จากเหตุการณ์ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ล้มทับบริษัท ปภัสธร จำกัด
บริเวณปากซอยพระราม 2 ซอย 40 แขวงบางมด เขตจอมทอง
เหตุเกิดเมื่อช่วงเย็นวันที่ 12 ส.ค. ที่ผ่านมา ทำให้นายจรรยา สุวรรณบุตร
อายุ 50 ปี ช่างปูนที่มาซ่อมแซมภายในร้าน
ได้รับบาดเจ็บศีรษะแตกหมดสติอาการสาหัสเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือนำส่ง
รพ.บางประกอก 9 แต่ทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ความคืบหน้า เมื่อวันที่ 13 ส.ค. นายนิวัฒน์ ไชยมิ่ง ผอ.เขตจอมทอง เปิดเผยว่า ทางเขตพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักการโยธา และวิศวกรของบริษัทฯ ผู้ขออนุญาตก่อสร้างป้ายได้เข้าพื้นที่เพื่อเตรียมดำเนินการรื้อถอนป้ายที่ ล้มพังลงมาจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ซึ่งเจ้าหน้าที่ของทางบริษัทฯแจ้งว่าจะต้องดำเนินการในส่วนของการตัดกระแสไฟ ที่ใช้ในป้ายก่อนจากนั้นจะวางแผนการรื้อในส่วนต่าง ๆ ต่อไป โดยขณะนี้เขตฯ ได้ปิดกั้นพื้นที่โดยรอบบริเวณที่ป้ายล้มเป็นพื้นที่ประมาณ 300 ตารางเมตร จากการตรวจสอบข้อมูล พบว่าป้ายดังกล่าวมีนายมานะพันธ์ วิสุทธิพงษ์ เป็นผู้ยื่นขออนุญาต ตามใบอนุญาตเลขที่ 01 81/2547 ลงวันที่ 20 ก.พ.2547
ผอ.เขตจอมทอง กล่าวต่อว่า สำหรับป้ายดังกล่าวได้ขออนุญาตก่อสร้างถูกต้อง แต่จะต้องมีการตรวจสอบรับรองโดยวิศวกร โดยยื่นขอใบ ร.1 กับสำนักการโยธา กทม. ทุกปี ซึ่งทราบว่าในปี 2555 นี้อยู่ระหว่างการยื่นขออยู่ ต้องให้ทางสำนักการโยธาตรวจสอบว่าได้ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารหรือไม่ หากมีส่วนไหนไม่ถูกต้องก็จะแจ้งให้เขตออกคำสั่งให้ทางเจ้าของอาคารดำเนินการ ต่อไป โดยขณะนี้ทางเขตได้แจ้งความดำเนินคดีทางอาญาในส่วนที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต ไว้ที่ สน.บางมด เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีป้ายอีก 1 ป้ายที่อยู่คู่กับป้ายดังกล่าว และขออนุญาตโดยเจ้าของรายเดียวกัน ซึ่งเท่าที่ดูด้วยสายตาพบว่าเสาของป้ายมีลักษณะเอียง ซึ่งอาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ประชาชนได้ จึงใช้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องที่ ออกคำสั่งให้เจ้าของป้ายทำการรื้อถอนป้ายที่เหลืออยู่ออกไปพร้อมกันด้วย
ด้านนายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตจอมทอง ในฐานะประธานสภา กทม.กล่าวว่า ป้ายที่เกิดเหตุนี้ก่อนหน้านี้มีการก่อสร้างขนาดใหญ่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ป้ายต้องมีความสูงจากพื้นดินไม่เกิน 30 เมตรและกว้าง (ความยาวป้าย) ไม่เกิน 32 เมตร ซึ่งป้ายนี้เขตตรวจพบว่าทำผิด ทางเจ้าของป้ายก็เลี่ยงกฎหมายโดยตัดแบ่งป้ายให้มีขนาดที่เล็กลงเป็น 2 ป้ายเพื่อให้มีขนาดตามกฎหมาย แต่วันดีคืนดีก็ขึงไวนิลเป็นโฆษณาใหญ่ผืนเดียวกัน ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นการเลี่ยงกฎหมาย เขตต่าง ๆ จะต้องไปตรวจสอบและเข้มงวดจริงจัง ทั้งป้ายที่ติดตั้งโดยไม่ได้ขออนุญาต และป้ายที่ขออนุญาตถูกต้องที่จะต้องมีการตรวจสอบความแข็งแรงของป้ายอย่าง สม่ำเสมอให้เป็นไปตามกฎหมาย
“ปัจจุบันมีข้อบัญญัติที่สภา กทม.ที่ออกกฎเพื่อควบคุมการติดตั้งป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ บังคับใช้ตั้งแต่ปี 2549 ห้ามก่อสร้างอาคารประเภทป้ายที่มีพื้นที่รวมกันเกิน 5 ตารางเมตร หรือสูงเกิน 12 เมตรภายในระยะ 50 เมตรจากเขตทางพิเศษ ทางรถไฟ ถนนสายสำคัญหลายสาย พื้นที่ภายในรัศมี 200 เมตรโดยรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช และอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ กับพื้นที่ภายในระยะ 50 เมตรจากริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ยกเว้นป้ายบางอย่างตามที่กำหนดไว้ในประกาศ แต่ต้องไม่ใช่ป้ายที่ติดตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าอาคาร ซึ่งเขตจะต้องเข้มงวดให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด” ประธานสภา กทม.กล่าว.
ความคืบหน้า เมื่อวันที่ 13 ส.ค. นายนิวัฒน์ ไชยมิ่ง ผอ.เขตจอมทอง เปิดเผยว่า ทางเขตพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักการโยธา และวิศวกรของบริษัทฯ ผู้ขออนุญาตก่อสร้างป้ายได้เข้าพื้นที่เพื่อเตรียมดำเนินการรื้อถอนป้ายที่ ล้มพังลงมาจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ซึ่งเจ้าหน้าที่ของทางบริษัทฯแจ้งว่าจะต้องดำเนินการในส่วนของการตัดกระแสไฟ ที่ใช้ในป้ายก่อนจากนั้นจะวางแผนการรื้อในส่วนต่าง ๆ ต่อไป โดยขณะนี้เขตฯ ได้ปิดกั้นพื้นที่โดยรอบบริเวณที่ป้ายล้มเป็นพื้นที่ประมาณ 300 ตารางเมตร จากการตรวจสอบข้อมูล พบว่าป้ายดังกล่าวมีนายมานะพันธ์ วิสุทธิพงษ์ เป็นผู้ยื่นขออนุญาต ตามใบอนุญาตเลขที่ 01 81/2547 ลงวันที่ 20 ก.พ.2547
ผอ.เขตจอมทอง กล่าวต่อว่า สำหรับป้ายดังกล่าวได้ขออนุญาตก่อสร้างถูกต้อง แต่จะต้องมีการตรวจสอบรับรองโดยวิศวกร โดยยื่นขอใบ ร.1 กับสำนักการโยธา กทม. ทุกปี ซึ่งทราบว่าในปี 2555 นี้อยู่ระหว่างการยื่นขออยู่ ต้องให้ทางสำนักการโยธาตรวจสอบว่าได้ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารหรือไม่ หากมีส่วนไหนไม่ถูกต้องก็จะแจ้งให้เขตออกคำสั่งให้ทางเจ้าของอาคารดำเนินการ ต่อไป โดยขณะนี้ทางเขตได้แจ้งความดำเนินคดีทางอาญาในส่วนที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต ไว้ที่ สน.บางมด เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีป้ายอีก 1 ป้ายที่อยู่คู่กับป้ายดังกล่าว และขออนุญาตโดยเจ้าของรายเดียวกัน ซึ่งเท่าที่ดูด้วยสายตาพบว่าเสาของป้ายมีลักษณะเอียง ซึ่งอาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ประชาชนได้ จึงใช้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องที่ ออกคำสั่งให้เจ้าของป้ายทำการรื้อถอนป้ายที่เหลืออยู่ออกไปพร้อมกันด้วย
ด้านนายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตจอมทอง ในฐานะประธานสภา กทม.กล่าวว่า ป้ายที่เกิดเหตุนี้ก่อนหน้านี้มีการก่อสร้างขนาดใหญ่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ป้ายต้องมีความสูงจากพื้นดินไม่เกิน 30 เมตรและกว้าง (ความยาวป้าย) ไม่เกิน 32 เมตร ซึ่งป้ายนี้เขตตรวจพบว่าทำผิด ทางเจ้าของป้ายก็เลี่ยงกฎหมายโดยตัดแบ่งป้ายให้มีขนาดที่เล็กลงเป็น 2 ป้ายเพื่อให้มีขนาดตามกฎหมาย แต่วันดีคืนดีก็ขึงไวนิลเป็นโฆษณาใหญ่ผืนเดียวกัน ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นการเลี่ยงกฎหมาย เขตต่าง ๆ จะต้องไปตรวจสอบและเข้มงวดจริงจัง ทั้งป้ายที่ติดตั้งโดยไม่ได้ขออนุญาต และป้ายที่ขออนุญาตถูกต้องที่จะต้องมีการตรวจสอบความแข็งแรงของป้ายอย่าง สม่ำเสมอให้เป็นไปตามกฎหมาย
“ปัจจุบันมีข้อบัญญัติที่สภา กทม.ที่ออกกฎเพื่อควบคุมการติดตั้งป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ บังคับใช้ตั้งแต่ปี 2549 ห้ามก่อสร้างอาคารประเภทป้ายที่มีพื้นที่รวมกันเกิน 5 ตารางเมตร หรือสูงเกิน 12 เมตรภายในระยะ 50 เมตรจากเขตทางพิเศษ ทางรถไฟ ถนนสายสำคัญหลายสาย พื้นที่ภายในรัศมี 200 เมตรโดยรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช และอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ กับพื้นที่ภายในระยะ 50 เมตรจากริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ยกเว้นป้ายบางอย่างตามที่กำหนดไว้ในประกาศ แต่ต้องไม่ใช่ป้ายที่ติดตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าอาคาร ซึ่งเขตจะต้องเข้มงวดให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด” ประธานสภา กทม.กล่าว.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น