วันนี้ ( 15 ม.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นางสดศรี
สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวภายหลังการประชุมกกต.ว่า
ที่ประชุมได้รับทราบ 5 ประเด็นที่คณะทำงานศึกษาข้อกฎหมาย
และวิธีการออกเสียงประชามติของรัฐบาล ขอความเห็นจากกกต.ตามที่นายภุชงค์
นุตราวงศ์ เลขาธิการกกต. เสนอ และเห็นว่า
เพื่อให้เกิดความรอบคอบจึงมีมติให้นำทั้ง 5
ประเด็นส่งให้คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของกกต.พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30
วัน
อย่างไรก็ตามเบื้องต้นกกต.เห็นว่าทั้ง 5 ประเด็นที่รัฐบาลขอหารือนั้นน่าจะเป็นเรื่องของรัฐบาล ไม่ใช่กกต. โดยในส่วนของกกต.ที่เห็นว่าน่าหนักใจหากจะมีการทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญใน ขณะนี้ก็คือกรณีมาตรา 6 ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่า ด้วยการออกเสียงประชามติ ที่กำหนดให้วันออกเสียงต้องเป็นวันเดียวกันทุกเขตออกเสียง ขณะเดียวกันก็กำหนดให้คนไทยที่ออกนอกราชอาณาจักรสามารถออกเสียงได้ ซึ่งการจะกำหนดให้วันออกเสียงเป็นวันเดียวกันจึงเป็นไปได้ยาก
นอกจากนี้การกำหนดให้กกต.ต้องดำเนินการในเรื่องการจัดทำประชามติให้แล้ว เสร็จไม่เกิน 120 วันนับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง ตามข้อเท็จจริงหากระหว่างกกต.ดำเนินการจัดทำประชามติอยู่แล้วมีการยื่นร้อง ต่อศาลปกครองว่าการทำประชามติไม่ชอบของให้สั่งเพิกถอนการดำเนินการ และขอว่าระหว่างศาลพิจารณาให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาโดย การสั่งระงับการจัดทำประชามติไว้ก่อน กกต.ต้องปฏิบัติอย่างไร
“ถามว่า กกต.จะต้องหยุดการจัดทำประชามติตามคำสั่งศาลปกครองไว้ก่อน หรือว่าต้องเดินหน้าต่อเพราะว่ากฎหมายกำหนดให้ต้องแล้วเสร็จใน 120 วัน และถ้าหากศาลปกครองใช้เวลาพิจารณาเกินกว่า 120 วัน จะทำอย่างไร หรือในเรื่องที่กำหนดให้ต้องจัดการออกเสียงในวันเดียวกันทุกเขต ในต่างประเทศจะทำอย่างไร ที่ผ่านมาในกรณีการเลือกตั้ง ในต่างประเทศก็ไม่ได้หย่อนบัตรจริงในวันที่คนไทยหย่อนบัตร แต่ดำเนินการได้เพราะมีกฎหมายรองรับให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าได้ แต่สำหรับการออกเสียงประชามติกฎหมายไม่ได้เขียนรองรับไว้ให้ดำเนินการได้ ก่อน" นางสดศรี กล่าว
ดังนั้นไม่ว่ากกต.จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งก็เสี่ยงกับการถูกเล่นงานตาม มาตรา 157 ทั้งสิ้น อย่าลืมว่าในอดีตที่มีปรับเรื่องการหันคูหาเลือกตั้งทำให้คนภายนอกเห็นการลง คะแนน จนทำให้การเลือกตั้งครั้งนั้นถูกร้องให้เป็นโมฆะ และในที่สุดก็มีการฟ้องว่า กกต.ชุดที่แล้วต้องเป็นผู้รับผิดชอบกับค่าเสียหายในจัดการเลือกตั้ง ซึ่งกกต.ชุดนี้ก็ไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย แต่เรื่องนี้มันเหมือนทำให้เราเดินเข้าสู่พงหนาม ทั้งที่พวกเราเหลือเวลาการดำรงตำแหน่งกกต.อีกไม่เท่าไร
นาง สดศรี ยังกล่าวด้วยว่า กกต.จึงเห็นว่าหากรัฐบาลจะทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญจริงก็ควรจะมีการแก้ไข ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการทำประชามติในเรื่องที่เป็นปัญหานี้เสียก่อน โดยใช้ช่วงเวลา 2 เดือนที่รัฐบาลจะให้สถาบันการศึกษาทำการศึกษาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดำเนินการให้แล้วเสร็จ.
อย่างไรก็ตามเบื้องต้นกกต.เห็นว่าทั้ง 5 ประเด็นที่รัฐบาลขอหารือนั้นน่าจะเป็นเรื่องของรัฐบาล ไม่ใช่กกต. โดยในส่วนของกกต.ที่เห็นว่าน่าหนักใจหากจะมีการทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญใน ขณะนี้ก็คือกรณีมาตรา 6 ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่า ด้วยการออกเสียงประชามติ ที่กำหนดให้วันออกเสียงต้องเป็นวันเดียวกันทุกเขตออกเสียง ขณะเดียวกันก็กำหนดให้คนไทยที่ออกนอกราชอาณาจักรสามารถออกเสียงได้ ซึ่งการจะกำหนดให้วันออกเสียงเป็นวันเดียวกันจึงเป็นไปได้ยาก
นอกจากนี้การกำหนดให้กกต.ต้องดำเนินการในเรื่องการจัดทำประชามติให้แล้ว เสร็จไม่เกิน 120 วันนับแต่วันประกาศให้มีการออกเสียง ตามข้อเท็จจริงหากระหว่างกกต.ดำเนินการจัดทำประชามติอยู่แล้วมีการยื่นร้อง ต่อศาลปกครองว่าการทำประชามติไม่ชอบของให้สั่งเพิกถอนการดำเนินการ และขอว่าระหว่างศาลพิจารณาให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาโดย การสั่งระงับการจัดทำประชามติไว้ก่อน กกต.ต้องปฏิบัติอย่างไร
“ถามว่า กกต.จะต้องหยุดการจัดทำประชามติตามคำสั่งศาลปกครองไว้ก่อน หรือว่าต้องเดินหน้าต่อเพราะว่ากฎหมายกำหนดให้ต้องแล้วเสร็จใน 120 วัน และถ้าหากศาลปกครองใช้เวลาพิจารณาเกินกว่า 120 วัน จะทำอย่างไร หรือในเรื่องที่กำหนดให้ต้องจัดการออกเสียงในวันเดียวกันทุกเขต ในต่างประเทศจะทำอย่างไร ที่ผ่านมาในกรณีการเลือกตั้ง ในต่างประเทศก็ไม่ได้หย่อนบัตรจริงในวันที่คนไทยหย่อนบัตร แต่ดำเนินการได้เพราะมีกฎหมายรองรับให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าได้ แต่สำหรับการออกเสียงประชามติกฎหมายไม่ได้เขียนรองรับไว้ให้ดำเนินการได้ ก่อน" นางสดศรี กล่าว
ดังนั้นไม่ว่ากกต.จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งก็เสี่ยงกับการถูกเล่นงานตาม มาตรา 157 ทั้งสิ้น อย่าลืมว่าในอดีตที่มีปรับเรื่องการหันคูหาเลือกตั้งทำให้คนภายนอกเห็นการลง คะแนน จนทำให้การเลือกตั้งครั้งนั้นถูกร้องให้เป็นโมฆะ และในที่สุดก็มีการฟ้องว่า กกต.ชุดที่แล้วต้องเป็นผู้รับผิดชอบกับค่าเสียหายในจัดการเลือกตั้ง ซึ่งกกต.ชุดนี้ก็ไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย แต่เรื่องนี้มันเหมือนทำให้เราเดินเข้าสู่พงหนาม ทั้งที่พวกเราเหลือเวลาการดำรงตำแหน่งกกต.อีกไม่เท่าไร
นาง สดศรี ยังกล่าวด้วยว่า กกต.จึงเห็นว่าหากรัฐบาลจะทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญจริงก็ควรจะมีการแก้ไข ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการทำประชามติในเรื่องที่เป็นปัญหานี้เสียก่อน โดยใช้ช่วงเวลา 2 เดือนที่รัฐบาลจะให้สถาบันการศึกษาทำการศึกษาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดำเนินการให้แล้วเสร็จ.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น