วันนี้ ( 6 ก.ค.) เมื่อเวลา 10.10 น.
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งบัลลังค์เพื่อรับฟังการเบิกความและซัก
ค้านพยานฝ่ายผู้ถูกร้อง กรณีศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
มาตรา 291 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่
โดยได้เริ่มต้นไต่สวน จากนายโภคิน พลกุล
อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะพยานปากแรกฝ่ายผู้ถูกร้อง ซึ่งสาระสำคัญ
นายโภคิน ยืนยันว่าคำร้องนี้
ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง
รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นหน้าที่ของอัยการสูงสุดดำเนินการกลั่นกรองก่อนชั้น
หนึ่งก่อน เพราะมาตรา 68 วรรคที่ระบุคำว่า "ผู้ทราบ"
ไม่ได้เป็นการยืนยันว่าจะรับรู้ถึงการกระทำของผู้ที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง
จริง
ดังนั้นรัฐธรรมนูญถึงได้มอบหมายให้อัยการสูงสุดเป็นผู้วินิจฉัยก่อนเพื่อ ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ศาลรัฐธรรมนูญเองก็เคยมีคำสั่งเมื่อปี 2549 เป็นแนวทางบรรทัดฐานเอาไว้ตามกรณีที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ในฐานะอดีต ส.ส.พรรคพลังประชาชนยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ จากกรณีขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 อีกทั้งในบทบัญญัติก็ไม่มีประเด็นใดระบุให้สามารถยื่นได้ 2 ทาง
“ส่วนข้อกล่าวหาว่า ขณะที่เนื้อหา มาตรา 68 ระบุถึงความผิดว่าต้องการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญไปล้มล้างการปกครอง และได้มาซึ่งอำนาจโดยมิชอบ แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขณะนี้การพิจารณาของรัฐสภาเพิ่งผ่านวาระ 2 รัฐธรรมนูญยังไม่ได้ถูกแก้แม้แต่คำเดียว ดังนั้นข้อเท็จจริงเมื่อมาสู่ศาลคือยังไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ก็คิดกันเองว่าอาจจะไปแก้แล้วเป็นความผิด ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้จินตภาพมาลงโทษปัจจุบัน หรือสมมุติว่ารัฐสภาผ่านวาระ 3 ผลคือให้มีแค่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งจะไปยกร่างอย่างไรยังไม่มีใครรู้ ก็มีแต่การคาดเดา” นายโภคิน กล่าว
นายโภคิน กล่าวว่า สำหรับประเด็นที่ระบุว่า ในมาตรา 291 ห้ามแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้น รัฐธรรมนูญตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันไม่เคยมีบทบัญญัติว่าด้วยการห้ามแก้ไขรัฐ ธรรมนูญทั้งฉบับ จนกระทั่งรัฐธรรมนูญ 2540 ได้บัญญัติห้ามแก้ไขใน 2 ประเด็นคือ รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2550 ก็เขียนล้อมาจากรัฐธรรมนูญ 2540 จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองและรูปแบบของรัฐ ไม่เข้าใจว่าข้อหาดังกล่าวไปเอาความคิดจากที่ไหนที่ห้ามแก้ไขทั้งฉบับเพราะ ถ้าห้ามแก้ไขทั้งฉบับจะบัญญัติห้าม 2 ประเด็นไว้ทำไม เขียนห้ามแก้ไขทั้งฉบับไปเลยไม่ดีกว่าหรือ ไม่เพียงเท่านี้การแก้ไขมาตรา 291
ทุกขั้นตอนเป็นเหมือนเมื่อครั้งพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ2534 เพื่อตั้ง ส.ส.ร.มายกร่างรัฐธรรมนูญ 2540 โดยยึดโยงประชาชนชัดเจนผ่านการเลือกตั้ง ส.ส.ร. เมื่อยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ก็นำกลับไปให้ประชาชนลงการประชามติ ถ้าบอกว่าต้องทำประชามติก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน คิดว่าไม่ถูกต้องเพราะเหมือนเป็นการทำให้รัฐธรรมนูญหนึ่ง มีความสูงส่งกว่ารัฐธรรมนูญอีกฉบับหนึ่ง แต่รัฐธรรมนูญทุกฉบับมีสถานะความเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศเหมือนกัน ถ้าคิดแบบนี้รัฐธรรมนูญที่มาจากคณะรัฐประหารเป็นรัฐธรรมนูญต่ำที่สุดใช่หรือ ไม่
จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญอนุญาตให้ผู้ร้องซักถามพยานได้ โดยช่วงหนึ่งนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ร้องที่สาม ซักว่าภายหลังมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วจะทำให้รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐสภาชุดปัจจุบันมีสถานะคงอยู่ต่อไปใช่หรือไม่ ซึ่งนายโภคิน ตอบว่า ประเด็นนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ส.ส.ร.จะให้มีเนื้อหาอย่างไร ในอดีตก็เคยมีการระบุในบทเฉพาะกาลว่าให้รัฐบาลและรัฐสภาดำรงอยู่ต่อไปจนกว่า จะครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือ กำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ทันที จึงไม่บรรทัดฐานตายตัว
ต่อมาการซักถามและการตอบชี้แจงระหว่างทั้งสองคนเริ่มดุเดือดมากขึ้น เมื่อนายวิรัตน์ ถามว่า "ในฐานะที่อาจารย์โภคินเคยเป็นอดีตประธานรัฐสภาสมัยรัฐบาลไทยรักไทยจึงมี ความรักใคร่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาตลอดใช่หรือไม่" และ"สมัยดำรงตำแหน่งประธานสภาฯได้ลงมติสนับสนุนให้พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯใช่หรือไม่" นายโภคิน ชี้แจงว่า "รัฐธรรมนูญ2540 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากเสียงข้างมากในสภา ทำให้การใช้สิทธิงดออกเสียงย่อมหมายถึงการไม่เห็นด้วย ผมไม่อยากดัดจริตเพราะตอนหาเสียงก็สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีผม ไม่อยากหลอกตัวเอง"
เป็นผลให้ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้กำชับทั้งสองฝ่ายว่า "ไม่อยากให้ถามในประเด็นลักษณะนี้อีกเพราะข้อเท็จจริงเหล่านี้รู้ๆกันอยู่ ว่าใครพรรคพวกใคร และการชี้แจงของพยานรายนี้ก็เป็นการให้ความเห็นเชิงวิชาการไม่มีความจำเป็น ต้องสอบถามข้อเท็จจริงแบบนั้น นอกจากนี้ ขอฝากไปยังทั้งสองฝ่ายว่าเวลาจะพูดไม่ต้องพูดว่าตุลาการศาลที่เคารพเพราะออก ไปข้างนอกพวกท่านก็ด่าพวกผมอยู่ และที่นี่ก็ไม่ใช่สภา"
ต่อมานายวรินทร์ เทียมจรัส ผู้ร้องที่สี่ ได้ซักถาม โดยประเด็นสำคัญหนึ่งคือการระบุว่าประชาชนมีสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 212 และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ละเมิดสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ประชาชนจึงมีสิทธิที่จะทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ และฝ่ายผู้แก้ไขใช้กฎหมาย ใช้หลักเกณฑ์ใดมาแก้รัฐธรรมนูญขอให้พูดให้ชัด
โดยนายโภคิน ชี้แจงว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 212 เป็นคนละเรื่องกับกรณีดังกล่าว เพราะการร้องตามมาตรา 212 ต้องเป็นกรณีที่สิทธิของคนผู้นั้นถูกละเมิดโดยการออกกฎหมาย แต่การแก้ไขมาตรา 291 ต้องเป็นการร้องตามมาตรา 68 ที่ระบุความผิดว่าต้องเป็นการใช้สิทธิล้มล้างการปกครอง และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจโดยมิชอบ อีกทั้งการแก้ไขมาตรา 291 เป็นอำนาจของ 2 สภาคือสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา นอกจากนี้รัฐธรรมนูญ 2550 ยังรองรับให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 5 หมื่นคนเข้าชื่อขอแก้ไขได้ ส่วนที่ถามว่าใช้อำนาจตามมาตราใด ใช้หลักเกณฑ์ใดมาแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ก็มาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญเปิดให้แก้ไขตัวเอง หลักเกณฑ์ก็เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ ถ้าคิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อย่างนั้นรัฐธรรมนูญ 2540 ก็เป็นการล้มล้างด้วย
ดังนั้นรัฐธรรมนูญถึงได้มอบหมายให้อัยการสูงสุดเป็นผู้วินิจฉัยก่อนเพื่อ ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ศาลรัฐธรรมนูญเองก็เคยมีคำสั่งเมื่อปี 2549 เป็นแนวทางบรรทัดฐานเอาไว้ตามกรณีที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ในฐานะอดีต ส.ส.พรรคพลังประชาชนยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ จากกรณีขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 อีกทั้งในบทบัญญัติก็ไม่มีประเด็นใดระบุให้สามารถยื่นได้ 2 ทาง
“ส่วนข้อกล่าวหาว่า ขณะที่เนื้อหา มาตรา 68 ระบุถึงความผิดว่าต้องการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญไปล้มล้างการปกครอง และได้มาซึ่งอำนาจโดยมิชอบ แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขณะนี้การพิจารณาของรัฐสภาเพิ่งผ่านวาระ 2 รัฐธรรมนูญยังไม่ได้ถูกแก้แม้แต่คำเดียว ดังนั้นข้อเท็จจริงเมื่อมาสู่ศาลคือยังไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ก็คิดกันเองว่าอาจจะไปแก้แล้วเป็นความผิด ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้จินตภาพมาลงโทษปัจจุบัน หรือสมมุติว่ารัฐสภาผ่านวาระ 3 ผลคือให้มีแค่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งจะไปยกร่างอย่างไรยังไม่มีใครรู้ ก็มีแต่การคาดเดา” นายโภคิน กล่าว
นายโภคิน กล่าวว่า สำหรับประเด็นที่ระบุว่า ในมาตรา 291 ห้ามแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้น รัฐธรรมนูญตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันไม่เคยมีบทบัญญัติว่าด้วยการห้ามแก้ไขรัฐ ธรรมนูญทั้งฉบับ จนกระทั่งรัฐธรรมนูญ 2540 ได้บัญญัติห้ามแก้ไขใน 2 ประเด็นคือ รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2550 ก็เขียนล้อมาจากรัฐธรรมนูญ 2540 จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองและรูปแบบของรัฐ ไม่เข้าใจว่าข้อหาดังกล่าวไปเอาความคิดจากที่ไหนที่ห้ามแก้ไขทั้งฉบับเพราะ ถ้าห้ามแก้ไขทั้งฉบับจะบัญญัติห้าม 2 ประเด็นไว้ทำไม เขียนห้ามแก้ไขทั้งฉบับไปเลยไม่ดีกว่าหรือ ไม่เพียงเท่านี้การแก้ไขมาตรา 291
ทุกขั้นตอนเป็นเหมือนเมื่อครั้งพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ2534 เพื่อตั้ง ส.ส.ร.มายกร่างรัฐธรรมนูญ 2540 โดยยึดโยงประชาชนชัดเจนผ่านการเลือกตั้ง ส.ส.ร. เมื่อยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ก็นำกลับไปให้ประชาชนลงการประชามติ ถ้าบอกว่าต้องทำประชามติก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน คิดว่าไม่ถูกต้องเพราะเหมือนเป็นการทำให้รัฐธรรมนูญหนึ่ง มีความสูงส่งกว่ารัฐธรรมนูญอีกฉบับหนึ่ง แต่รัฐธรรมนูญทุกฉบับมีสถานะความเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศเหมือนกัน ถ้าคิดแบบนี้รัฐธรรมนูญที่มาจากคณะรัฐประหารเป็นรัฐธรรมนูญต่ำที่สุดใช่หรือ ไม่
จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญอนุญาตให้ผู้ร้องซักถามพยานได้ โดยช่วงหนึ่งนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ร้องที่สาม ซักว่าภายหลังมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วจะทำให้รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐสภาชุดปัจจุบันมีสถานะคงอยู่ต่อไปใช่หรือไม่ ซึ่งนายโภคิน ตอบว่า ประเด็นนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ส.ส.ร.จะให้มีเนื้อหาอย่างไร ในอดีตก็เคยมีการระบุในบทเฉพาะกาลว่าให้รัฐบาลและรัฐสภาดำรงอยู่ต่อไปจนกว่า จะครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือ กำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ทันที จึงไม่บรรทัดฐานตายตัว
ต่อมาการซักถามและการตอบชี้แจงระหว่างทั้งสองคนเริ่มดุเดือดมากขึ้น เมื่อนายวิรัตน์ ถามว่า "ในฐานะที่อาจารย์โภคินเคยเป็นอดีตประธานรัฐสภาสมัยรัฐบาลไทยรักไทยจึงมี ความรักใคร่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาตลอดใช่หรือไม่" และ"สมัยดำรงตำแหน่งประธานสภาฯได้ลงมติสนับสนุนให้พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯใช่หรือไม่" นายโภคิน ชี้แจงว่า "รัฐธรรมนูญ2540 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากเสียงข้างมากในสภา ทำให้การใช้สิทธิงดออกเสียงย่อมหมายถึงการไม่เห็นด้วย ผมไม่อยากดัดจริตเพราะตอนหาเสียงก็สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีผม ไม่อยากหลอกตัวเอง"
เป็นผลให้ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้กำชับทั้งสองฝ่ายว่า "ไม่อยากให้ถามในประเด็นลักษณะนี้อีกเพราะข้อเท็จจริงเหล่านี้รู้ๆกันอยู่ ว่าใครพรรคพวกใคร และการชี้แจงของพยานรายนี้ก็เป็นการให้ความเห็นเชิงวิชาการไม่มีความจำเป็น ต้องสอบถามข้อเท็จจริงแบบนั้น นอกจากนี้ ขอฝากไปยังทั้งสองฝ่ายว่าเวลาจะพูดไม่ต้องพูดว่าตุลาการศาลที่เคารพเพราะออก ไปข้างนอกพวกท่านก็ด่าพวกผมอยู่ และที่นี่ก็ไม่ใช่สภา"
ต่อมานายวรินทร์ เทียมจรัส ผู้ร้องที่สี่ ได้ซักถาม โดยประเด็นสำคัญหนึ่งคือการระบุว่าประชาชนมีสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 212 และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ละเมิดสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ประชาชนจึงมีสิทธิที่จะทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ และฝ่ายผู้แก้ไขใช้กฎหมาย ใช้หลักเกณฑ์ใดมาแก้รัฐธรรมนูญขอให้พูดให้ชัด
โดยนายโภคิน ชี้แจงว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 212 เป็นคนละเรื่องกับกรณีดังกล่าว เพราะการร้องตามมาตรา 212 ต้องเป็นกรณีที่สิทธิของคนผู้นั้นถูกละเมิดโดยการออกกฎหมาย แต่การแก้ไขมาตรา 291 ต้องเป็นการร้องตามมาตรา 68 ที่ระบุความผิดว่าต้องเป็นการใช้สิทธิล้มล้างการปกครอง และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจโดยมิชอบ อีกทั้งการแก้ไขมาตรา 291 เป็นอำนาจของ 2 สภาคือสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา นอกจากนี้รัฐธรรมนูญ 2550 ยังรองรับให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 5 หมื่นคนเข้าชื่อขอแก้ไขได้ ส่วนที่ถามว่าใช้อำนาจตามมาตราใด ใช้หลักเกณฑ์ใดมาแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ก็มาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญเปิดให้แก้ไขตัวเอง หลักเกณฑ์ก็เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ ถ้าคิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อย่างนั้นรัฐธรรมนูญ 2540 ก็เป็นการล้มล้างด้วย
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น