ ที่กระบวนการตรวจสอบเช่นนี้เป็นเรื่องที่นานาชาติที่มีระบอบประชาธิปไตยเข้า ใจดีและเข้าใจในกลไกการทำงาน
ตามกำหนดการที่ออกในเดือนพ.ย.นี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ แทบจะหาเวลาอยู่ในประเทศยากเต็มที เพราะระหว่างวันที่ 5-6 พ.ย.ก็มีกำหนดการไปร่วมประชุมประเทศในกลุ่มประเทศเอเชีย-ยุโรปหรืออาเซ็ม จากนั้นระหว่างวันที่ 8-9 พ.ย.ก็จะเดินทางไปร่วมประชุมเชิงประชาธิปไตยที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 12-14 พ.ย.มีกำหนดการไปเยือนประเทศอังกฤษอย่างเป็นทางการ จากนั้นระหว่างวันที่ 17-20 พ.ย. มีกำหนดการเดินทางไปร่วมประชุมอาเซียนซัมมิท ที่ประเทศกัมพูชา
การใช้เวลาในต่างประเทศ ทางหนึ่งสามารถมองได้ว่าเป็นการทำหน้าที่ในฝ่ายบริหาร แต่อีกทางหนึ่งก็มองได้เช่นกันว่าเป็นความพยายามที่หลีกเลี่ยงฝ่าย นิติบัญญัติ เพราะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องมีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ อีกทั้งในการยื่นญัตตินั้นต้องทำในสมัยประชุมนี้เท่านั้น หากไม่ทำก็ต้องรอไปอีกประมาณ 8 เดือน หรือในปลายปีพ.ศ.2556 โน่น
การมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพที่มั่นคงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายปรารถนา แต่ในความมั่นคงของรัฐบาล กระบวนการ “ตรวจสอบ” ต้องมีความเข้มแข็งเป็น “เงาตามตัว”
กระบวนการตรวจสอบอย่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นกระบวนการปกติธรรมดาในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
รัฐบาลไหนจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ดูได้ที่กระบวนการตรวจสอบ
การตรวจสอบในรัฐสภาจึงเป็นเรื่องที่สังคมต้องเรียกร้องและให้การสนับสนุนดี กว่าปล่อยให้เกิดกระบวนการ ตรวจสอบ “นอกสภา” ซึ่งสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการเผชิญหน้าและนำมาซึ่งความวุ่นวายจนนำไปสู่ความ ขัดแย้งทางการเมืองรอบใหม่ขึ้นมา
จะน่าเบื่อ จะตื่นเต้น จะไม่มีสาระ หรือจะน่าสนใจ ส่วนรวมจะได้ประโยชน์หรือเปลืองไฟ เสียเวลาหรือจะอะไรก็ช่าง แต่นี่ก็คือ กติกา
ไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ ประชาชนตัดสินเอง.
เวทีหนึ่งคือ การแถลงผลงาน 1 ปีรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
เวทีหนึ่งคือ การเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตาม รธน.มาตรา 161 ของวุฒิสภา
เวทีหนึ่งคือ การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคร่วมฝ่ายค้านที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ
ทั้ง 3 เวทีที่ว่าถือเป็นกระบวนการประชาธิปไตยตามระบอบรัฐสภา ที่ “ทุกฝ่าย” พึงต้องกระทำตามบทบาทและอำนาจหน้าที่ของตัวเอง
เวทีแรก เวทีแถลงผลงาน 1 ปีของรัฐบาล ซึ่งเดิมทีรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ กำหนดไว้ว่าจะมีขึ้นหลังครบรอบการทำงาน 1 ปีซึ่งครบกำหนดในวันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมา แต่ด้วยข้ออ้างเรื่องการใช้ระยะเวลารวบรวมผลงานซึ่งมีจำนวนมากจึงทำให้ต้อง เลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด แต่ในระหว่างที่มีการรวบรวมผลงาน รัฐบาลก็ชิงการนำด้วยการให้แต่ละกระทรวงไปรายงานผลงาน 1 ปีผ่านสาธารณชนแทน
จากเดิมที่เคยมองกันว่า เวทีแถลงผลงาน 1 ปี จะเป็นเวที “ซ้อมใหญ่” ให้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านได้ “ลับฝีปาก” แต่จนแล้วจนรอด รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ไม่มีความชัดเจนออกมาว่า จะกำหนดให้วันไหนเป็นวันแถลงผลงานต่อรัฐสภา การทอดเวลาเพื่อให้เวทีแถลงผลงานมาอยู่ในช่วง 30 วันก่อนปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 28 พ.ย.นี้ จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นความตั้งใจที่จะใช้เวลาฝ่ายบริการที่กำลังเหลืออยู่ไม่มากนัก ให้น้อยลงไปอีก
ขณะเวทีอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติของวุฒิสภา นั้นแน่นอนแล้วว่า รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ “ไฟเขียว” แม้จะมองว่ามีบางส่วนต้องการจะใช้สถานการณ์นี้เพิ่มกระแสการตรวจสอบรัฐบาล ให้เข้มข้นมากขึ้น จริงอยู่แม้ ส.ว. กลุ่มที่ถูกเรียกว่า “กลุ่ม 40 ส.ว.” ยื่นญัตติเพื่อ “ตรวจสอบ” รัฐบาลในปัญหานโยบาย “รับจำนำข้าว” แต่ก็มี ส.ว. สายเลือกตั้งเสนอญัตติในลักษณะเดียวกับเข้าประกบ
การใช้เวทีวุฒิสภาของ ส.ว.ทั้ง 2 กลุ่มจึงน่าจะถูกมองว่า ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่รัฐบาลจะรับมือไหว ที่สำคัญรัฐบาลอาจจะใช้โอกาสตรงนี้ชี้แจงแสดงหลักฐานเพื่อให้สังคมคลายความ สงสัยในปัญหาที่คาดว่าจะถูกฝ่ายค้านหยิบยกขึ้นมาอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า ระยะเวลาจะเป็นเมื่อไหร่ระหว่างช่วงวันที่ 16-17 พ.ย.หรือระหว่างวันที่ 23-24 พ.ย.
ส่วนเวทีสุดท้าย ซึ่งได้ถูก “ล็อกเป้า” ไว้เป็นที่เรียบร้อยนั่นคือ เวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศไว้ชัดเจนพร้อม ๆ กับได้ประสานงานเป็นการภายในกับรัฐบาล โดยเบื้องต้นกำหนดที่จะยื่นญัตติในวันที่ 9 พ.ย.นี้ จากนั้นในวันที่ 25-26 พ.ย.จะเป็นวันอภิปรายฯและในวันที่ 27 พ.ย.จะเป็นวันลงมติ หรือหากมีการชิงไหวชิงพริบกันในเรื่องเวลาก็อาจจะมีเลยไปถึงวันที่ 28 พ.ย.ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของสมัยประชุมก็ได้
ในวันที่ 9 พ.ย.คงได้เห็นความชัดเจนว่า จะมีรัฐมนตรีกี่คนที่ถูกไม่ไว้วางใจและกี่คนที่ถูกยื่น “ถอดถอน” ซึ่งแน่นอนว่า ย่อมต้องมีชื่อของน.ส.ยิ่งลักษณ์ในฐานะ “ผู้นำรัฐบาล” อย่างไม่ต้องสงสัย
เหตุที่พรรคประชาธิปัตย์ ชิงจำกัดช่วงเวลาด้วยการเลือกสัปดาห์สุดท้ายเพราะหวังจะใช้เวลาบีบให้รัฐบาล เปิดโอกาสให้วุฒิสภา และใช้เวลาที่เหลืออยู่แถลงผลงาน 1 ปี
แต่ดูเหมือน รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งความจริงก็รู้กระบวนการในสภาเป็นอย่างดี แต่กลับไปให้เวลากับการประชุมในต่างประเทศ ทั้ง ๆ ที่กระบวนการตรวจสอบเช่นนี้เป็นเรื่องที่นานาชาติที่มีระบอบประชาธิปไตยเข้า ใจดีและเข้าใจในกลไกการทำงาน
ตามกำหนดการที่ออกในเดือนพ.ย.นี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ แทบจะหาเวลาอยู่ในประเทศยากเต็มที เพราะระหว่างวันที่ 5-6 พ.ย.ก็มีกำหนดการไปร่วมประชุมประเทศในกลุ่มประเทศเอเชีย-ยุโรปหรืออาเซ็ม จากนั้นระหว่างวันที่ 8-9 พ.ย.ก็จะเดินทางไปร่วมประชุมเชิงประชาธิปไตยที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 12-14 พ.ย.มีกำหนดการไปเยือนประเทศอังกฤษอย่างเป็นทางการ จากนั้นระหว่างวันที่ 17-20 พ.ย. มีกำหนดการเดินทางไปร่วมประชุมอาเซียนซัมมิท ที่ประเทศกัมพูชา
การใช้เวลาในต่างประเทศ ทางหนึ่งสามารถมองได้ว่าเป็นการทำหน้าที่ในฝ่ายบริหาร แต่อีกทางหนึ่งก็มองได้เช่นกันว่าเป็นความพยายามที่หลีกเลี่ยงฝ่าย นิติบัญญัติ เพราะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องมีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ อีกทั้งในการยื่นญัตตินั้นต้องทำในสมัยประชุมนี้เท่านั้น หากไม่ทำก็ต้องรอไปอีกประมาณ 8 เดือน หรือในปลายปีพ.ศ.2556 โน่น
การมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพที่มั่นคงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายปรารถนา แต่ในความมั่นคงของรัฐบาล กระบวนการ “ตรวจสอบ” ต้องมีความเข้มแข็งเป็น “เงาตามตัว”
กระบวนการตรวจสอบอย่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นกระบวนการปกติธรรมดาในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
รัฐบาลไหนจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ดูได้ที่กระบวนการตรวจสอบ
การตรวจสอบในรัฐสภาจึงเป็นเรื่องที่สังคมต้องเรียกร้องและให้การสนับสนุนดี กว่าปล่อยให้เกิดกระบวนการ ตรวจสอบ “นอกสภา” ซึ่งสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการเผชิญหน้าและนำมาซึ่งความวุ่นวายจนนำไปสู่ความ ขัดแย้งทางการเมืองรอบใหม่ขึ้นมา
จะน่าเบื่อ จะตื่นเต้น จะไม่มีสาระ หรือจะน่าสนใจ ส่วนรวมจะได้ประโยชน์หรือเปลืองไฟ เสียเวลาหรือจะอะไรก็ช่าง แต่นี่ก็คือ กติกา
ไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ ประชาชนตัดสินเอง.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น