วันนี้ ( 13 ต.ค.) นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการติดตามวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ และจัดสรรน้ำเพื่อดูแลบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ของ กบอ.เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำของประเทศว่าขณะนี้ไม่มีพายุเข้ามาภาคกลางและภาค เหนือแล้ว อาจจะเข้าภาคใต้เพราะเป็นช่วงฤดูมรสุม ทั้งนี้ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าจะมีฝนตกอีกครั้งในช่วง 15-17 ต.ค.นี้มาจากร่องความกดอากาศสูงจากจีน มาปะทะกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ปริมาณฝนที่ตกไม่มากเรียกว่าเป็นปลายฝนต้นหนาวแล้ว
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานายปลอดประสพ สุรัสวดี ประธาน กบอ.ได้วางแผนการใช้น้ำในหน้าแล้งไว้แล้วจากปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่สองแห่ง คือเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ คาดว่าจะมีน้ำ 9,000 กว่าล้านลบม.ซึ่งยืนยันว่าเป็นตามเป้าที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นฤดูฝนว่าจะได้น้ำ ฝนเข้าเขื่อนเท่านี้ และเป็นปริมาณที่เพียงพอต่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในภาคกลาง ซึ่งใช้น้ำสำหรับทำนาปรัง 6-7 ,000 ล้านลบม. และเก็บไว้ 2,000 ล้านลบม. ไว้ใช้ให้กับทำนานาปีก่อนฤดูฝนจะมาในปีหน้า โดยแบ่งน้ำไว้สำหรับการอุปโภค บริโภค 10 เปอร์เซนต์ ซึ่งไม่เกิดการขาดแคลนน้ำแน่นอน ยกเว้นภาคอีสานบางแห่ง ที่เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินทร์ มีปริมาณน้ำไม่ถึงครึ่ง ต้องเร่งทำความเข้าใจกับเกษตรให้หันไปปลูกพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยเช่น ดอกดาวเรืิอง พริกขี้หนู หรือแตงกวา ซึ่งมีรายได้ดีกว่าปลูกข้าวทั้งปี
"ปริมาณน้ำต้นทุนมีให้ทำนาปรังรุ่นแรกได้ไม่เกิน 5-6 ล้านไร่ ต้องช่วยกันใช้น้ำอย่างสมดุลไม่ใช่เห็นมีน้ำในคลองก็ปลูกกันไม่หยุดหากปลูก มากไม่ฟังคำแนะนำไม่มีน้ำให้แน่นอนเพราะเขื่อนมีน้ำแค่นั้น เท่าที่ทราบทุกปีปลูกข้าวนาปรังมากถึง 13 ล้านไร่ต่อครั้งขณะนี้หลายจังหวัดภาคกลางเริ่มลงมือปลูกข้าวกันแล้วขอเตือน ว่าอย่าเสี่ยงปลูกเกินพื้นที่ที่กำหนด จะทำให้ได้ผลผลิตไม่ดีเพราะน้ำมีไม่มาก ชาวนาควรหันไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยอีกหลายชนิดที่มีราคาดีกว่าข้าวจะทำให้ลดการ ใช้น้ำด้วยเพราะนาข้าวใช้น้ำมากถึงไร่ละ 1 พันลบม. อยากให้หน่วยงานราชการ ออกชี้แจงชักจูงชาวนาเห็นแนวทางปลูกพืชชนิดอื่นที่มีราคาสูงกว่าและรายได้ มากว่าข้าว เช่นดอกดาวเรือง ทำรายได้ถึงไร่ละ 2 แสนบาทแต่ใช้น้ำเพียง 2-3 ร้อยลบม.ต่อไร่ ขณะนี้เกษตรกรภาคอีสานหันมาปลูกพืชผักกันมากแม้จะมีโครงการจำนำข้าว ซึ่งถ้าถามว่าเมื่อน้ำไม่พอหน้าแล้งควรสร้างเขื่อนเพิ่มหรือไม่ และจะสร้่างเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ ซึ่งต้องมองทั้งแง่การอนุรักษ์ การใช้น้ำ การป้องกันอุทกภัย เมื่อก่อนประเทศไทยมีประชากร 11 ล้านคนขณะนี้มี 60 กว่าล้านคน ทรัพยากรป่าไม้และน้ำทั้งประเทศเหลือเพียง 30 เปอร์เซนต์ เป็นปัญหาที่ต้องร่วมกันแก้ไขว่าจะหาทางออกอย่างยั่งยืนได้อย่างไร"
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น