เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นางสดศรี
สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวถึงกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
อดีต ส.ว.สรรหา ยื่นเรื่องขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
ตรวจสอบตนเองที่ให้สัมภาษณ์ว่า การบริจาคเงินสด 2 หมื่นบาทของนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ ให้กับพรรคประชาธิปัตย์
แม้ไม่ได้สั่งจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมก็ไม่ผิดกฎหมายนั้น
เข้าข่ายกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 ว่า คงเป็นเรื่องการเมือง
และไม่รู้สึกกังวลอะไร อีกทั้งนายเรืองไกร อาจปรารถนาดี
อยากให้นักการเมืองปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามระเบียบ
“อย่างไรก็ตาม ในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องของการบริจาคเงิน แต่เป็นกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ประสานไปยังสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรให้ หักเงินเดือนส.ส.ของพรรคทุกคนจำนวนมากน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความอาวุโส โดยที่ส.ส.ผู้นั้นยินยอมส่งให้กับพรรคเพื่อเป็นเงินอุดหนุนพรรค ซึ่งทางสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรก็ดำเนินการให้โดยหักเงินส.ส.ตามบัญชี รายชื่อและจำนวนเงินที่พรรคแจ้งมา ก่อนรวมยอดเงินออกเป็นเช็คขีดคร่อมเดือนละประมาณ 1.5 ล้านบาทให้กับพรรคประชาธิปัตย์ โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินการในลักษณะนี้มาตั้งแต่ปี 2553 จนปัจจุบัน และก่อนหน้านี้คณะผู้ตรวจสอบบัญชีที่กกต.ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบงบการเงินของ พรรคฯเคยมีข้อสงสัยในลักษณะนี้และพรรคประชาธิปัตย์ได้มีหนังสือชี้แจงมา ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่สมาชิกพรรคให้เพื่ออุดหนุนพรรค” นางสดศรี กล่าว
นาง สดศรี ยังกล่าวอีกว่า ตามกฎหมายพรรคการเมืองกำหดดว่า หากพรรคการเมืองใดมีสมาชิกพรรคให้เงินอุดหนุนหรือเงินบำรุงพรรค จะได้รับเงินสมทบจากกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองอีกร้อยละ10 ของยอดเงินที่สมาชิกพรรคอุดหนุน ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ ถือเป็นพรรคการเมืองเดียวที่มีสมาชิกให้เงินอุดหนุนกับพรรค และพรรคได้ทำหนังสือแจ้งบัญชีรายชื่อผู้ที่ให้เงินอุดหนุน และผู้บริจาคให้กับพรรคมาให้กกต. รับทราบทุกครั้ง ประเด็นคงอยู่ที่ว่าตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา57 ระบุว่า การบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่ 2 หมื่นบาทขึ้นไป จะต้องสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงิน หรือเช็คขีดคร่อม จึงต้องมาตีความว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์ดำเนินการในลักษณะให้สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หักเงินให้กับพรรค จำเป็นหรือไม่สภาฯต้องออกเช็คตามรายชื่อส.ส.ที่หักเงินหรือสามารถออกเช็คใน ยอดเงินที่รวมหักได้ ซึ่งตรงนี้เป็นอำนาจของนายทะเบียนพรรคการเมืองที่จะพิจารณา แต่ทราบว่าทางดีเอสไอได้ขอข้อมูลมายังกกต.และกกต.โดยคณะกรรมการข้อมูลข่าว สาร มีมติว่าสามารถให้ข้อมูลกับดีเอสไอได้.
“อย่างไรก็ตาม ในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องของการบริจาคเงิน แต่เป็นกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ประสานไปยังสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรให้ หักเงินเดือนส.ส.ของพรรคทุกคนจำนวนมากน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความอาวุโส โดยที่ส.ส.ผู้นั้นยินยอมส่งให้กับพรรคเพื่อเป็นเงินอุดหนุนพรรค ซึ่งทางสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรก็ดำเนินการให้โดยหักเงินส.ส.ตามบัญชี รายชื่อและจำนวนเงินที่พรรคแจ้งมา ก่อนรวมยอดเงินออกเป็นเช็คขีดคร่อมเดือนละประมาณ 1.5 ล้านบาทให้กับพรรคประชาธิปัตย์ โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินการในลักษณะนี้มาตั้งแต่ปี 2553 จนปัจจุบัน และก่อนหน้านี้คณะผู้ตรวจสอบบัญชีที่กกต.ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบงบการเงินของ พรรคฯเคยมีข้อสงสัยในลักษณะนี้และพรรคประชาธิปัตย์ได้มีหนังสือชี้แจงมา ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่สมาชิกพรรคให้เพื่ออุดหนุนพรรค” นางสดศรี กล่าว
นาง สดศรี ยังกล่าวอีกว่า ตามกฎหมายพรรคการเมืองกำหดดว่า หากพรรคการเมืองใดมีสมาชิกพรรคให้เงินอุดหนุนหรือเงินบำรุงพรรค จะได้รับเงินสมทบจากกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองอีกร้อยละ10 ของยอดเงินที่สมาชิกพรรคอุดหนุน ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ ถือเป็นพรรคการเมืองเดียวที่มีสมาชิกให้เงินอุดหนุนกับพรรค และพรรคได้ทำหนังสือแจ้งบัญชีรายชื่อผู้ที่ให้เงินอุดหนุน และผู้บริจาคให้กับพรรคมาให้กกต. รับทราบทุกครั้ง ประเด็นคงอยู่ที่ว่าตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา57 ระบุว่า การบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่ 2 หมื่นบาทขึ้นไป จะต้องสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงิน หรือเช็คขีดคร่อม จึงต้องมาตีความว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์ดำเนินการในลักษณะให้สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หักเงินให้กับพรรค จำเป็นหรือไม่สภาฯต้องออกเช็คตามรายชื่อส.ส.ที่หักเงินหรือสามารถออกเช็คใน ยอดเงินที่รวมหักได้ ซึ่งตรงนี้เป็นอำนาจของนายทะเบียนพรรคการเมืองที่จะพิจารณา แต่ทราบว่าทางดีเอสไอได้ขอข้อมูลมายังกกต.และกกต.โดยคณะกรรมการข้อมูลข่าว สาร มีมติว่าสามารถให้ข้อมูลกับดีเอสไอได้.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น