วันนี้ (29 มิ.ย.) เวลา 09.30 น. ที่อาคารมหาจุฬาลงกรณ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับศูนย์อเมริกันศึกษา
และสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการสัมมนาหัวข้อ
“ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ :
แนวโน้มทิศทางและเป้าหมายหลังหารหารือเชิงยุทธศาสตร์”
นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผอ.สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การที่การเมืองไทยมีการนำเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเล่นการเมือง จนเกิดการส่งผลเสียหาย ทั้งนี้ทราบว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะไม่เดินทางไปร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชน (ยูเอ็นจีเอ) ที่นครนิวยอร์ก ในเดือน ก.ย.นี้ และยังได้รับทราบจากเจ้าหน้าที่อาวุโสระดับสูงของสหรัฐ ว่า นายโอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จะไม่เดินทางมาเยือนประเทศไทย หลังจากการเข้าร่วมประชุมผู้นำอาเซียน และประเทศคู่เจรจา ในเดือน พ.ย.นี้ ที่ประเทศกัมพูชา เพราะเห็นว่าแค่ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ยังเริ่มขึ้นไม่ได้จากกรณีที่ โครงการขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ต้องชะงัก อีกทั้งการที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พบกับนายโอบามา ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือน พ.ย.2554 ได้หารือถึงความร่วมมือกันหลายด้าน แต่มาจนถึงตอนนี้ยังไม่มีอะไรคืบหน้า และถ้านายโอบามาไม่มีกำหนดการมาเยือนไทย อาจจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกฝ่ายมองเห็นถึงการนำการเมืองมาเล่นหรือเกี่ยวข้องในทุกเรื่อง และให้คิดถึงเวลาที่ต้องยุติความขัดแย้งแล้วมาคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ
ด้าน นายชัยยงค์ สัจจิพานนท์ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า คงไม่สามารถสรุปว่านายโอบามา จะไม่มาเยือนไทย เพราะตอนนี้อยู่ระหว่างการประสานเรื่องช่วงเวลาการเยือนของนายโอบามาให้ลง ตัว ในการประชุมอาเซียน ซัมมิท ที่กัมพูชา จึงน่าจะแวะมาไทยได้ อีกทั้งต้องขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะนายโอบามาอยู่ระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี ทำให้ตารางของนายโอบามาค่อนข้างแน่นมาก ทั้งนี้ยืนยันว่านายกรัฐมนตรีจะไปร่วมประชุมยูเอ็นจีเอที่สหรัฐฯอยู่แล้ว และการประชุมดังกล่าวมีผู้นำจากหลายประเทศเข้าร่วม คงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้นำจากทุกประเทศจะได้พบกับประธานาธิบดีของสหรัฐฯ
นายชัยยงค์ กล่าวอีกว่า ตนยืนยันว่าโครงการศูนย์ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (เอชเอดีอาร์) กับโครงการของนาซ่าเป็นเรื่องด้านวิชาการ สำหรับการตั้งศูนย์เอชเอดีอาร์เป็นเรื่องที่เสนอโดยรัฐบาลที่แล้ว เพื่อต้องการ ใช้เป็นศูนย์ฝึกอบรมการรับมือและแก้ปัญหาภัยพิบัติ โดยอยากให้ครอบคลุมทั้งภูมิภาคและให้จีนเข้ามาร่วมด้วย รวมถึงไทยต้องหารือกับประเทศอื่น ๆในอาเซียนด้วยว่าต้องการให้มีศูนย์นี้หรือไม่ ดังนั้นขณะนี้การหารือระหว่างไทยกับสหรัฐฯยังหาข้อสรุปไม่ได้ อีกทั้งต้องสร้างภาพให้ชัดเจนก่อนจึงจะเริ่มดำเนินการ.
นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผอ.สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การที่การเมืองไทยมีการนำเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเล่นการเมือง จนเกิดการส่งผลเสียหาย ทั้งนี้ทราบว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะไม่เดินทางไปร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชน (ยูเอ็นจีเอ) ที่นครนิวยอร์ก ในเดือน ก.ย.นี้ และยังได้รับทราบจากเจ้าหน้าที่อาวุโสระดับสูงของสหรัฐ ว่า นายโอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จะไม่เดินทางมาเยือนประเทศไทย หลังจากการเข้าร่วมประชุมผู้นำอาเซียน และประเทศคู่เจรจา ในเดือน พ.ย.นี้ ที่ประเทศกัมพูชา เพราะเห็นว่าแค่ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ยังเริ่มขึ้นไม่ได้จากกรณีที่ โครงการขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ต้องชะงัก อีกทั้งการที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พบกับนายโอบามา ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือน พ.ย.2554 ได้หารือถึงความร่วมมือกันหลายด้าน แต่มาจนถึงตอนนี้ยังไม่มีอะไรคืบหน้า และถ้านายโอบามาไม่มีกำหนดการมาเยือนไทย อาจจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกฝ่ายมองเห็นถึงการนำการเมืองมาเล่นหรือเกี่ยวข้องในทุกเรื่อง และให้คิดถึงเวลาที่ต้องยุติความขัดแย้งแล้วมาคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ
ด้าน นายชัยยงค์ สัจจิพานนท์ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า คงไม่สามารถสรุปว่านายโอบามา จะไม่มาเยือนไทย เพราะตอนนี้อยู่ระหว่างการประสานเรื่องช่วงเวลาการเยือนของนายโอบามาให้ลง ตัว ในการประชุมอาเซียน ซัมมิท ที่กัมพูชา จึงน่าจะแวะมาไทยได้ อีกทั้งต้องขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะนายโอบามาอยู่ระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี ทำให้ตารางของนายโอบามาค่อนข้างแน่นมาก ทั้งนี้ยืนยันว่านายกรัฐมนตรีจะไปร่วมประชุมยูเอ็นจีเอที่สหรัฐฯอยู่แล้ว และการประชุมดังกล่าวมีผู้นำจากหลายประเทศเข้าร่วม คงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้นำจากทุกประเทศจะได้พบกับประธานาธิบดีของสหรัฐฯ
นายชัยยงค์ กล่าวอีกว่า ตนยืนยันว่าโครงการศูนย์ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (เอชเอดีอาร์) กับโครงการของนาซ่าเป็นเรื่องด้านวิชาการ สำหรับการตั้งศูนย์เอชเอดีอาร์เป็นเรื่องที่เสนอโดยรัฐบาลที่แล้ว เพื่อต้องการ ใช้เป็นศูนย์ฝึกอบรมการรับมือและแก้ปัญหาภัยพิบัติ โดยอยากให้ครอบคลุมทั้งภูมิภาคและให้จีนเข้ามาร่วมด้วย รวมถึงไทยต้องหารือกับประเทศอื่น ๆในอาเซียนด้วยว่าต้องการให้มีศูนย์นี้หรือไม่ ดังนั้นขณะนี้การหารือระหว่างไทยกับสหรัฐฯยังหาข้อสรุปไม่ได้ อีกทั้งต้องสร้างภาพให้ชัดเจนก่อนจึงจะเริ่มดำเนินการ.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น