วันนี้ ( 15 ม.ค.) ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
แถลงถึงความคืบหน้าการดำเนินการกับชาวโรฮิงญาที่ถูกจับเพราะลักลอบเข้าเมือง
ว่า ล่าสุดมีชาวโรฮิงญาเข้ามาจำนวน 857 คน แบ่งเป็นชาย 667 คน หญิง 30
และเด็กต่ำอายุกว่า 18 ปี จำนวน 160 คน
ซึ่งทั้งหมดอยู่ในความดูแลของหน่วยงานไทย
โดยกลุ่มเด็กและสตรีถูกแยกมาอยู่ที่ศูนย์พักพิงจังหวัดสงขลา
ส่วนผู้ชายอยู่ที่ศูนย์ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ที่อ.สะเดา และปาดังเบซาร์ รวมถึงในสถานีตำรวจภูธร ที่อ.สะเดา และอ.ปาดังเบซาร์ โดยขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามกฎหมาย โดยมีขบวนการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายมาร่วมด้วย อีกทั้งยังตรวจสอบดูว่ามีขบวนการค้ามนุษย์เกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ชาวโรฮิงญาถือว่ามีความผิดในข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย
นายสีหศักดิ์ กล่าวอีกว่า ฝ่ายไทยจะดำเนินการภายใต้กฎหมาย และยึดตามหลักมนุษยธรรม เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีหน่วยงานระหว่างประเทศเข้ามาร่วมมือ โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) และองค์กรนานาชาติเพื่อการย้ายถิ่นฐาน(ไอโอเอ็ม) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาติ(ยูนิเซฟ) ได้แสดงความห่วงใยอยากช่วยเหลือคนกลุ่มนี้และหารือกันอย่างใกล้ชิดว่าจะ ดำเนินการอย่างไร เพื่อให้เกิดความโปร่งใส เพราะท้ายที่สุดแล้ว เมื่อกระบวนการทางกฎหมายของไทยเสร็จสิ้น ก็คงต้องพิจารณาส่งกลับไปแหล่งที่เดินทางมา
ทั้งนี้ เราอาจต้องขอความร่วมมือไปยังรัฐบาลเมียนมาร์ ถ้าพิสูจน์สัญชาติได้ว่าเป็นชาวเมียนมาร์ รัฐบาลเมียนมาร์ก็จะรับตัวกลับ โดยระหว่างนี้ เราคงต้องดูแลชาวโรฮิงญาตามหลักมนุษยธรรม ซึ่งเรื่องงบประมาณเป็นสิ่งสำคัญ โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)จะเสนอของบประมาณไปยังคณะรัฐมนตรีเป็นกรณี พิเศษ ซึ่งการดำเนินการจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของไทยในสายตาประชาคมโลก
เมื่อถามว่ามีแนวทางพิจารณาส่งตัวชาวโรฮิงญาไปยังประเทศที่สามหรือไม่ นายสีหศักดิ์ กล่าวว่า ต้องหารือกับยูเอ็นเอชซีอาร์ แต่ทางที่ดีที่สุดคือการส่งกลับไปยังประเทศที่เดินทางมา โดยจะยึดหลักความปลอดภัยและกฎกติการะหว่างประเทศ โดยที่ผ่านมา เราได้มีการติดต่อไปยังรัฐบาลเมียนมาร์ ซึ่งเขาก็ยินดี ถ้าติดตามสถานการณ์ล่าสุด จะเห็นว่าเมียนมาร์มีกระบวนการภายในประเทศ ในการพิสูจน์สัญชาติ หากพิสูจน์ได้ว่ามีสัญชาติพม่า ก็จะรับจดทะเบียบและให้สัญชาติต่อ ส่วนชาวโรฮิงญาที่พิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่สัญชาติพม่านั้น หลังการดำเนินการตามกฎหมายของไทยแล้ว ทางการไทยจะส่งชาวโรฮิงญาออกจากประเทศไทยต่อไป
ส่วนผู้ชายอยู่ที่ศูนย์ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ที่อ.สะเดา และปาดังเบซาร์ รวมถึงในสถานีตำรวจภูธร ที่อ.สะเดา และอ.ปาดังเบซาร์ โดยขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามกฎหมาย โดยมีขบวนการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายมาร่วมด้วย อีกทั้งยังตรวจสอบดูว่ามีขบวนการค้ามนุษย์เกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ชาวโรฮิงญาถือว่ามีความผิดในข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย
นายสีหศักดิ์ กล่าวอีกว่า ฝ่ายไทยจะดำเนินการภายใต้กฎหมาย และยึดตามหลักมนุษยธรรม เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีหน่วยงานระหว่างประเทศเข้ามาร่วมมือ โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) และองค์กรนานาชาติเพื่อการย้ายถิ่นฐาน(ไอโอเอ็ม) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาติ(ยูนิเซฟ) ได้แสดงความห่วงใยอยากช่วยเหลือคนกลุ่มนี้และหารือกันอย่างใกล้ชิดว่าจะ ดำเนินการอย่างไร เพื่อให้เกิดความโปร่งใส เพราะท้ายที่สุดแล้ว เมื่อกระบวนการทางกฎหมายของไทยเสร็จสิ้น ก็คงต้องพิจารณาส่งกลับไปแหล่งที่เดินทางมา
ทั้งนี้ เราอาจต้องขอความร่วมมือไปยังรัฐบาลเมียนมาร์ ถ้าพิสูจน์สัญชาติได้ว่าเป็นชาวเมียนมาร์ รัฐบาลเมียนมาร์ก็จะรับตัวกลับ โดยระหว่างนี้ เราคงต้องดูแลชาวโรฮิงญาตามหลักมนุษยธรรม ซึ่งเรื่องงบประมาณเป็นสิ่งสำคัญ โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)จะเสนอของบประมาณไปยังคณะรัฐมนตรีเป็นกรณี พิเศษ ซึ่งการดำเนินการจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของไทยในสายตาประชาคมโลก
เมื่อถามว่ามีแนวทางพิจารณาส่งตัวชาวโรฮิงญาไปยังประเทศที่สามหรือไม่ นายสีหศักดิ์ กล่าวว่า ต้องหารือกับยูเอ็นเอชซีอาร์ แต่ทางที่ดีที่สุดคือการส่งกลับไปยังประเทศที่เดินทางมา โดยจะยึดหลักความปลอดภัยและกฎกติการะหว่างประเทศ โดยที่ผ่านมา เราได้มีการติดต่อไปยังรัฐบาลเมียนมาร์ ซึ่งเขาก็ยินดี ถ้าติดตามสถานการณ์ล่าสุด จะเห็นว่าเมียนมาร์มีกระบวนการภายในประเทศ ในการพิสูจน์สัญชาติ หากพิสูจน์ได้ว่ามีสัญชาติพม่า ก็จะรับจดทะเบียบและให้สัญชาติต่อ ส่วนชาวโรฮิงญาที่พิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่สัญชาติพม่านั้น หลังการดำเนินการตามกฎหมายของไทยแล้ว ทางการไทยจะส่งชาวโรฮิงญาออกจากประเทศไทยต่อไป
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น