วันนี้ (24 ต.ค.) ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ นายเริงชัย ประยูรเวช
รักษาการอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นประธานในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่องการตรวจสอบเอกสารสิทธิแปลงที่ดินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
โดยมีหัวหน้าชุดปฏิบัติการแก้ปัญหาการบุกรุกอุทยานแห่งชาติสิรินาถ
(หาดในยาง) จ.ภูเก็ต จำนวนกว่า 800คน เข้าร่วมประชุม ทั้งนี้นายเริงชัย
กล่าวตอนหนึ่งว่า
การที่ทุกคนมารวมตัวกันครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่ง
ซึ่งเป็นถือเป็นศักดิ์ศรีของกรมอุทยานฯ
คือการแก้ปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่อุทยานฯ
ที่มีความสวยงามโดดเด่นเหมาะสำหรับทำรีสอร์ท โรงแรม บ้านพักตากอากาศ
โดยทำกันอย่างเป็นขบวนการใหญ่โต มีชั้นเชิง และกลอุบายต่างๆ
เพื่อไปออกเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่ของอุทยานฯ
ซึ่งมีแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีการองรับตามกฎหมายชัดเจน โดยเฉพาะการใช้
สค.1 ที่บินมาจากไหนก็ไม่รู้
ซ้ำยังบวมเพิ่มขยายพื้นที่ออกไปอีกเป็นร้อยเป็นพันไร่
ซึ่งพื้นที่สำคัญที่สุดขณะนี้คืออุทยานฯ สิรินาถ โดยกรมอุทยานฯ
ได้ดำเนินการกับโรงแรมหรูรายใหญ่ไปแล้วจำนวน 14 ราย เนื้อที่กว่า 600 ไร่
ส่งดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องไปแล้ว 11 ราย ส่วนอีก 3
รายอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสารสิทธิเพิ่มเติม
“กรมอุทยานฯ ได้ตรวจพบการบุกรุกพื้นที่อุทยานฯ สิรินาถ เพิ่มอีกจำนวน 372 แปลง มีเนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ ที่เป็นที่น่าตกใจว่าถูกนำไปออกโฉนดได้อย่างไร กรมอุทยานฯ รอไม่ได้แล้วต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด เพราะเหมือนเรามีบ้านที่มีรั้วรอบขอบชิดเรียบร้อย แต่วันหนึ่งมีคนเข้ามาบุกรุกในพื้นที่ของเรา แล้วเราจะยอมได้หรือไม่ เรื่องนี้ถือเป็นศักดิ์ศรีของเรา ถ้ายอมให้บุกรุกในพื้นที่นี้ได้ พื้นที่อื่นก็ต้องถูกบุกรุกต่อไปไม่จบสิ้น ดังนั้นจึงต้องสกัดกั้นการบุกรุกพื้นที่ตรงนี้ให้ได้ซึ่งเรื่องระเบียบ กฎหมายเป็นเรื่องสำคัญเพราะการบุกรุกอุทยานฯ สิรินาถสู้กันด้วยเอกสารสิทธิ์ ซึ่งเขาก็ต้องต่อสู้มาอย่างหนักเหมือนกันกว่าจะได้เอกสารสิทธิ์มา ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่ธรรมดา แต่ขอให้ผู้ที่ร่วมกันทำงานในครั้งนี้ภาคภูมิใจ เพราะเป็นการทำงานเพื่อประเทศชาติ ” นายเริงชัย กล่าว
นายเริงชัย กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีพื้นที่ทั้งหมด 372 แปลง แต่มีชุดปฏิบัติทั้งหมด 366 ชุด จึงให้แต่ละสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ (สบอ.) ทั้ง 16 แห่งทั่วประเทศ แบ่งโซนและจับสลากเลือกแปลงรับผิดชอบกันเอง ส่วนที่เหลืออีก 6 แปลงนั้นให้เป็นความรับผิดชอบของส่วนกลาง หลังการอบรมข้อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติเสร็จสิ้น ตนจะปล่อยเจ้าหน้าที่ชุดแรกจำนวน 800 นาย ลงพื้นที่อุทยานฯ สิรินาถในวันที่ 29 ต.ค.นี้ โดยให้เวลาดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ เป็นระยะเวลา 10 วัน จากนั้นจะปล่อยเจ้าหน้าที่ชุดต่อไปเข้าพื้นที่เรื่อยๆ จนครบทั้ง 366 ชุด เจ้าหน้าที่จำนวน 2,196 นาย คาดว่าใช้เวลาในการดำเนินการ 1 เดือน จะสามารถแจ้งความดำเนินคดีพื้นที่บุกรุกได้ทั้งหมด โดย ผอ.สบอ. หรือป่าไม้เขตแต่ละพื้นที่ต้องกำกับดูแลและให้กำลังใจในการทำงานของเจ้า หน้าที่ชุดปฏิบัติด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นได้มีการจับสลากเลือกแปลงรับผิดชอบ โดยให้ ผอ.สบอ. ทั้ง 16 แห่งรับหมายเลขและแฟ้มข้อมูลของแต่ละแปลงพื้นที่ไปให้หัวหน้าชุดที่อยู่ใน บังคับบัญชาเป็นผู้จับสลาก ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก แต่ละชุดต่างลุ้นว่าชุดของตัวเองจะได้รับผิดชอบพื้นที่บุกรุกแปลงเล็กหรือ ใหญ่ต่างกันอย่างไรบ้าง โดยส่วนมากเคยมีประสบการณ์เข้าดำเนินการในพื้นที่อุทยานฯ ทับลาน อ.วังน้ำเขียว นครราชสีมา และอ.นาดี จ.ปราจีนบุรีมาแล้ว
ขณะที่นายสุนทร วัชรกุลดิลก ที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ ฯ กล่าวว่า ขณะนี้มีโรงแรมหรูจำนวน 14 แปลงแรก ที่กรมอุทยานฯ ได้ดำเนินการนำร่องไปนั้น มีหลายแห่งเริ่มจำนนต่อหลักฐาน โดยยอมรื้อถอนพื้นที่บุกรุกส่วนเกินออก เช่น บริษัทลาคอลลีนจำกัด ยอมรื้อพื้นที่ส่วนเกิน 9 ไร่ออกไป นอกจากนั้นก็มีการรวมตัวกันเพื่อต่อสู้คดีบ้าง เมื่อถามว่าเจ้าของโรงแรมมีการเข้าเจรจากับกรมอุทยานฯ หรือไม่ นายสุนทร กล่าวว่า สำหรับผู้ประกอบการยังไม่มี แต่ที่เข้ามาคุยส่วนมากจะเป็นกลุ่มธนาคารที่ปล่อยกู้ให้กับโครงการใหญ่เหล่า นี้ เพราะแต่ละแห่งอนุมัติวงเงินกู้เป็นเงินจำนวนหลายพันล้านบาท รวมทั้งหมดก็เป็นตัวเลขหลายหมื่นล้านบาท โดยธนาคารจะยึดเอาโฉนด เอกสารสิทธิ์ที่ดิน และแผนการลงทุนระยะยาวซึ่งเป็นการลงทุนร่วมกับต่างชาติ ขณะเดียวกันหากมีการดำเนินการต่อก็จะมีการปล่อยให้ต่างชาติเช่าต่อหลังหมด สัญญาช่วงแรก ซึ่งสร้างความมั่นใจให้กับสถาบันการเงินต่างๆ ในการพิจารณาปล่อยเงินกู้ออกไป ส่วนเจ้าของที่ดินที่แท้จริงส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก.
“กรมอุทยานฯ ได้ตรวจพบการบุกรุกพื้นที่อุทยานฯ สิรินาถ เพิ่มอีกจำนวน 372 แปลง มีเนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ ที่เป็นที่น่าตกใจว่าถูกนำไปออกโฉนดได้อย่างไร กรมอุทยานฯ รอไม่ได้แล้วต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด เพราะเหมือนเรามีบ้านที่มีรั้วรอบขอบชิดเรียบร้อย แต่วันหนึ่งมีคนเข้ามาบุกรุกในพื้นที่ของเรา แล้วเราจะยอมได้หรือไม่ เรื่องนี้ถือเป็นศักดิ์ศรีของเรา ถ้ายอมให้บุกรุกในพื้นที่นี้ได้ พื้นที่อื่นก็ต้องถูกบุกรุกต่อไปไม่จบสิ้น ดังนั้นจึงต้องสกัดกั้นการบุกรุกพื้นที่ตรงนี้ให้ได้ซึ่งเรื่องระเบียบ กฎหมายเป็นเรื่องสำคัญเพราะการบุกรุกอุทยานฯ สิรินาถสู้กันด้วยเอกสารสิทธิ์ ซึ่งเขาก็ต้องต่อสู้มาอย่างหนักเหมือนกันกว่าจะได้เอกสารสิทธิ์มา ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่ธรรมดา แต่ขอให้ผู้ที่ร่วมกันทำงานในครั้งนี้ภาคภูมิใจ เพราะเป็นการทำงานเพื่อประเทศชาติ ” นายเริงชัย กล่าว
นายเริงชัย กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีพื้นที่ทั้งหมด 372 แปลง แต่มีชุดปฏิบัติทั้งหมด 366 ชุด จึงให้แต่ละสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ (สบอ.) ทั้ง 16 แห่งทั่วประเทศ แบ่งโซนและจับสลากเลือกแปลงรับผิดชอบกันเอง ส่วนที่เหลืออีก 6 แปลงนั้นให้เป็นความรับผิดชอบของส่วนกลาง หลังการอบรมข้อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติเสร็จสิ้น ตนจะปล่อยเจ้าหน้าที่ชุดแรกจำนวน 800 นาย ลงพื้นที่อุทยานฯ สิรินาถในวันที่ 29 ต.ค.นี้ โดยให้เวลาดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ เป็นระยะเวลา 10 วัน จากนั้นจะปล่อยเจ้าหน้าที่ชุดต่อไปเข้าพื้นที่เรื่อยๆ จนครบทั้ง 366 ชุด เจ้าหน้าที่จำนวน 2,196 นาย คาดว่าใช้เวลาในการดำเนินการ 1 เดือน จะสามารถแจ้งความดำเนินคดีพื้นที่บุกรุกได้ทั้งหมด โดย ผอ.สบอ. หรือป่าไม้เขตแต่ละพื้นที่ต้องกำกับดูแลและให้กำลังใจในการทำงานของเจ้า หน้าที่ชุดปฏิบัติด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นได้มีการจับสลากเลือกแปลงรับผิดชอบ โดยให้ ผอ.สบอ. ทั้ง 16 แห่งรับหมายเลขและแฟ้มข้อมูลของแต่ละแปลงพื้นที่ไปให้หัวหน้าชุดที่อยู่ใน บังคับบัญชาเป็นผู้จับสลาก ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก แต่ละชุดต่างลุ้นว่าชุดของตัวเองจะได้รับผิดชอบพื้นที่บุกรุกแปลงเล็กหรือ ใหญ่ต่างกันอย่างไรบ้าง โดยส่วนมากเคยมีประสบการณ์เข้าดำเนินการในพื้นที่อุทยานฯ ทับลาน อ.วังน้ำเขียว นครราชสีมา และอ.นาดี จ.ปราจีนบุรีมาแล้ว
ขณะที่นายสุนทร วัชรกุลดิลก ที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ ฯ กล่าวว่า ขณะนี้มีโรงแรมหรูจำนวน 14 แปลงแรก ที่กรมอุทยานฯ ได้ดำเนินการนำร่องไปนั้น มีหลายแห่งเริ่มจำนนต่อหลักฐาน โดยยอมรื้อถอนพื้นที่บุกรุกส่วนเกินออก เช่น บริษัทลาคอลลีนจำกัด ยอมรื้อพื้นที่ส่วนเกิน 9 ไร่ออกไป นอกจากนั้นก็มีการรวมตัวกันเพื่อต่อสู้คดีบ้าง เมื่อถามว่าเจ้าของโรงแรมมีการเข้าเจรจากับกรมอุทยานฯ หรือไม่ นายสุนทร กล่าวว่า สำหรับผู้ประกอบการยังไม่มี แต่ที่เข้ามาคุยส่วนมากจะเป็นกลุ่มธนาคารที่ปล่อยกู้ให้กับโครงการใหญ่เหล่า นี้ เพราะแต่ละแห่งอนุมัติวงเงินกู้เป็นเงินจำนวนหลายพันล้านบาท รวมทั้งหมดก็เป็นตัวเลขหลายหมื่นล้านบาท โดยธนาคารจะยึดเอาโฉนด เอกสารสิทธิ์ที่ดิน และแผนการลงทุนระยะยาวซึ่งเป็นการลงทุนร่วมกับต่างชาติ ขณะเดียวกันหากมีการดำเนินการต่อก็จะมีการปล่อยให้ต่างชาติเช่าต่อหลังหมด สัญญาช่วงแรก ซึ่งสร้างความมั่นใจให้กับสถาบันการเงินต่างๆ ในการพิจารณาปล่อยเงินกู้ออกไป ส่วนเจ้าของที่ดินที่แท้จริงส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น